Tag: fun fact

กำหนดให้ปฏิรูปประเทศ 7 ด้าน (แต่ไม่มีเรื่องปฏิรูปกองทัพ)

‘ปฏิรูปประเทศ’ เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่ม็อบซึ่งประท้วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ออกมาขัดขวางการเลือกตั้ง จน คสช.ใช้โอกาสที่เกิดสุญญากาศทางการเมือง ยึดอำนาจกลางปี 2557 ..คำถามก็คือ ตลอดห้าปีที่ คสช.ยึดอำนาจมาเป็นรัฐบาลเอง การปฏิรูปประเทศมีความคืบหน้าแค่ไหน? ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มีบทบัญญัติใหม่ว่าด้วย ‘การปฏิรูปประเทศ’ ซึ่งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) พยายามชูว่าเป็นหนึ่งในจุดเด่นของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยกำหนดการปฏิรูปประเทศไว้ 7 ด้าน ทั้ง– ด้านการเมือง– ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน– ด้านกฎหมาย– ด้านกระบวนการยุติธรรม– ด้านการศึกษา– ด้านเศรษฐกิจ– ด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ที่รัฐธรรมนูญเร่งรัดให้มีคณะกรรมการอิสระขึ้นมาจัดทำข้อเสนอปฏิรูปและร่างกฎหมายภายใน 2 ปี (ซึ่งครบกำหนดระยะเวลาไปแล้วกลางปี 2562) แต่คำถามที่หลายๆ คนถามก็คือ แล้วการปฏิรูปกองทัพไปอยู่ในส่วนไหนของการปฏิรูปปประเทศ ตามรัฐธรรมนูญนี้? องคาพยพอื่นๆ ในประเทศจำเป็นต้องปฏิรูปหมด เหตุใดยกเว้นเฉพาะกองทัพ? มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เคยอธิบายเหตุที่ไม่ใส่เรื่องปฏิรูปกองทัพไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ว่า “เพราะกองทัพไม่ได้อยู่ในกระบวนการยุติธรรม” ในขณะที่หลายๆ พรรคเสนอนโยบายปฏิรูปกองทัพในช่วงการเลือกตั้งปี 2562 โดยเฉพาะเรื่องการยกเลิกเกณฑ์ทหารเพื่อไปใช้การรับสมัครแทน หรือการปรับลดงบประมาณกองทัพที่ไม่จำเป็น […]

รับรองให้ ‘ชายและหญิง’ เท่าเทียมกัน กับปัญหาที่อาจซ่อนอยู่

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 27 รับรองเรื่องความเท่าเทียมทางเพศและห้ามเลือกปฏิบัติจากปัจจัยเรื่องเพศ โดยบัญญัติไว้ว่า “ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน” และ “การเลือกปฏิบัติ..ด้วยเหตุผลเรื่องความแตกต่าง..เพศ..จะกระทำมิได้” แม้การรับรองให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันนี้ จะรับรองมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 แล้ว และฉบับรัฐธรรมนูญฉบับหลังๆ ก็ใช้ข้อความเดียวกันเลย แต่การที่สถานการณ์เกี่ยวกับ ‘เพศ’ ในปัจจุบัน มีความก้าวหน้ามากขึ้น ในยุคที่ผู้คนเริ่มคำนึงถึงความหลากหลายทางเพศ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ให้ข้อสังเกตว่า คำว่า ‘เพศ’ ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ชัดเจนว่า หมายถึงเพศกำเนิด (sex) หรือหมายความรวมไปถึงเพศสภาพ (gender) และเพศวิถี (sexual orientation) จนกังวลว่าอาจทำให้เกิดปัญหาการตีความต่อไปในอนาคตหรือไม่ #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

วางคุณสมบัติต้องห้าม สส.-รมต. ไว้ 18 อย่าง รวมถึง ‘เคยติดคุกคดียาเสพติด’

จากคำอวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นรัฐธรรมนูญ ‘ฉบับปราบโกง’ ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. (มาตรา 98) และผู้จะเป็นรัฐมนตรี (มาตรา 160) ไว้ถึง 18 อย่าง เพิ่มขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า ทั้งฉบับปี 2540 และฉบับปี 2550 ที่วางไว้เพียง 14 อย่างเท่านั้น ทีนี้ หนึ่งในคุณสมบัติต้องห้ามคือ “..เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุด.. กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิด ฐานเป็นผู้ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า..” (มาตรา 98(10)) ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา เพราะแกนนำ ส.ส.พรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้เป็นรัฐมนตรี ถูกขุดคุ้ยว่าเคยถูกศาลออสเตรเลียจำคุกฐานนำเข้ายาเสพติด แต่ภายหลัง วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย ก็ออกมาแก้ต่างให้ว่า คุณสมบัติต้องห้ามในรัฐธรรมนูญ ให้นับรวมเฉพาะคำตัดสินของศาลไทยเท่านั้น ไม่รวมถึงศาลต่างประเทศ ขณะที่เจ้าตัวลุกขึ้นชี้แจงในสภาว่า สิ่งที่ตนนำเข้าไปในออสเตรเลีย ไม่ใช่ยาเสพติด แต่เป็นแป้ง! เรื่องนี้ก็เลยกลายเป็นคำถามขึ้นมาว่า รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงที่วางคุณสมบัติต้องห้าม ส.ส.-รัฐมนตรีไว้อย่างมากมาย ที่สุดแล้วมันช่วยกรองคนที่ ‘มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม’ ไม่ให้มามีตำแหน่งสำคัญได้ […]

รธน.ฉบับปี 50 ก็ผ่านประชามติ แต่ถูกแก้ไขถึง 2 ครั้ง ด้วยกลไกรัฐสภา

หนึ่งในข้ออ้างของฝ่ายไม่อยากให้แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็คือคำอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ‘ผ่านประชามติ’ โดยมีเสียงเห็นชอบ 16.8 ล้านเสียง แต่เอาเข้าจริง รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่ใช้มาก่อนหน้านี้ และก็ ‘ผ่านประชามติ’ มาเหมือนกัน โดยมีเสียงเห็นชอบ 14.7 ล้านเสียง ก็ยังถูกแก้ไขได้ด้วยกลไกรัฐสภา (คือการประชุมร่วมกันของ ส.ส. และ ส.ว.) โดยถูกแก้ไขไปถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกว่าด้วยการแก้ไขระบบเลือกตั้ง ส.ส. อีกครั้งว่าด้วยการทำสัญญากับต่างประเทศ หลังจากใช้ไประยะเวลาหนึ่งแล้วเกิดปัญหา ที่สำคัญ การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 โดยเฉพาะการจัดตั้ง ส.ส.ร. ตามกลไกที่กำหนดไว้อย่างไรเสียก็ต้องทำประชามติอยู่แล้ว หากเห็นว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่น่าจะยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ทำประชามติกี่ครั้ง ผลก็น่าจะออกมาว่า ‘ไม่ยอมให้แก้ไข’ ดังนั้นฝ่ายที่ปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจึงไม่มีเหตุผลอะไรจะต้องกลัว ไหนๆ ก็เคยมีเสียงเห็นชอบถึง 16.8 ล้านเสียง ถ้ามั่นใจว่า เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า รัฐธรรมนูญนี้ดีอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาใดๆ เลย ไม่อยากให้แก้ไข แล้วจะกลัวอะไรกันนะ #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER