วิวัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั้งกังวล และตื่นเต้นที่จะได้เห็นไปพร้อมๆ กัน ซึ่งล่าสุด กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวิธีที่จะทำให้สมองกลยุทธ์ควอนตัม สามารถทำงานใกล้เคียงกับสมองของมนุษย์ได้มากยิ่งขึ้น
ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์พยายามหาร่องรอยต่างๆ ที่จะนำมาพัฒนาสมองของคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์เทียบเท่ากับสมองมนุษย์ ซึ่งนั้นหมายถึงการคิด ตัดสินใจ รวมถึงตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ
จากผลงานการวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature Nanotechnology ระบุว่า กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ค้นพบแนวทางที่จะพัฒนาสมองควอนตัมขึ้นไปอีกขั้น อธิบายคร่าวๆ คือทำโดยการประกอบสายใยอะตอมโคบอลต์แต่ละตัว และเมื่อเอามารวมกันแล้ว มันจะสามารถสร้างรูปแบบ และเชื่อมต่อได้ในลักษณะเดียวกับพฤติกรรมของนิวตรอน และจุดประสานประสาท หรือซิแนปส์ (Synapse) ในสมองของมนุษย์
ส่วนใหญ่แล้ว ปัญญาประดิษฐ์ทำงานโดยการรับรู้ข้อมูลรูปแบบต่างๆ ผ่านการจดจำ และเรียนรู้จากการมองเห็น ซึ่งปัจจุบันทำผ่าน Software Machine Learning ที่ส่งต่อข้อมูลไปยังฮาร์ดไดร์ฟของคอมพิวเตอร์
เบิร์ต แคปเพน (Bert Kappen) ศาสตราจารย์ด้านเครือข่ายประสาทเทียมและสมองเครื่องจักรกล จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรัดเบาด์ (Radboud University) อธิบายว่า กระบวนการเหล่านี้มีพื้นฐานมาจากกระบวนการทัศน์แบบเก่า ซึ่งมันไม่ทำให้การพัฒนาไปได้ไกลจากเดิมเท่าไหร่นัก ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงกระบวนการใหม่ เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์ และคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดเทียบเท่ามนุษย์จริงๆ
และหนึ่งในวิธีที่นักวิทยาศาสตร์มองว่าจะทำให้เดินทางไปถึงจุดนั้นได้เร็วยิ่งขึ้น คือการสร้างระบบการทำงานโดยฮาร์ดแวร์ แทนที่ซอฟต์แวร์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถสร้างเครือข่ายของอะตอมโคบอลต์ โดยพวกมันจะสามารถจัดเก็บ และประมวลผลในลักษณะเดียวกับสมองมนุษย์
ในการวิจัยใหม่นี้ ระบุว่า การนำข้อมูลต่างๆ มาเก็บในอะตอมโคบอลต์ และกระตุ้นอะตอมดังกล่าวด้วยแรงดันไฟฟ้า จะทำให้เกิดการทำงานในลักษณะเดียวกับการกระตุ้นนิวตรอนในสมอง นอกจากนี้ ซิแนปส์ของคอมพิวเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าภายนอกที่ได้รับ นั่นหมายถึงมันสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
แน่นอนว่า ผลการวิจัยใหม่นี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลที่ว่า เมื่อความต้องการให้ความสามารถในการประมวลผลคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น มันย่อมตามมาด้วยความต้องการข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน และเมื่อศูนย์ข้อมูลเติบโตมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้มันใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนั่นอาจนำไปสู่ปัญหาความไม่เสถียรภาพ และการควบคุมเหล่าปัญญาประดิษฐ์
อเล็กซานเดอร์ คาจีโทเรียนส์ (Alexander Khajetoorians) ศาสตราจารย์ด้านกล้องจุลทรรศน์ และการตรวจสอบการสแกน จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรัดเบาด์ (Radboud University) ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการดังกล่าว มองว่า แนวทางต่อไปที่ต้องเตรียมการ คือการหาวิธีในการจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีประหยัดพลังงาน เพื่อให้การควบคุมมีความเสถียรภาพ และปลอดภัยยิ่งขึ้น
อ้างอิง
#Brief #TheMATTER