เข้าสู่ช่วงปลายปี หลายๆ คนก็เตรียมตัวไปเที่ยวญี่ปุ่นกันแล้ว และข่าวนี้ก็กำลังบอกกับพวกเราว่า อาจจะต้องเผื่อใจสำหรับค่าครองชีพในญี่ปุ่นกันด้วยนะ
บริษัทวิจัยเอกชนแห่งหนึ่ง เปิดเผยว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2024 มีสินค้าสินค้า 282 รายการ จาก 195 บริษัทอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ในญี่ปุ่น ที่มีแนวโน้มจะปรับราคาขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 102.9% จากปีก่อน หลังจากในเดือนตุลาคม มีเกือบ 3,000 รายการปรับขึ้นราคาไปแล้ว
สินค้าส่วนใหญ่ที่ขึ้นราคา คือผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างอาหารแปรรูปและขนมขบเคี้ยว เช่น Lotte จะขึ้นราคาขนม 71 รายการ เพราะต้นทุนวัตถุดิบอย่างโกโก้ที่แพงขึ้น ซึ่งสิ่งที่จะขึ้นราคา รวมไปถึงบิสกิตช็อกโกแลตดังอย่าง Koala no March ด้วย นี่จึงถือเป็นการขึ้นราคาครั้งที่ 2 ของพวกเขาในปีนี้แล้ว และนอกจากนั้น Meiji และ Kabaya Foods จะขึ้นราคาผลิตภัณฑ์ช็อคโกแลตบางรายการเช่นกัน
ย้อนกลับไปในช่วงก่อนหน้านี้เพียง 1 เดือน ในเดือนตุลา ก็มีการขึ้นราคาสินค้าในญี่ปุ่นมาแล้ว โดยในครั้งนั้น มีผลิตภัณฑ์ขึ้นราคามากถึง 2,911 รายการ ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดในปี 2567 ถึง 0.5% ตามผลสำรวจของบริษัทวิจัย Teikoku Databank
ผลสำรวจพบว่า ปัจจัยหลักเบื้องหลังการปรับราคาคือการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ โดยมีส่วนทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 92.7% และยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น ค่าขนส่ง (68.6%) วัสดุบรรจุภัณฑ์ (66.8%) ค่าพลังงาน (61.1%) และค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร (26.7%) ที่มีส่วนทำให้ราคาปรับขึ้นเช่นกัน
เมื่อเดือนตุลาคม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีสัดส่วนการขึ้นราคาสูงสุดที่ 1,362 รายการ รองลงมาคืออาหารแปรรูป เช่น แฮมและไส้กรอก 673 รายการ เครื่องปรุงรส รายการ 301 รายการ ส่วนผสมในการปรุงอาหาร เช่น แป้ง 238 รายการ ขนมขบเคี้ยว 237 รายการ และผลิตภัณฑ์นม 100 รายการ
ในหมวดหมู่ขนมขบเคี้ยว สินค้า 237 รายการได้ปรับราคาขึ้น โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งมีวัตถุดิบเป็นช็อกโกแลต จากการที่โกโก้มีราคาสูง เนื่องจากภัยความร้อนที่รุนแรงและภัยแล้ง
Teikoku Databank คาดการณ์ว่าราคาสินค้าโดยเฉลี่ยในปีนี้จะปรับขึ้น 17% โดยส่งผลต่อสินค้าทั้งหมด 12,401 รายการ ซึ่งยังถือว่าลดลงมาแล้ว จากจำนวนสินค้าทั้งหมดที่ปรับราคาขึ้น 32,396 รายการในปี 2023 เช่น ราคาของการส่งจดหมายแบบปิดผนึก จะเพิ่มขึ้นจาก 84 เยน (ประมาณ 18 บาท) เป็น 110 เยน (ประมาณ 24 บาท) ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นราคาจดหมายแบบปิดผนึกครั้งแรกในรอบ 30 ปีจึงน่าจะติดตามถึงสถานการณ์ราคาอาหารในญี่ปุ่นต่อไป ว่าเมื่อวัตถุดิบแพงขึ้นจนบริษัทต่างๆ ต้องขึ้นราคาสินค้า ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบมากแค่ไหน และจะเกี่ยวพันกับปัญหาทางการเงินอื่นๆ ที่ญี่ปุ่นเผชิญอยู่หรือไม่
อ้างอิงจาก