หากเป็นคุณ จะตัดสินใจตัดอวัยวะบางส่วนในร่างกายเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และเพื่อให้สามารถอยู่กับใครสักคนได้นานมากยิ่งขึ้นไหม?
ลิซ่า แบนครอฟต์ (Lisa Bancroft) เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวอายุ 27 ปี ที่ตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดเต้านมทั้งสองข้างออกไป หลังเธอตรวจพบว่าตนเองมียีน BRCA ยีนหายากซึ่งค้นพบในปี 1994 ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึง 60-90% และยังเพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งรังไข่ได้
หากพอจะจำกันได้ แองเจลิน่า โจลี (Angelina Jolie) ดาราฮอลลีวูดชื่อดัง ก็เคยผ่าตัดเต้านมทั้งสองข้างออก เมื่อเธอรู้ว่าเธอมียีนดังกล่าวเหมือนกัน
แบนครอฟต์เข้ารับการตรวจยีนในปี 2019 หลังจากพ่อและป้าของเธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ซึ่งในขณะนั้นเธอมีลูกสาววัย 2 ขวบคนหนึ่ง ชื่อว่า เอ็มม่า
เธอเล่าว่า การได้รับทราบข่าวนี้ทำให้รู้สึกเหมือนกับโดนโทษประหารชีวิ “โลกทั้งใบของฉันพังทลายลงมา” เธอกล่าว “มันยากจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฉันเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว
จากนั้นเธอจึงเริ่มหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และพบข่าวของโจลี่ที่ตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดหลังแม่ของตนเองเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม และนั่นทำให้แบนครอฟตืก็ตัดสินใจผ่าตัดเช่นกัน ในปี 2020
“ฉันยังให้นมลูกอยู่ แล้วก็ต้องหยุดไป […] นั่นเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่และยากลำบากมาก เพราะจนถึงตอนนั้น การให้นมลูก เป็นสิ่งที่ฉันภูมิใจมากที่สุดอย่างหนึ่ง” แบนครอฟต์เล่า แต่ยืนยันว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะมันจำทำให้เธอสามารถอยู่ดูแลเอ็มม่าได้นานที่สุดเท่าที่จะเป้นไปได้
แบนครอฟต์บอกว่าตอนนี้เธอมีความสุขดีที่ “ไม่ต้องทนทุกข์กับความวิตกกังวลอีกต่อไป” จากความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม แต่เธอก็พบว่ามันยากที่จะรับมืออยู่ดี “มันยากจริงๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มันคือการสูญเสียส่วนหนึ่งของตัวเองและส่วนหนึ่งของร่างกาย แม้ว่ามันอาจทำให้ฉันป่วยได้ในภายหลัง แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งของฉัน” เธอกล่าว โดยขณะนี้เธอยังตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องรังไข่อยู่
ทั้งนี้ คนที่มีพันธุกรรมแปรปรวน มีโอกาส 50% ที่จะถ่ายทอดพันธุกรรมนี้ให้กับลูกหลาน โดยลูกสาวของแบนครอฟต์จะสามารถตรวจพันธุกรรมผ่าน NHS ได้เมื่อเธอมีอายุครบ 18 ปี แต่เธอก็หวังว่าการวิจัยใหม่ๆ จะทำให้เอ็มม่ามีทางเลือกมากขึ้น โดยไม่ต้องจบลงที่การตัดสินใจเปลี่ยนชีวิต อย่างการตัดเต้านมออกเหมือนกับเธอ
สำหรับยีน BRCA ที่ผิดปกติ จะมีประมาณ 1 ใน 400 คนที่พบยีนนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนพบยีน จะเป็นยีนที่จะพัฒนาเป็นมะเร็ง แต่บางคนก็เลือกที่จะผ่าตัดไปก่อนเพื่อลดความเสี่ยง
การค้นพบยีนเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ตลอดจนการพัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆ โดยขณะนี้ ยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งมียีน BRCA ที่ผิดปกติ กำลังถูกทดสอบกับเนื้องอกในสมองที่หายากและเป็นอันตรายถึงชีวิต
Cancer Research UK มอบทุนสนับสนุนการทดลองซ นำโดยมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของยาต้าน PARP (ยาต้านมะเร็งชนิดหนึ่ง) ที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาเนื้องอกในสมองไกลโอมา (Glioblastoma) ซึ่งถือเป็นเป็นเนื้องอกในสมองที่พบบ่อยที่สุดชนิดหนึ่งในผู้ใหญ่ โดยมีผู้ป่วยมากถึง 4,000 รายต่อปีในสหราชอาณาจักร และมีอัตราการรอดชีวิตต่ำ
ศาสตราจารย์แอนโธนี ชาลเมอร์ส (Anthony Chalmers) กล่าวว่า “ผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ทุกคนเสียชีวิตเพราะเนื้องอก และมะเร็งในสมองยังทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับความพิการ ความจำ และบุคลิกภาพอีกด้วย เช่นเดียวกับการค้นพบยีน BRCA เราหวังว่าจะไม่ใช่แค่ผู้ป่วยเนื้องอกในสมองเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากการค้นพบนี้ และเราสามารถนำสิ่งที่เราเรียนรู้จากมะเร็งชนิดนี้ไปใช้กับมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้”
สำหรับการตรวจหายีนที่อาจเสี่ยงให้เกิดมะเร็ง ในแต่ละประเทศอาจมีนโยบายที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงประเทศไทยที่มีโรงพยาบาลและศูนย์ต่างๆ ที่ให้บริการเช่นกัน
โดยทั่วไป แพทย์อาจแนะนำให้ผู้คนเข้ารับการตรวจหากมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง หากญาติมียีนที่ผิดปกติ หรือกรณีในต่างประเทศ อาจร่วมถึงการมีปู่ย่าตายายเป็นชาวยิวด้วย
วิวัฒนาการทางการแพทย์ และนวัตกรรมใหม่ๆ จึงเป็นที่น่าจับตามองต่อไป ว่าจะสามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งได้หรือไม่ รวมถึงอาจมีส่วนช่วยให้การป้องกัน หรือรักษาโรคมะเร็งได้ดีขึ้นในอนาคต
อ้างอิงจาก