ศบค. เตรียมลงโทษผู้ติด Covid-19 แต่ไม่มี ‘หมอชนะ’ จำคุก 2 ปี ปรับ 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ในวันที่ 7 มกราคม 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค. )ได้กล่าวในช่วงแรกถึงการออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 17) จำนวน 4 ข้อ เพื่อบังคับใช้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ดังนี้
.
1.ให้เจ้าหน้าที่กวดขันเพื่อยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค ได้แก่
การรักษาระยะห่าง
-การสวมหน้ากากอนามัย
-การล้างมือ
-การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
-ผู้ที่อยู่ในข่ายต้องกักกันต้องยอมรับการกักตามระยะเวลาและสถานที่ที่กำหนด
-ติดตั้งแอพหมอชนะ ควบคู่กับไทยชนะ
.
2.ยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดยิ่ง
-ตรวจสอบและควบคุมการใช้เส้นทางเข้า-ออกพื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ สมุทรสาคร ระยอง ตราด ชลบุรี จันทบุรี
-ตั้งจุดตรวจหรือจุดสกัดเพื่อคัดกรองการเดินทางเข้า-ออกพื้นที่ และให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ติดตั้งแอพลิเคชั่น ‘หมอชนะ’
-ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางออกจาก ‘พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด’ ต้องแสดงบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ ควบคู่กับเอกสารรับรองความจำเป็นที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ เว้นแต่เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น
.
3.การปราบปรามและลงโทษผู้กระทำผิดอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค กล่าวคือ กลุ่มที่กลุ่มที่ลักลอบขนแรงงานข้ามชาติ และกลุ่มที่อำนวยให้เกิดการเปิดบ่อนการพนัน
-กำชับเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบ เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามขั้นตอนของกฎหมาย
-แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับดูแลการดำเนินการและเสนอมาตรการป้องกัน
-ให้หน่วยงานความมั่นคงดูแลไม่เกิดการลักลอบเล่นพนัน หรือลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย
-สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วร่วมในการสอดส่องการกระทำผิด
-แจ้งเบาะแสมาที่นายกฯ ผ่าน ศบค. ทำเนียบรัฐบาล
.
4.ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนดซึ่งออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือหากผู้ติดเชื้อจงใจปกบิดข้อมูลหรือแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าหน้าที่อันทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนและควบคุมโรคเป็นผลให้เชื้อโรคแพร่ออกไป อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าหนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ด้วย
.
โดย นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า “ต่อไปนี้หากเจ้าหน้าที่พบว่าใครที่ติดโรค Covid-19 และพบว่าไม่มีการติดตั้งแอพพลิเคชั่นหมอชนะ ก็จะถือว่าละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 17”