“พวกเขามีนาฬิกา แต่เราเป็นเจ้าของเวลา” คือแนวคิดตั้งต้นของ นวิน หนูทองคำ ในนิทรรศการ ‘Fountain Foundation’ ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับ ‘เวลา’ ให้ต่างออกไปจากสิ่งที่เราเคยรู้จัก เขาชวนทุกคนในสำรวจความเป็นไปได้ของเวลาในแง่มุมต่างๆ ที่อาจไม่ได้เป็นเส้นตรงเสมอไป ผ่านงานศิลปะ และจำลองความเป็นไปได้ออกมาผ่านเรื่องแต่ง วัตถุ และสื่อชนิดต่างๆ
ในนิทรรศการนี้นอกจากเราจะได้สำรวจ ‘เวลา’ ในแง่มุมที่ลึกซึ้งขึ้นแล้ว ยังมีโปรแกรมกิจกรรมสาธารณะ ‘กาลปั่นป่วน (There is no perfect mystic past.)’ กิจกรรมที่ชวนทุกคนมาร่วมพูดคุยร่วมกับคนทำงานในศาสตร์สายอาชีพที่ต่างกันออกไป เพื่อขยายบทสนทนาจากนิทรรศการ
ให้ทุกคนมาขบคิดต่อยอด ตั้งแต่เรื่องราวประวัติศาสตร์ ตำนาน กลวิธีการเล่าเรื่อง มุมมองว่าด้วยการเล่น วัฒนธรรมมีเดียในบริบทพื้นที่ของศิลปะร่วมสมัย ไปจนถึงความเป็นไปได้ในปฏิบัติการทางศิลปะ
สำหรับ talk session ครั้งแรก ชวนทุกคนไปเข้าใจศิลปะในสายตาของนักประวัติศาสตร์ ใน
A Dialogue on Art with Historian กิจกรรมพูดคุยร่วมกับ ธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์กิตติคุณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ในวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15.00-16.30 น.
ในทอล์กเซสชั่นนี้พาเราไปสำรวจรากฐานทางปัญญาของสยาม ซึ่งก่อรูปขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นสมัยใหม่ พร้อมกับสนทนาในประเด็นการอ่านประวัติศาสตร์ พลวัตของเรื่องเล่า ความเชื่อ และความรู้ที่สะสมและส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังมีทอล์กเซสชั่นอื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งจัดทุกวันเสาร์เว้นเสาร์ จนถึงเดือนมีนาคม เช่น
Dancing in Curiosity ร่วมกับ ธนพล วิรุฬหกุล การแสดงในสิ่งที่มองไม่เห็นในฐานะการสร้างความสัมพันธ์กับความเป็นอื่น และ Manual of Play ร่วมกับ เม อาดาดล อิงคะวณิช กิจกรรมแลกเปลี่ยนบทสนทนาผ่านการลากวาดเส้น การเขียน และคุยโต้ตอบ ซึ่งจะเปิดให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้เข้ามาสร้างลานแห่งโลกเสมือนที่ซึ่งการเล่นกลายเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
กิจกรรมดำเนินเป็นภาษาไทย ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม
หากใครสนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่: https://forms.gle/bTd2DrBHnSFWLbaKA
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม: BANGKOK CITYCITY GALLERY