หลังจากที่รอคอยมาสักพักใหญ่ ล่าสุด วัคซีน COVID-19 จำนวน 200,000 โด๊ส ของ Sinovac บริษัทชีวเวชภัณฑ์ของจีน ได้ถูกจัดส่งมาถึงประเทศไทยแล้ว ในช่วงเวลาประมาณ 10.05 น. วันนี้ (24 กุมภาพันธ์) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นำมาซึ่งคำถามที่ตามมาว่า แล้วใครจะได้ฉีดวัคซีนก่อนกันแน่ ?
อย่างไรก็ดี ทางรัฐบาลไทยจะต้องนำวัคซีน COVID-19 ของ Sinovac ชุดแรก ส่งต่อไปยัง คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเข้ารับการตรวจสอบคุณภาพวัคซีน ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจใช้เวลาดำเนินการไม่เกินวันที่ 27 กุมภาพันธ์ จึงจะเริ่มให้มีการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนกลุ่มแรกได้ ในช่วงต้นเดือนมีนาคมที่จะถึง ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจง ถึงข้อมูลการจัดส่งวัคซีนไปตามจังหวัดต่างๆ รวมถึงกลุ่มคนที่จะได้รับการฉีดวัคซีนก่อนเป็นชุดแรก ดังนี้
จากการแถลงของ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 (ศบค.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ สรุปได้ว่า ในจำนวนวัคซีนชุดแรก 2 แสนโด๊ส รัฐบาลจะทำการขนวัคซีนกระจายไปตามพื้นที่ 13 จังหวัดก่อน โดยแบ่งตามพื้นที่ควบคุมสูงสุด 1 จังหวัด พื้นที่ควบคุม 8 จังหวัด และพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอีก 4 จังหวัด โดยมีรายละเอียด การจัดลำดับความสำคัญ และกลุ่มผู้ที่จะได้รับการฉีดก่อนในระยะแรก ได้แก่
พื้นที่ควบคุมสูงสุด
มีเพียงจังหวัดเดียว คือ สมุทรสาคร ซึ่งจะได้รับวัคซีนก่อนในจำนวนทั้งสิ้น 70,000 โด๊ส โดยแบ่งฉีดให้ตามกลุ่มประชาชนต่างๆ ได้แก่
- สมุทรสาคร ได้รับทั้งหมด 70,000 โด๊ส
- 8,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า
- 6,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย
- 46,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว
- 10,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน
พื้นที่ควบคุม
ประกอบไปด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (ฝั่งตะวันตก) ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ตาก (อ.แม่สอด) นครปฐม สมุทรสงคราม และราชบุรี จำนวนทั้งสิ้น 99,000 โด๊ส โดยแบ่งฉีดให้ตามกลุ่มประชาชนต่างๆ ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร (ฝั่งตะวันตก) ได้รับทั้งหมด 66,000 โด๊ส
- 12,400 โด๊ส สำหรับฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า
- 1,600 โด๊ส สำหรับฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย
- 47,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว
- 5,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน
- ปทุมธานี ได้รับทั้งหมด 8,000 โด๊ส
- 3,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า
- 2,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย
- 2,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว
- 1,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน
- นนทบุรี ได้รับทั้งหมด 6,000 โด๊ส
- 2,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า
- 1,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย
- 2,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว
- 1,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน
- สมุทรปราการ ได้รับทั้งหมด 6,000 โด๊ส
- 2,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า
- 1,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย
- 2,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้ประชาชนผู้ที่มีโรคประจำตัว
- 1,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้ประชาชนทั่วไปและแรงงาน
- ตาก (อ.แม่สอด) ได้รับทั้งหมด 5,000 โด๊ส
- 3,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า
- 2,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย
- นครปฐม ได้รับทั้งหมด 3,500 โด๊ส
- 2,500 โด๊ส สำหรับฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า
- 1,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย
- สมุทรสงคราม ได้รับทั้งหมด 2,000 โด๊ส
- 1,500 โด๊ส สำหรับฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า
- 500 โด๊ส สำหรับฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย
- ราชบุรี ได้รับทั้งหมด 2,500 โด๊ส
- 2,000 โด๊ส สำหรับฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า
- 500 โด๊ส สำหรับฉีดให้เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย
พื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม
ประกอบไปด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) และเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 14,700 โด๊ส โดยแบ่งฉีดให้ตามกลุ่มประชาชนต่างๆ โดยทางคณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัดแต่ละจังหวัด จะพิจารณาจัดสรรจำนวนวัคซีนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมาย ตามสถานการณ์และบริบทของแต่ละพื้นที่เอง ได้แก่
- ชลบุรี ได้รับทั้งหมด 4,700 โด๊ส
- ภูเก็ต ได้รับทั้งหมด 4,000 โด๊ส
- สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) ได้รับทั้งหมด 2,500 โด๊ส
- เชียงใหม่ ได้รับทั้งหมด 3,500 โด๊ส
ทั้งนี้ จะมีวัคซีนจำนวนทั้งสิ้น 183,700 โด๊ส จากจำนวน 200,000 โด๊ส ที่จะถูกแจกจ่ายไปตามพื้นที่ทั้ง 13 จังหวัด ตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้น โดยวัคซีนอีกจำนวน 16,300 โด๊สที่เหลือ จะถูกเก็บสำรองเอาไว้ เพื่อกรณีการควบคุมการระบาด และฉีดให้บุคลากรในโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วย COVID-19 ต่อไป
ส่วนการฉีดนั้น วัคซีนของทาง Sinovac จะถูกใช้ 2 โด๊ส ต่อประชาชน 1 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีน โดยกลุ่มเป้าหมายที่ถูกฉีด จะได้รับวัคซีนเข็มแรกกับเข็มที่สอง ห่างกันเป็นเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
อย่างไรก็ดี วัคซีนเข็มแรกที่จะถูกฉีด จะเป็นวัคซีนในชุดแรกจากจำนวนทั้งสิ้น 200,000 โด๊สเท่านั้น ทั้งนี้ การฉีดเข็มที่สอง จะเกิดขึ้นหลังจากที่วัคซีนของทาง Sinovac จำนวน 800,000 โด๊ส เข้ามาถึงไทยในเดือนหน้า หรือราว 2-3 สัปดาห์ ตามระยะห่างของการฉีดวัคซีนเข็มแรกกับเข็มที่สอง อย่างไรก็ดี กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถรับวัคซีนต่างยี่ห่อกันในเข็มแรกกับเข็มที่สองได้ เพราะถ้ากลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนจาก Sinovac ในเข็มแรก ก็ต้องได้รับวัคซีนเข็มที่สองของ Sinovac ด้วยเช่นเดิม
โดยทางกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยข้อมูลการฉีดวัคซีนเอาไว้ 8 ขั้นตอน หากทางรัฐบาลประกาศให้มีการฉีดวัคซีนอย่างเป็นทางการ ได้แก่
- ให้กลุ่มเป้าหมาย ลงทะเบียนทำบัตรประวัติ
- ชั่งน้ำหนัก และวัดความดันโลหิต
- คัดกรอง ซักประวัติ-ประเมินความเสี่ยง ลงนามยินยอมรับวัคซีน COVID-19
- รอฉีดวัคซีน COVID-19
- ฉีดวัคซีน COVID-19
- เมื่อฉีดเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้พักสังเกตอาการ 30 นาที และสแกน line official account ‘หมอพร้อม’ ก่อนกลับบ้าน
- จะมีจุดตรวจสอบอีกจุดหนึ่งที่เจ้าหน้าที่จะให้เอกสารการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน
- จะมีการประเมินผลความครอบคลุมการฉีดวัคซีน และอาการไม่พึงประสงค์ ก่อนจะมีการนัดหมายฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ผ่านแอพพลิเคชั่น ‘หมอพร้อม’
อ้างอิงจาก
https://www.prachachat.net/general/news-619184
#Brief #TheMATTER