Author: Editor

มันต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่ยืดหยุ่นต่อการแก้ไข เพื่อที่จะสามารถปรับปรุงกฎหมายให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความท้าทายของปัญหาสิ่งแวดล้อม และจะต้องเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้าย ที่จะไม่มีอาชญากรคนไหนยึดอำนาจเข้ามาฉีกมันได้อีกต่อไป

เราชวน Sa-ard สะอาดมาพูดคุยถึงปัญหารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และรัฐธรรมนูญในฝันที่เขาอยากให้เป็น ซึ่งปัญหาที่ สะอาด บอกกับเราในรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ซึ่งส่งผลต่อวงการศิลปะก็คือเรื่อง สิทธิและเสรีภาพ “รัฐธรรมนูญ 60 ระบุไว้ว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องไม่กระทบกระเทียบเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งทุกวันนี้เราจะเห็นว่าความมั่นคงของรัฐไทยนั้นแสนจะเปราะบาง และนิยามคำว่ารัฐหรือ ‘ชาติ’ ของผู้นำประเทศก็คับแคบเหลือเกิน จึงมีการใช้เจ้าหน้าที่มาคุกคามจับกุมประชาชน รวมไปถึงศิลปินที่แสดงออกทางการเมืองอยู่เสมอ และทำให้ผลงานศิลปะแบบที่รัฐจะยอมรับและสนับสนุนนั้นกลายเป็นพื้นที่คับแคบและไม่เปิดกว้างต่อความคิดสร้างสรรค์ สำหรับผมตำแหน่ง ‘ศิลปินแห่งชาติ’ ควรจะมีโอกาสเป็นได้ทั้งถวัลย์ ดัชนี Rap against dictatorship หรือ Lowcostcosplay ครับ” และรัฐธรรมนูญในฝันของเขาที่บอกกับเราก็คือ “มันควรจะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงสิทธิที่จะเข้าถึงสวัสดิการของรัฐที่ครอบคลุมกว่านี้ เพราะเราคิดว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำจะยิ่งทวีความรุนแรงในอนาคต และต้องมีระบบทำให้คนมีอำนาจทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ยึดโยงกับประชาชน” รวมไปถึงการทำให้รัฐธรรมนูญนั้นต้องยืดหยุ่นต่อการแก้ไข และที่สำคัญคือไม่ให้ใครมาฉีกได้โดยง่าย รัฐธรรมนูญที่คุณอยากเห็นเป็นแบบไหน ชวนมาแชร์และส่งเสียงกันได้กับเรานะ   #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

‘ผู้ยากไร้’ กับบริการสุขภาพ หนึ่งในดีเบตเกี่ยวกับ รธน.นี้

‘โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า’ ซึ่งเคยใช้ชื่อว่า 30 บาทรักษาทุกโรค และต่อมาเปลี่ยนเป็น ‘บัตรทอง’ ถูกผู้มีอำนาจในรัฐบาล คสช. โดยเฉพาะตัว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา วิจารณ์อยู่หลายครั้งว่า ใช้งบประมาณค่อนข้างมาก กระทั่งมีผู้เสนอแนวคิดให้ผู้ป่วยร่วมจ่าย หรือ co-payment นำมาสู่เสียงต่อต้านอย่างกว้างขวาง เพราะมองว่าจะไปกีดกันคนจำนวนมากให้ ‘เข้าไม่ถึง’ บริการทางสาธารณสุข ผู้เกี่ยวข้องจึงยังไม่กล้าเปลี่ยนแปลงอะไร เมื่อรัฐธรรมนูญไปเขียนไว้ในมาตรา 47 วรรคสองว่า “บุคคล #ผู้ยากไร้ ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ” หลายๆ ฝ่าย จึงตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดจึงไปกำหนดว่าเฉพาะ ‘ผู้ยากไร้’ ไม่ใช่ ‘คนทั่วไป’ ทุกๆ คน ? เนื้อหากฎหมายเช่นนี้จะกระทบกับบัตรทองหรือไม่ ซึ่งเป็นบริการสาธารณสุขขั้นพื้นที่ ที่มีผู้รับบริการ 48 ล้านคน หรือไม่ (ประกันสังคม 10 ล้านคน สวัสดิการข้าราชการ 5 ล้านคน) หรือไม่ ? คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จึงต้องเรียงหน้าออกมาชี้แจงว่า เนื้อหาของรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว จะไม่ไปกระทบกับโครงการบัตรทอง แถมยังมีเนื้อหาในมาตรา […]

กำหนดให้ ได้ ‘เรียนฟรี’ เป็นเวลา 12 ปี ..คือได้เรียนฟรีถึงระดับชั้นไหน?

แม้หลายคนจะแซวๆ หรือวิจารณ์นโยบาย ‘เรียนฟรี’ ว่าไม่ฟรีจริง ยังมีการเก็บค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ เต็มไปหมด ทว่า นโยบายนี้ก็ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองได้บางส่วน รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 54 วรรคแรก เขียนเกี่ยวกับการ ‘เรียนฟรี’ ไว้ว่า “รัฐต้องดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” ข้อความที่ถูกจับตา คือการเรียนฟรีในรัฐธรรมนูญนี้ที่กำหนดไว้ว่า #เป็นเวลาสิบสองปี ต่างกับฉบับปี 2550 และฉบับปี 2540 ที่เขียนไว้า #ไม่น้อยกว่าสิบสองปี จะเห็นได้ว่าใช้ถ้อยคำที่ต่างกัน มีคำอธิบายจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า ถ้าดูเนื้อหามาตรา 54 วรรคแรก ดีๆ จะพบว่า เขียนให้ครอบคลุมการเรียนฟรี ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจนถึง ม.ต้น โดยตัด ม.ปลายออกไป เพราะความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่เด็กๆ แล้ว จึงควรสนับสนุนทุกๆ คนให้เท่ากันตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนใครที่อยากเรียนต่อ ม.ปลาย ในมาตรา 54 วรรคหก ได้พูดถึงการจัดตั้ง ‘กองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา’ หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าประเด็นเรื่องการศึกษาน่าจะถูกหยิบยกมาพูดคุยกัน เพราะเป็นอีกเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ อ้างอิงจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF https://cdc.parliament.go.th/draftcons…/ewt_dl_link.php… #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

ผมขออย่างเดียวจริงๆ ขอรัฐธรรมนูญที่ใช้ภาษาง่ายๆ อ่านแล้วเข้าใจ เพราะมันคือสิ่งคู่ประเทศและคนไทย แต่นี่มาถึง ‘ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาค…’ มันแปลว่าอะไร?

เพราะคนไทยแปลว่าอิสระ และรัฐธรรมนูญควรต้องเป็นของทุกคน เราจึงชวน ธีรชัย ระวิวัฒน์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มาพูดคุยถึงความคิดต่อ ‘รัฐธรรมนูญของเรา’ ในมุมมองของเขา เมื่อเราถามว่ามองเห็นปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตรงไหนบ้าง? เขาถามเรากลับมาว่า “ตรงไหนบ้างที่ไม่เป็นปัญหา?” ก่อนอธิบายต่อว่า “มีปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ตั้งแต่แม่วงษ์จนถึงราชดำเนิน มีปัญหาหมด อย่างแรกที่กระบวนการร่าง สองที่เนื้อหาที่ร่าง สามขั้นตอนการทำประชามติเพื่อประกาศใช้” “เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นข้อตกลงร่วมกันของคนในสังคม มันจึงควรเป็นของทุกคนถูกไหม แต่นี่อยู่ดีๆ มีลุงคนนึงชื่อ มีชัย ฤชุพันธุ์ มาร่างรัฐธรรมนูญให้เรา ทั้งที่ๆ ลุงคนนี้เคยมีมีประวัติร่างรัฐธรรมนูญปี 2534 มาแล้ว ซึ่งสุดท้ายจบลงด้วยเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ทำไมเรายังคิดจ้างผู้ค้าบริการร่างรัฐธรรมนูญคนนี้อีก นี่คือปัญหาตัวบุคคล” “พอร่างเสร็จแล้ว คนที่มาช่วยอนุมัติก็คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นร่างอวตารของคณะรัฐประหาร (คสช.) คนกลุ่มนี้ก็ต้องโหวตรับแน่นอนอยู่แล้ว หลังจากนั้นก็มีการทำประชามติ ที่ต้องถามว่า มีความแฟร์ในการทำประชามติบ้างไหม? ในเมื่อรณรงค์ให้โหวตรับได้ แต่คนรณรงค์ให้ไม่รับกลับติดคุกกันเป็นว่าเล่น แล้วอะไรคือความชอบธรรม?” “พอลองมาดูเนื้อในก็พิสดารอีก ระบบเลือกตั้งแบบใหม่ คล้ายเยอรมนี แต่ก็ไม่ใช่ […]

หลังรัฐประหาร ปี 2557 ก็มีการตั้งคนมาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการทหาร รัฐธรรมนูญนี้จึงเป็นผลผลิตของต้นไม้พิษ ทำให้เกิดวิกฤตการเมืองในปัจจุบัน

“หลังรัฐประหาร ปี 2557 ก็มีการตั้งคนมาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการทหาร รัฐธรรมนูญนี้จึงเป็นผลผลิตของต้นไม้พิษ ทำให้เกิดวิกฤตการเมืองในปัจจุบัน” คำปราศรัยส่วนหนึ่งของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข ในการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (19 ก.ย.2563) นอกจากนี้ สมยศยังสนับสนุนข้อเสนอ 10 ข้อของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเขามองว่าเป็นข้อเสนอที่ถูกต้อง ชอบธรรม และจงรักภักดี เพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ แทนที่จะปล่อยให้ผู้คนไปติฉินนินทาลับหลัง ซึ่งไม่รู้ว่าอะไรจริงหรือไม่จริง #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

เมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้น เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ด้วยคำสั่ง ด้วยกฎระเบียบที่มันส่งผลต่อชีวิตของเราจริงๆ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย พี่ไม่สามารถไปบอกลูกได้เลยว่า ไม่ต้องสนใจเรื่องนี้ เพราะมันเกี่ยวกับชีวิตเรา

ขณะที่วันนี้ ในสภามีการพิจารณาประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องติดตามกันว่า จะมีการถกเถียง และพูดคุยถึงทิศทางแก้ไขอย่างไร ในระหว่างการชุมนุมใหญ่ #19กันยาทวงอำนาจราษฎร The MATTER ได้พูดคุยกับ สุกัญญา มิเกล ศิลปิน และนักร้องในยุค 90 ถึงความเห็นของเธอ ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่ผ่านการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาหลายฉบับว่า คิดเห็นอย่างไรกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “พี่เป็นคนรุ่นเก่า น่าจะเก่ากว่าน้องๆ หลายคน ซึ่งคนรุ่นใหม่ก็จะมีแนวคิดทันสมัยที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญค่อนข้างเยอะ แต่รุ่นพี่ เราเติบโตในยุค 80 และเป็นวัยรุ่นในยุค 90 ดังนั้น เรื่องของรัฐธรรมนูญกับเราจะไกลกันมาก และเราจะถูกสั่งสม สั่งสอนมาว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว เราก็ทำมาหากินไปเถอะ ทำงานของเราไป โดยที่ไม่ต้องสนใจว่าการเมืองเขาจะว่าอย่างไร แต่ทีนี้สิ่งที่ตามมาก็คือว่า เมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้น เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ด้วยคำสั่ง ด้วยกฎระเบียบที่มันส่งผลต่อชีวิตของเราจริงๆ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย พี่ไม่สามารถไปบอกลูกได้เลยว่า ไม่ต้องสนใจเรื่องนี้ เพราะมันเกี่ยวกับชีวิตเรา กับข้าวปลาอาหารที่เรากินจริงๆ” “สำหรับลูกพี่ ตอนนี้ก็ 10 ขวบแล้ว คนโตก็ 15 ปี กำลังเป็นวัยรุ่น แล้วพี่ไม่มั่นใจเลยว่า ในอนาคตมันจะเกิดอะไรกับชีวิตของพวกเขาบ้าง พี่คงจะต้องบอกกับลูกๆ และน้องๆ […]

กำหนดให้ปฏิรูปประเทศ 7 ด้าน (แต่ไม่มีเรื่องปฏิรูปกองทัพ)

‘ปฏิรูปประเทศ’ เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่ม็อบซึ่งประท้วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ออกมาขัดขวางการเลือกตั้ง จน คสช.ใช้โอกาสที่เกิดสุญญากาศทางการเมือง ยึดอำนาจกลางปี 2557 ..คำถามก็คือ ตลอดห้าปีที่ คสช.ยึดอำนาจมาเป็นรัฐบาลเอง การปฏิรูปประเทศมีความคืบหน้าแค่ไหน? ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มีบทบัญญัติใหม่ว่าด้วย ‘การปฏิรูปประเทศ’ ซึ่งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) พยายามชูว่าเป็นหนึ่งในจุดเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยกำหนดการปฏิรูปประเทศไว้ 7 ด้าน ทั้ง– ด้านการเมือง– ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน– ด้านกฎหมาย– ด้านกระบวนการยุติธรรม– ด้านการศึกษา– ด้านเศรษฐกิจ– ด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ที่รัฐธรรมนูญเร่งรัดให้มีคณะกรรมการอิสระขึ้นมาจัดทำข้อเสนอปฏิรูปและร่างกฎหมายภายใน 2 ปี (ซึ่งครบกำหนดระยะเวลาไปแล้วกลางปี 2562) แต่คำถามที่หลายๆ คนถามก็คือ แล้วการปฏิรูปกองทัพไปอยู่ในส่วนไหนของการปฏิรูปปประเทศ ตามรัฐธรรมนูญนี้? องคาพยพอื่นๆ ในประเทศจำเป็นต้องปฏิรูปหมด เหตุใดยกเว้นเฉพาะกองทัพ? มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เคยอธิบายเหตุที่ไม่ใส่เรื่องปฏิรูปกองทัพไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ว่า “เพราะกองทัพไม่ได้อยู่ในกระบวนการยุติธรรม” ในขณะที่หลายๆ พรรคเสนอนโยบายปฏิรูปกองทัพในช่วงการเลือกตั้งปี 2562 โดยเฉพาะเรื่องการยกเลิกเกณฑ์ทหารเพื่อไปใช้การรับสมัครแทน หรือการปรับลดงบประมาณกองทัพที่ไม่จำเป็น […]

รับรองให้ ‘ชายและหญิง’ เท่าเทียมกัน กับปัญหาที่อาจซ่อนอยู่

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 27 รับรองเรื่องความเท่าเทียมทางเพศและห้ามเลือกปฏิบัติจากปัจจัยเรื่องเพศ โดยบัญญัติไว้ว่า “ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน” และ “การเลือกปฏิบัติ..ด้วยเหตุผลเรื่องความแตกต่าง..เพศ..จะกระทำมิได้” แม้การรับรองให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันนี้ จะรับรองมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 แล้ว และฉบับรัฐธรรมนูญฉบับหลังๆ ก็ใช้ข้อความเดียวกันเลย แต่การที่สถานการณ์เกี่ยวกับ ‘เพศ’ ในปัจจุบัน มีความก้าวหน้ามากขึ้น ในยุคที่ผู้คนเริ่มคำนึงถึงความหลากหลายทางเพศ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ให้ข้อสังเกตว่า คำว่า ‘เพศ’ ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ชัดเจนว่า หมายถึงเพศกำเนิด (sex) หรือหมายความรวมไปถึงเพศสภาพ (gender) และเพศวิถี (sexual orientation) จนกังวลว่าอาจทำให้เกิดปัญหาการตีความต่อไปในอนาคตหรือไม่ #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

วางคุณสมบัติต้องห้าม สส.-รมต. ไว้ 18 อย่าง รวมถึง ‘เคยติดคุกคดียาเสพติด’

จากคำอวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นรัฐธรรมนูญ ‘ฉบับปราบโกง’ ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. (มาตรา 98) และผู้จะเป็นรัฐมนตรี (มาตรา 160) ไว้ถึง 18 อย่าง เพิ่มขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า ทั้งฉบับปี 2540 และฉบับปี 2550 ที่วางไว้เพียง 14 อย่างเท่านั้น ทีนี้ หนึ่งในคุณสมบัติต้องห้ามคือ “..เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุด.. กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิด ฐานเป็นผู้ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า..” (มาตรา 98(10)) ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา เพราะแกนนำ ส.ส.พรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้เป็นรัฐมนตรี ถูกขุดคุ้ยว่าเคยถูกศาลออสเตรเลียจำคุกฐานนำเข้ายาเสพติด แต่ภายหลัง วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย ก็ออกมาแก้ต่างให้ว่า คุณสมบัติต้องห้ามในรัฐธรรมนูญ ให้นับรวมเฉพาะคำตัดสินของศาลไทยเท่านั้น ไม่รวมถึงศาลต่างประเทศ ขณะที่เจ้าตัวลุกขึ้นชี้แจงในสภาว่า สิ่งที่ตนนำเข้าไปในออสเตรเลีย ไม่ใช่ยาเสพติด แต่เป็นแป้ง! เรื่องนี้ก็เลยกลายเป็นคำถามขึ้นมาว่า รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงที่วางคุณสมบัติต้องห้าม ส.ส.-รัฐมนตรีไว้อย่างมากมาย ที่สุดแล้วมันช่วยกรองคนที่ ‘มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม’ ไม่ให้มามีตำแหน่งสำคัญได้ […]

รธน.ฉบับปี 50 ก็ผ่านประชามติ แต่ถูกแก้ไขถึง 2 ครั้ง ด้วยกลไกรัฐสภา

หนึ่งในข้ออ้างของฝ่ายไม่อยากให้แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็คือคำอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ‘ผ่านประชามติ’ โดยมีเสียงเห็นชอบ 16.8 ล้านเสียง แต่เอาเข้าจริง รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่ใช้มาก่อนหน้านี้ และก็ ‘ผ่านประชามติ’ มาเหมือนกัน โดยมีเสียงเห็นชอบ 14.7 ล้านเสียง ก็ยังถูกแก้ไขได้ด้วยกลไกรัฐสภา (คือการประชุมร่วมกันของ ส.ส. และ ส.ว.) โดยถูกแก้ไขไปถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกว่าด้วยการแก้ไขระบบเลือกตั้ง ส.ส. อีกครั้งว่าด้วยการทำสัญญากับต่างประเทศ หลังจากใช้ไประยะเวลาหนึ่งแล้วเกิดปัญหา ที่สำคัญ การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 โดยเฉพาะการจัดตั้ง ส.ส.ร. ตามกลไกที่กำหนดไว้อย่างไรเสียก็ต้องทำประชามติอยู่แล้ว หากเห็นว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่น่าจะยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ทำประชามติกี่ครั้ง ผลก็น่าจะออกมาว่า ‘ไม่ยอมให้แก้ไข’ ดังนั้นฝ่ายที่ปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจึงไม่มีเหตุผลอะไรจะต้องกลัว ไหนๆ ก็เคยมีเสียงเห็นชอบถึง 16.8 ล้านเสียง ถ้ามั่นใจว่า เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า รัฐธรรมนูญนี้ดีอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาใดๆ เลย ไม่อยากให้แก้ไข แล้วจะกลัวอะไรกันนะ #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER