เมื่อมีเสียงเรียกร้องให้ภาครัฐเพิ่มสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้ดีขึ้น หนึ่งในเหตุผลที่ถูกหยิบมาโต้แย้งก็มักจะเป็นเรื่องของงบประมาณ พร้อมกับคำท้าทายกลับว่า “ถ้าอยากได้สวัสดิการดีๆ พร้อมจ่ายภาษีเพิ่มไหมล่ะ?”
ปัจจุบัน หากคุณเป็นคนไทยจะต้องจ่าย ‘ภาษี’ ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT จ่ายทุกครั้งที่ซื้อสินค้าและบริการ
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จ่ายในอัตราขั้นบันไดหากมีรายได้ถึงเกณฑ์
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล หากคุณประกอบธุรกิจ
- ภาษีสรรพสามิต
- ภาษีศุลกากร
- ภาษีสุราและเบียร์
- ภาษียาสูบ
- ภาษีรถยนต์
- ภาษีมรดก
- ฯลฯ อีกหลายสิบรายการ
ในเอกสารประกอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ได้ประมาณการไว้ว่า จากรายได้ของภาครัฐทั้งหมด 3.185 ล้านล้านบาท กว่า 87% จะมาจากการจัดเก็บภาษีอากร https://bbstore.bb.go.th/cms/1652845954_1911.pdf
มาว่ากันด้วยสวัสดิการ ปัจจุบันภาครัฐเข้าไปช่วยสวัสดิการขั้นพื้นฐานของประชาชนใน 4 กลุ่มใหญ่ 1.ด้านการศึกษา 2.ด้านการแพทย์ 3.ด้านประชาสงเคราะห์ และ 4.ด้านสังคม
The Active เคยทำ data visualization อธิบายความหมายของคำว่า ‘รัฐสวัสดิการ’ ไว้อย่างน่าสนใจและเข้าใจง่าย ชวนเข้าไปดูกัน: https://theactive.net/dataviz/welfare/
ตัวแบบประเทศที่ทำสวัสดิการให้กับประชาชนค่อนข้างดี ก็คือกลุ่มประเทศนอร์ดิก แต่หลายประเทศนั้นก็จัดเก็บภาษีต่างๆ ในอัตราที่สูงกว่าไทย ทั้ง VAT ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ฯลฯ
คำถามก็ชวนถกเถียงต่อไป
“แล้วคุณจะยอมจ่ายภาษีเพิ่ม เพื่อให้มีสวัสดิการที่ดีขึ้น หรือไม่?”
และหากคุณอยากคุยเรื่องนี้ยาวๆ นอกจากเขียนคอมเม้นต์ตอบใต้โพสต์นี้ เรามีงานที่จะชวนคนเห็นต่างกันในประเด็นต่างๆ มาพูดคุยกันแบบ ‘ตัวเป็นเป็น’ ชื่องาน Thailand Talks 2022 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 24 ก.ย.2565 ทั้งแบบ on ground และ online โดยประเด็นที่จะหยิบมาพูดคุยจะมีทั้งเรื่องอนาคตของประเทศนี้ การศึกษา การแสดงออก ข้อมูลส่วนบุคคล ฯลฯ และแน่นอน เรื่องสวัสดิการ
ใครสนใจ ลองตอบคำถามและสมัครได้ที่กล่องข้อความด้านล่างได้เลย
#Brief #เห็นต่างมาคุยกัน #ThailandTalks #TheMATTER