Tag: infographic

เปิดไทม์ไลน์ ส.ส.ร. และกระบวนการในสภา หลังข้อเสนอตั้ง กมธ. ‘เพื่อศึกษาเพิ่มเติมอีก 1 เดือน’ จากพรรคฝ่ายรัฐบาล

ภายหลังที่ ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. จากพรรคพลังประชารัฐเสนอญัติ ให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ และมือของสมาชิกสภาทั้งหมด 431 ข้างยกรับ ส่งผลเอกฉันท์ให้เลื่อนเวลาการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปอีก 1 เดือน ไม่ว่าลูกไม้นี้ของพรรครัฐบาลจะเป็นกลเม็ดเด็กเล่นขายของ หรือดึงเชิงเตรียมทำการใหญ่ แต่ก็มีผลเพียงพอสั่นสะเทือนทั้งในและนอกสภา  ฝ่ายค้านตบเท้าวอร์คเอาท์ ไม่ขอลงไปคลุกโมงเล่นเกมนี้ด้วย ขณะที่ บรรยากาศนอกสภาเขม่นตึง แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม อานนท์ นำภา ประกาศชุมนุมต่อเนื่อง ให้การสืบทอดอำนาจจบสิ้นภายในเดือนตุลาคม  อย่างไรก็ดี ความหวังในการแก้รัฐธรรมนูญในสภายังไม่หมดไป และต้องมาลุ้นกันอีกในเดือนข้างหน้า The MATTER จึงขอชวนเปิดไทม์ไลน์ ความเป็นไปได้นับจากนี้ไปของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มจากการตั้ง กมธ. ศึกษาเพิ่มเติม จนถึงข้อเสนอจัดตั้ง ส.ส.ร. จากร่างทุกฉบับ ขั้นตอนในสภา รัฐสภาจัดตั้ง กมธ. ศึกษาเพิ่มเติมร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 1 เดือน ก่อนเข้าสู่วาระที่ 1 ของสภา วาระแรก รับหลักการ ต้องได้เสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา และต้องมีเสียง ส.ว. 1 ใน 3 หรือ เสียงสภา […]

ส่องอายุผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ว่าเป็นวัยไหนกันบ้าง?

รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของไทย ถูกเขียนโดยคนในวัยไหนบ้าง? ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2560 จะผ่านประชามติ แต่ทว่าในแง่ของกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นร่างกันขึ้นมานั้น ก็เคยถูกตั้งคำถามกันพออยู่หลายครั้ง หนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจคือประเด็นว่าด้วย ‘อายุ’ ของคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญในนาม กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่ มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน วันนี้ The MATTER จึงพาขอพาทุกคนย้อนไปดูถึง อายุของผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กันว่า ส่วนใหญ่แล้วเป็นวัยไหนกันบ้าง **โดยอายุที่เรานำมาเสนอในครั้งนี้ เป็นอายุในช่วงเวลาที่พวกเค้าเริ่มต้นทำงานหลังจากได้รับการแต่งตั้งโดย คสช.นะ ไม่ใช่อายุปัจจุบัน** โดยข้อมูลของผู้ร่างรัฐธรรมนูญปรากฎออกมาเป็นอายุดังนี้ มีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธาน) : 77 ปี สุพจน์ ไข่มุกด์ : 70 ปี อภิชาต สุขัคคานนท์ : 70 ปี รชิต สิงหเสนี : 60 ปี อุดม รัฐอมฤต : 54 ปี อมร วาณิชวิวัฒน์ […]

สสร.ในฝันนั้นมันช่างดี ย้อนเวลารู้จักรุ่นพี่ สสร. 2540

คุณเคยฝันถึงแฟนเก่าไหม? ถ้าเราจะเปรียบเปรยคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญว่าเป็นเหมือนคนรัก รุ่นพี่อย่าง สสร. (สภาร่างรัฐธรรมนูญ) ปี 2540 ก็คงเป็นรุ่นพี่ที่ป๊อปมากในผู้คนที่นิยมระบอบประชาธิปไตย คำถามคือ ทำไม สสร.40 ถึงมักถูกพูดถึงบ่อยๆ ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย? ทำไมเหล่ารุ่นพี่ 40 ถึงสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็นหมุดหมายสำคัญของประชาธิปไตยขึ้นมาได้? วันนี้ The MATTER จะพาไปรู้จักกับรุ่นพี่และสิ่งที่เหล่ารุ่นพี่เคยทำไว้มาให้ดูกัน 1) ที่มา : การคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้นผ่านกระบวนการอยู่หลายขั้นตอน โดยแบ่งออกเป็น 2 สาย ได้แก่ สายที่มาจากตัวแทนประชาชน 76 คน ที่เริ่มต้นจากแต่ละจังหวัดเลือกตั้งตัวแทนจังหวัดละ 10 คน (รวม 760 คน) พอได้แล้วให้รัฐสภา (ส.ส.+ส.ว.) เลือกให้เหลือจังหวัดละ 1 คน ส่วนอีกสายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ (23 คน) ซึ่งสถาบันการศึกษาเป็นคนคัดเลือก ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ 8 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน 8 คน และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง-บริหารแผ่นดิน 7 คน […]

กว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องผ่านกี่ด่าน? เปิดเงื่อนไขกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ 2560

ในช่วงที่ประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อยากให้ประเทศเดินหน้า สิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายทั้งประชาชน และนักการเมืองเห็นตรงกันว่า จะเริ่มการเปลี่ยนแปลง หรือปลดล็อกหลายๆ อย่างไปได้ ต้องเริ่มต้นที่การ ‘แก้รัฐธรรมนูญ’ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 นี้ ก็เป็นที่รู้กันว่า เป็นใจกลางของปัญหาหลายๆ อย่างทางการเมือง และเอื้อต่อการสืบทอดอำนาจของ คสช. รวมถึงยังมีหลายมาตราที่เป็นข้อกังขาของสังคม และไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเลือกสรร ส.ว. 250 คน และอำนาจของ ส.ว.ที่สามารถเข้ามาโหวตเลือกนายกฯ ได้ด้วย เป็นต้น แต่เส้นทางสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ไม่ได้ง่ายดาย เพราะตัวรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 เองนั้น ได้มีการเขียนขึ้นเพื่อป้องกันตัวมันเอง ให้การแก้เป็นไปได้ยาก ต้องผ่านหลายขั้นตอน ทั้งยังต้องมีเสียงรับรองจาก ส.ส. และ ส.ว.จำนวนหนึ่งด้วย เงื่อนไขเหล่านี้เป็นอย่างไร ตั้งแต่การเสนอแก้ ไปถึงแต่ละขั้นตอนต้องมีเสียงสนับสนุนเท่าไหร่ The MATTER ขอพาไปดูกัน การแก้ไขรัฐธรรมนูญในขั้นตอนแรก ต้องมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยผู้มีสิทธิเสนอนั้น ได้แก่ คณะรัฐมนตรี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 (98 […]

เรื่องแบบนี้ก็มีด้วย? รวม 7 คีย์เวิร์ดตลกร้ายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2560

ทำไมหลายๆ คนถึงออกมาเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560? รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาตรงไหนบ้างนะ? วันนี้ The MATTER จะพาไปดู 7 คีย์เวิร์ดที่น่าสนใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้กันว่าถูกตั้งคำถามกับเรื่องอะไรบ้าง? และมันสะท้อนถึงมุมมองของผู้ร่างและเหตุผลของการที่หลายคนกำลังเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปรับเปลี่ยนเนื้อหากันอย่างจริงจัง #คำปรารถ : เป็นส่วนแรกสุดของรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่สะท้อนถึงที่มาที่ไปของรัฐธรรมนูญฉบับนั้น เปรียบเทียบได้เหมือนกับบทคัดย่อของรัฐธรรมนูญ โดยฉบับนี้มีความยาวกว่า 3 หน้ากระดาษ! #ปฏิรูปประเทศ : เป็นคีย์เวิร์ดที่ได้ยินคุ้นหูโดยเฉพาะจากเวที กปปส. และก็ได้กลายมาเป็นหนึ่งในหมวดสำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 มีทั้ง การปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความยุติธรรม การศึกษา #ยุทธศาสตร์ชาติ : รัฐธรรมนูญกำหนดว่า รัฐบาลต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ (ซึ่ง คสช. เป็นคนกำหนดไว้ให้แล้ว) #รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง : เป็น Motto หลักที่กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเคยหยิบมาใช้รณรงค์ก่อนประชามติ 2560 โดยชูจุดเด่นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีจุดเด่นที่การปราบคอร์รัปชั่น #รัฐธรรมนูญฉบับสำลักคุณธรรม : เคยมีการเสียดสีจากทั้งสื่อมวลชนรวมถึงนักวิชาการว่า ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับร่างโดยชุดของ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (ที่สุดท้ายถูกตีตกไป) รวมมาถึงฉบับที่ร่างด้วยชุดของ มีชัย ฤชุพันธุ์ […]