‘ซ่อน(ไม่)หา(ย)’ นิทรรศการที่จะพาทุกคนไปสำรวจเรื่องราวของผู้ต้องหาคดีทางเมือง ผู้ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ (Presumption of Innocence) หรือการที่ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดอาญาจะต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิดจริง ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
นั่นคือสิ่งที่เขียนไว้ตามหลักการ แต่ในทางปฏิบัติผู้ต้องหาคดีทางการเมืองส่วนใหญ่มักจบลงที่การจับกุม และไม่ให้โอกาสในประกันตัว จนทำให้ในตอนนี้มีผู้ต้องคดีทางการเมืองจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการพิพากษาของศาล ท้ายที่สุดเมื่อมีการยกฟ้อง พวกเขาต้องสูญเสียโอกาสที่สำคัญในชีวิตไปหลายด้าน ทั้งครอบครัว ความสัมพันธ์ และความฝันในชีวิต
นิทรรศการนี้ทุกคนจะได้ย้อนดูเรื่องราวของผู้ต้องคดีทางการเมืองว่ามีอะไรที่ถูกซ่อนหรือหล่นหายไปหลังจากที่มีการฟ้องคดีเกิดขึ้น เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากการไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว และตั้งคำถามเกี่ยวกับหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ที่พวกเขาไม่เคยได้รับ
หนึ่งในกิจกรรมที่น่าสนใจในงานนี้ คือ ‘ซ่อน•หา : รัฐไทยซ่อนอะไรไว้บ้างมองย้อนสิ่งที่หล่นหายไประหว่างทาง’ วงเสวนาแลกเปลี่ยนโดยนักการเมือง นักวิชาการ และนักเคลื่อนไหว เพื่อมองย้อนถึงสิ่งที่หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์หลากหลายประเด็นทั้ง การเลือกเล่าและไม่เล่าในประวัติศาสตร์, ความฝัน ความหวัง ความสัมพันธ์ที่หล่นหายไป จนถึงหนทางสู่สังคมที่ทุกคนเห็นต่างสามารถอยู่ร่วมกันได้ไม่ต้องมี ‘นักโทษทางความคิด’
ระยะเวลานิทรรศการ 28 กันยายน – 27 ตุลาคม 2567 ที่ KINJAI CONTEMPORARY เวลาเปิดทำกา12.00 – 20.00 น. ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ (ปิดทำการวันจันทร์)
แล้วไปร่วมตามหาสิทธิ์ที่หล่นหายให้พวกเขากัน