แม้หลายคนจะแซวๆ หรือวิจารณ์นโยบาย ‘เรียนฟรี’ ว่าไม่ฟรีจริง ยังมีการเก็บค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ เต็มไปหมด ทว่า นโยบายนี้ก็ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองได้บางส่วน
รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 54 วรรคแรก เขียนเกี่ยวกับการ ‘เรียนฟรี’ ไว้ว่า “รัฐต้องดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”
ข้อความที่ถูกจับตา คือการเรียนฟรีในรัฐธรรมนูญนี้ที่กำหนดไว้ว่า #เป็นเวลาสิบสองปี ต่างกับฉบับปี 2550 และฉบับปี 2540 ที่เขียนไว้า #ไม่น้อยกว่าสิบสองปี จะเห็นได้ว่าใช้ถ้อยคำที่ต่างกัน
มีคำอธิบายจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า ถ้าดูเนื้อหามาตรา 54 วรรคแรก ดีๆ จะพบว่า เขียนให้ครอบคลุมการเรียนฟรี ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจนถึง ม.ต้น โดยตัด ม.ปลายออกไป เพราะความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่เด็กๆ แล้ว จึงควรสนับสนุนทุกๆ คนให้เท่ากันตั้งแต่เริ่มต้น
ส่วนใครที่อยากเรียนต่อ ม.ปลาย ในมาตรา 54 วรรคหก ได้พูดถึงการจัดตั้ง ‘กองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา’
หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าประเด็นเรื่องการศึกษาน่าจะถูกหยิบยกมาพูดคุยกัน เพราะเป็นอีกเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ
อ้างอิงจาก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
https://cdc.parliament.go.th/draftcons…/ewt_dl_link.php…
#แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER