นี่คือ ‘เงื่อนตาย’ ที่จะชี้ขาดการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ใช่แค่ ‘จะแก้สำเร็จหรือไม่’ แต่เป็นว่า ‘จะเริ่มแก้ได้หรือเปล่า’ ซะด้วยซ้ำ!
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) หรือบางคนเรียกว่า ‘ฉบับมีชัย’ ตามชื่อของมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ซึ่ง คสช.ตั้งขึ้นมาให้จัดทำกฎหมายสูงสุดของประเทศฉบับนี้ (แต่ตัวมีชัยเรียกว่า ฉบับปราบโกง) ถูกวิจารณ์ไว้แต่ต้นว่าเขียนกติกาให้แก้ไขได้ยากมาก..จนแทบเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะใช้สูตรไหน-โมเดลใดก็ตาม จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ซึ่งกำหนดไว้ว่า การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระแรก นอกจากต้องได้เสียง ส.ส.และ ส.ว.เกินกึ่งหนึ่งของทั้งหมดแล้ว (ปัจจุบันมี ส.ส. 489 คน และ ส.ว. 250 คน เกินกึ่งหนึ่งคือ 370 คนขึ้นไป) ในจำนวนนั้นจะต้องมีเสียง ส.ว. 1/3 ของทั้งหมดขึ้นไป (84 คนขึ้นไป)
ขณะที่ในวาระที่สาม ไม่เพียงต้องการเสียง ส.ส.และ ส.ว.เกินกึ่งหนึ่ง โดย ส.ว.เกิน 1/3 ของทั้งหมดต้องเห็นชอบด้วย แล้วต้องใช้เสียง ส.ส.ฝ่ายค้าน 20% ของทั้งหมดอีกด้วย
ข้อเสนอ ‘ปิดสวิตซ์ ส.ว.’ ของกลุ่มประชาชนปลดแอกจะเป็นไปได้แค่ไหน หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังต้องพึ่งเสียงของ ส.ว. อย่างน้อย 1/3 ของทั้งหมด
#แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER