“โควิดติดจากคนรวย ซวยคนจน” เป็นคำพูดที่หลายๆ คนกล่าวกันในช่วงเวลาที่ COVID-19 ระบาดในระลอกที่สาม ซึ่งประเด็นปัญหานี้ได้ถูกตีแผ่ออกไปในระดับโลกเมื่อสำนักข่าว The New York Times ได้เผยแพร่สกู๊ปเกี่ยวกับปัญหานี้ออกมา
สกู๊ปข่าวชิ้นนี้ของ The New York Times ชื่อว่า “After Lavish Nights of Clubbing in Bangkok, a Covid Outbreak” (การระบาดของ COVID-19 หลังจากค่ำคืนที่หรูหราฟุ่มเฟือยในกรุงเทพ) โดยเนื้อหาสำคัญคือ ได้อธิบายถึงการระบาดระลอกใหม่ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นและจุดศูนย์กลางอยู่ที่ไนท์คลับในกรุงเทพฯ
ประเด็นที่น่าสนใจคือ สกู๊ปชิ้นนี้ได้ฉายภาพให้เห็นถึงปัญหาสิทธิพิเศษที่คนบางกลุ่มมีในช่วง COVID-19 ระลอกใหม่ รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่คนบางกลุ่มได้เข้าถึงการรักษาต่างๆ ได้รวดเร็วกว่าผู้คนที่ยากจน
วัฒนธรรมที่ถูกหยิบมาพูดถึงผ่าน The New York Times คือวัฒนธรรม ‘ผู้ใหญ่’ และระบบเส้นสายในสังคมไทย ที่ช่วยเหลือให้คนบางกลุ่มได้เข้าถึงสิทธิพิเศษบางอย่าง ตลอดจนการได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการกระทำผิดด้วยเช่นกัน
สกู๊ปดังกล่าวอธิบายว่า วัฒนธรรมเส้นสายที่ ได้ทำให้เห็นว่า เมื่อมีกรณีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคนที่มีโปรไฟล์ใหญ่โตหรือเป็นนักการเมือง กระบวนการตรวจสอบความจริงในไทยมักจะคว้าน้ำเหลว คนที่มีคอนเนคชั่นดีๆ มักจะหลบหนีคดีไปได้ ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสทั้งสามระลอกได้ทำให้เห็นว่า คนร่ำรวยที่ได้ผลประโยชน์จากธุรกิจที่น่าตั้งคำถาม และท้าทายมาตรการป้องกันไวรัส
ในขณะที่คนที่มีสิทธิพิเศษและมีระบบเส้นสายคอยช่วยเหลือ คนที่ยากจนซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดนั้น กลับต้องเดือดร้อนและเผชิญกับช่วงเวลาที่ลำบากเป็นอย่างมาก เมื่อไวรัสแพร่เข้าไปถึงชุมชนแออัด ที่การรักษาระยะห่างเป็นไปได้ยาก
จากบทความดังกล่าว ทำให้เราเห็นถึงภาพปัญหาความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงและอันตรายต่อชีวิตมากยิ่งขึ้นเมื่อ COVID-19 มาถึง ภาพที่แสนจะแตกต่างระหว่างคนที่มีอำนาจ เงิน และเส้นสายรองรับ กับกลุ่มคนที่ต้องหาเช้ากินค่ำและมีฐานะยากจน กลับกลายเป็นคนละเรื่อง
“The rich people party and the poor people suffer the consequences” (คนรวยจัดงานสังสรรค์ ส่วนคนจนกลายเป็นผู้รับผลจากการกระทำเหล่านั้น) คือคำให้สัมภาษณ์ของ สิทธิชาติ อังคะสิทธิศิริ ที่ตีแผ่ปัญหาได้เป็นอย่างดี
ที่มา : https://www.nytimes.com/…/thailand-covid-clubs.html…