ก่อนออก กม.ใดๆ รัฐต้องเปิดรับฟังความเห็น และวิเคราะห์ผลกระทบของ กม.

แม้จะมีจุดบกพร่องอยู่มาก แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็มีส่วนที่ก้าวหน้าอยู่บ้าง อาทิ มาตรา 77 ที่กำหนดให้รับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องและจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบก่อนที่จะมีการออกกฎหมายใดๆ ออกมาใช้บังคับ

ซึ่งการกำหนดให้ต้องทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบก่อนออกกฎหมายใดๆ หรือ RIA – Regulatory Impacts Assessment ถือเป็นหลักการใหม่ที่มีขึ้นมา เพราะปัจจุบัน ไทยมีกฎหมายมากกว่า 1 แสนฉบับ ถือว่ามากเกินความจำเป็น และส่งผลกระทบต่อประชาชน

แต่ก็เช่นเคย แม้หลักการและกฎหมายจะมีเนื้อหาที่ดี แต่เมื่อถึงขั้นตอนปฏิบัติกลับเจอช่องโหว่ให้ต้องปรับปรุงกันไป

โดยในวิธีการรับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 77 ที่ประชุม ครม. ในยุครัฐบาล คสช. กำหนดไว้ว่า การนำร่างกฎหมายขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์หน่วยงาน หรือเว็บไซต์ www.lawamendment.go.th เป็นเวลา 15 วัน ก็ถือว่าเป็นการ ‘รับฟังความคิดเห็น’ แล้ว

ร่างกฎหมายบางฉบับ เราจึงได้เห็นคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเพียงหลักหน่วยเท่านั้น ซึ่งก็ชวนตั้งคำถามว่า การรับฟังความเห็นด้วยวิธีการเช่นนี้ ทำให้เราได้ ‘ความเห็นของประชาชน’ จริงๆ หรือแค่ ‘ทำไปตามขั้นตอน’ เป็นพิธีกรรมเท่านั้น

 


อ้างอิงข้อมูลจาก

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

https://ilaw.or.th/node/4510

https://cdc.parliament.go.th/draftcons…/ewt_dl_link.php…

#แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

Share this article!