การศึกษาชิ้นนี้เกิดขึ้นในฮ่องกง ซึ่งมีการฉีดวัคซีนทั้ง Sinovac และ Pfizer ผู้ศึกษาจึงเก็บตัวอย่างผู้ฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์-4 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 มาเปรียบเทียบกับเพื่อศึกษาอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน
จากการตรวจสอบผู้ที่ฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรกกว่า 452,000 ราย พบว่า มีผู้ฉีดวัคซีน Sinovac จำนวน 28 รายมีอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ขณะที่ท่ามกลางผู้ที่ฉีดวัคซีน Pfizer จำนวน 537,000 ราย พบว่ามีอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกทั้งหมด 16 ราย
นักวิจัยระบุว่าผู้ที่ได้รับ Sinovac มีโอกาสเกิดอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกมากกว่าประชากรทั่วไป 2.4 เท่า และเพิ่มขึ้น 4.8 รายต่อ 100,000 คนที่ฉีดวัคซีน ขณะที่ผู้ฉีดวัคซีน Pfizer มีโอกาสจะเกิดอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกมากกว่าคนทั่วไป 1.8 เท่า และเพิ่มขึ้น 2 รายต่อผู้ฉีดวัคซีน 100,000 คน
ทั้งนี้ยังไม่มีการระบุแน่ชัดว่ากลไกการเกิดอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกคืออะไร ซึ่งผู้ศึกษาเรียกร้องทั้งมีการตรวจสอบการใช้วัคซีนเพิ่มเติม
ขณะที่ Liu Peicheng ตัวแทนของ Sinovac กล่าวว่า อาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกนั้นเป็นอาการข้างเคียงจากวัคซีนที่เกิดขึ้นยาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง และจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
Liu Peicheng ยังยืนยันว่า ประโยชน์และประสิทธิภาพการป้องกันของ COVID-19 นั้นมีค่ามากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมระบุว่าประชาชนควรได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการกระจายของไวรัส COVID-19
อ้างอิงจาก
https://www.forbes.com/…/small-risk-of-facial…/…
https://www.channelnewsasia.com/…/covid-19-sinovac…