Tag: opinion

ที่ผ่านมา รัฐบาลพลเรือนทั้งหลายเกรงใจที่จะลดขนาดกองทัพ เพราะกลัวการรัฐประหาร ผมเลยคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมีเรื่อง ‘ปฏิรูปกองทัพ’ เพื่อป้องกันทหารเข้ามาแทรกแซง

การปฏิรูปกองทัพ เป็นหนึ่งในประเด็นที่หลายคนพูดถึง ในหัวข้อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเมื่อเร็วๆ มานี้ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ.ที่เพิ่งเกษียณอายุไป ก็เคยให้คำมั่นสัญญาณว่าจะปฏิรูปกองทัพในหลายเรื่อง The MATTER ได้ไปพูดคุยกับ ซูกริฟฟี ลาเตะ ประธานสหพันธ์นักเรียน นิสิต นักศึกษา และเยาวชนปาตานี (PerMAS) เพื่อสอบถามในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รัฐธรรมนูญ 60 มีที่มาจากคณะรัฐประหาร และตัวเนื้อหาเองก็มีปัญหา อย่างการมี ส.ว. 250 ที่สามารถโหวตนายกได้ แล้วก็มาจากการแต่งตั้ง โดยที่ความจริงแล้ว ที่มาของ ส.ว.ต้องสัมพันธ์กับอำนาจที่มี การมี ส.ว.แต่งตั้ง ที่มีอำนาจในการเลือกนายกจึงเป็นปัญหา เพราะจะทำให้เจตจำนงของประชาชนเปลี่ยนไปได้” “แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็แก้ยาก ด้วยกลไกที่สลับซับซ้อน ต้องให้ ส.ว. เห็นชอบ ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นด้วย มันก็เลยซับซ้อนมาก เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย นี่คือปัญหาหลักๆ ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้” ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญ 60 ยังส่งผลกับเรื่องที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยซูกริฟฟี กล่าวว่า “ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องคุยเรื่องของการปฏิรูปสถาบันทหาร […]

ถ้ารัฐธรรมนูญที่เป็นแม่บทในการปกครองประเทศมีปัญหา นั่นก็เท่ากับว่าการเมืองในประเทศมีปัญหา และถ้าการเมืองไม่ดีแล้วคุณภาพชีวิตเด็กนักเรียนหรือคุณภาพการศึกษาจะดีได้อย่างไร

เพราะถ้าการเมืองดี อะไรหลายๆ อย่างก็จะดีตามมา The MATTER ไปคุยกับ พลอย หนึ่งในสมาชิกกลุ่มนักเรียนเลว ที่ผลักดันและส่งเสียงถึงปัญหาของนักเรียนไทยที่ต้องเผชิญอยู่ในเวลานี้ว่าคิดยังไงกับเรื่องของรัฐธรรมนูญไทย “ถึงแม้นักเรียนจะยังไม่มีสิทธิเลือกตั้งโดยตรง เพราะส่วนใหญ่ยังอายุไม่ถึง 18 แต่มันก็กระทบกับนักเรียนที่เป็นประชาชนในประเทศเหมือนกัน เพราะถ้ารัฐธรรมนูญที่เป็นแม่บทในการปกครองประเทศมีปัญหา นั่นก็เท่ากับว่าการเมืองในประเทศมีปัญหา และถ้าการเมืองไม่ดีแล้วคุณภาพชีวิตเด็กนักเรียนหรือคุณภาพการศึกษาจะดีได้อย่างไร “เนื่องจากผู้นำฝ่ายบริหาร ส.ว มาจากการถูกแต่งตั้ง ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แถมยังตรวจสอบที่มาที่ไปอะไรไม่ได้อีก แม้แต่นาฬิกาของพลเอกสักคนที่มานั่งในสภายังตรวจสอบอะไรไม่ได้ นั่นทำให้ผู้ที่จะเข้ามาดูแลเรื่องการศึกษายังไม่มีผลงานอะไรประจักษ์แก่ตาของประชาชนนัก เขาเคยดูแลหรือทำอะไรเพื่อการศึกษามาก่อนหน้านี้บ้างนอกจากเป่านกหวีดไล่รัฐบาลก่อนๆ” “สุดท้ายแล้วการศึกษาที่เป็นหนึ่งในเสาหลักในการพัฒนาประเทศก็กลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกลดทอนคุณค่าและความสำคัญ คุณภาพชีวิตของนักเรียนยังไม่ถูกพัฒนาอย่างเต็มที่ เด็ก ๆ ใช้เวลาไปกับการเรียนหรือการทำกิจกรรมที่ไร้ประโยชน์เหมือนเดิม สิทธิเสรีภาพของนักเรียนยังคงถูกกดทับโดยกฎระเบียบต่างๆ ในโรงเรียนแบบเดิมไม่ต่างจาก 30-40 ปีที่ผ่านมา” และเมื่อถามถึงรัฐธรรมนูญในฝันของพลอย เธอก็ได้ตอบกับเราว่า “ถ้าถามในความเห็นของเด็กอายุ 15 ที่ฝันอยากจะเปลี่ยนแปลงประเทศและสังคม เราอยากให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยและประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญ อยากให้สิ่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ สามารถตั้งคำถามและตรวจสอบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลาโดยไม่ผ่านการใช้อำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งค่ะ” รัฐธรรมนูญในฝันของคุณเป็นยังไง อยากปรับเปลี่ยนแก้ไขอย่างไร The MATTER ชวนมาแชร์ความฝันนั้น เพื่อผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้จริงจากเสียงของประชาชน   #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

รัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับทุกคนในประเทศนี้

หลายคนอาจจะมองว่าเรื่องกฎหมาย เรื่องรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้วรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน และส่งผลกระทบต่อชีวิตของเรา ซึ่ง Hockhacker แร็ปเปอร์กลุ่ม Rap Against Dictatorship เจ้าของเพลงฮิปฮอปทางการเมืองอย่าง ‘ประเทศกูมี’ หรือ ‘250 สอพลอ’ ฯลฯ ก็เป็นอีกหนึ่งเสียงที่ยืนยันกับเราว่า รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับทุกคน และรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีจุดที่ต้องแก้ไขด้วย “รัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับทุกคนในประเทศนี้ เมื่อเราเห็นรัฐธรรมนูญถูกฉีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า และจบด้วยการแก้ไขเพื่อผลประโยชน์แก่ผู้มีอำนาจโดยไม่เห็นหัวประชาชน ทั้งหมดนั้นจึงเกี่ยวกับการแสดงออกของเราด้วย” เมื่อถามว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2560 นี้ มีช่องโหว่อย่างไร Hockhacker ก็มองว่า มันมีปัญหาตั้งแต่ที่มาของการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และมีหลายจุดที่ต้องแก้ไข ซึ่งสำหรับเขาแล้ว รัฐธรรมนูญในฝันที่เขาอยากได้นั้น คือ “รัฐธรรมนูญที่พร้อมปรับแก้ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่ที่สำคัญคือ ต้องคำนึงถึงประชาชนเป็นสำคัญ” รัฐธรรมนูญในฝันของคุณเป็นยังไง อยากปรับเปลี่ยนแก้ไขอย่างไร เราขอชวนมาแชร์ความเห็น และติดตามแคมเปญรัฐธรรมนูญของเรา ตลอดเดือนกันยายน และตุลาคมได้ที่ The MATTER #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

มันต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่ยืดหยุ่นต่อการแก้ไข เพื่อที่จะสามารถปรับปรุงกฎหมายให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความท้าทายของปัญหาสิ่งแวดล้อม และจะต้องเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้าย ที่จะไม่มีอาชญากรคนไหนยึดอำนาจเข้ามาฉีกมันได้อีกต่อไป

เราชวน Sa-ard สะอาดมาพูดคุยถึงปัญหารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และรัฐธรรมนูญในฝันที่เขาอยากให้เป็น ซึ่งปัญหาที่ สะอาด บอกกับเราในรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ซึ่งส่งผลต่อวงการศิลปะก็คือเรื่อง สิทธิและเสรีภาพ “รัฐธรรมนูญ 60 ระบุไว้ว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องไม่กระทบกระเทียบเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งทุกวันนี้เราจะเห็นว่าความมั่นคงของรัฐไทยนั้นแสนจะเปราะบาง และนิยามคำว่ารัฐหรือ ‘ชาติ’ ของผู้นำประเทศก็คับแคบเหลือเกิน จึงมีการใช้เจ้าหน้าที่มาคุกคามจับกุมประชาชน รวมไปถึงศิลปินที่แสดงออกทางการเมืองอยู่เสมอ และทำให้ผลงานศิลปะแบบที่รัฐจะยอมรับและสนับสนุนนั้นกลายเป็นพื้นที่คับแคบและไม่เปิดกว้างต่อความคิดสร้างสรรค์ สำหรับผมตำแหน่ง ‘ศิลปินแห่งชาติ’ ควรจะมีโอกาสเป็นได้ทั้งถวัลย์ ดัชนี Rap against dictatorship หรือ Lowcostcosplay ครับ” และรัฐธรรมนูญในฝันของเขาที่บอกกับเราก็คือ “มันควรจะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงสิทธิที่จะเข้าถึงสวัสดิการของรัฐที่ครอบคลุมกว่านี้ เพราะเราคิดว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำจะยิ่งทวีความรุนแรงในอนาคต และต้องมีระบบทำให้คนมีอำนาจทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ยึดโยงกับประชาชน” รวมไปถึงการทำให้รัฐธรรมนูญนั้นต้องยืดหยุ่นต่อการแก้ไข และที่สำคัญคือไม่ให้ใครมาฉีกได้โดยง่าย รัฐธรรมนูญที่คุณอยากเห็นเป็นแบบไหน ชวนมาแชร์และส่งเสียงกันได้กับเรานะ   #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

ผมขออย่างเดียวจริงๆ ขอรัฐธรรมนูญที่ใช้ภาษาง่ายๆ อ่านแล้วเข้าใจ เพราะมันคือสิ่งคู่ประเทศและคนไทย แต่นี่มาถึง ‘ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาค…’ มันแปลว่าอะไร?

เพราะคนไทยแปลว่าอิสระ และรัฐธรรมนูญควรต้องเป็นของทุกคน เราจึงชวน ธีรชัย ระวิวัฒน์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มาพูดคุยถึงความคิดต่อ ‘รัฐธรรมนูญของเรา’ ในมุมมองของเขา เมื่อเราถามว่ามองเห็นปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตรงไหนบ้าง? เขาถามเรากลับมาว่า “ตรงไหนบ้างที่ไม่เป็นปัญหา?” ก่อนอธิบายต่อว่า “มีปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ตั้งแต่แม่วงษ์จนถึงราชดำเนิน มีปัญหาหมด อย่างแรกที่กระบวนการร่าง สองที่เนื้อหาที่ร่าง สามขั้นตอนการทำประชามติเพื่อประกาศใช้” “เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นข้อตกลงร่วมกันของคนในสังคม มันจึงควรเป็นของทุกคนถูกไหม แต่นี่อยู่ดีๆ มีลุงคนนึงชื่อ มีชัย ฤชุพันธุ์ มาร่างรัฐธรรมนูญให้เรา ทั้งที่ๆ ลุงคนนี้เคยมีมีประวัติร่างรัฐธรรมนูญปี 2534 มาแล้ว ซึ่งสุดท้ายจบลงด้วยเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ทำไมเรายังคิดจ้างผู้ค้าบริการร่างรัฐธรรมนูญคนนี้อีก นี่คือปัญหาตัวบุคคล” “พอร่างเสร็จแล้ว คนที่มาช่วยอนุมัติก็คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นร่างอวตารของคณะรัฐประหาร (คสช.) คนกลุ่มนี้ก็ต้องโหวตรับแน่นอนอยู่แล้ว หลังจากนั้นก็มีการทำประชามติ ที่ต้องถามว่า มีความแฟร์ในการทำประชามติบ้างไหม? ในเมื่อรณรงค์ให้โหวตรับได้ แต่คนรณรงค์ให้ไม่รับกลับติดคุกกันเป็นว่าเล่น แล้วอะไรคือความชอบธรรม?” “พอลองมาดูเนื้อในก็พิสดารอีก ระบบเลือกตั้งแบบใหม่ คล้ายเยอรมนี แต่ก็ไม่ใช่ […]

หลังรัฐประหาร ปี 2557 ก็มีการตั้งคนมาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการทหาร รัฐธรรมนูญนี้จึงเป็นผลผลิตของต้นไม้พิษ ทำให้เกิดวิกฤตการเมืองในปัจจุบัน

“หลังรัฐประหาร ปี 2557 ก็มีการตั้งคนมาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการทหาร รัฐธรรมนูญนี้จึงเป็นผลผลิตของต้นไม้พิษ ทำให้เกิดวิกฤตการเมืองในปัจจุบัน” คำปราศรัยส่วนหนึ่งของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข ในการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (19 ก.ย.2563) นอกจากนี้ สมยศยังสนับสนุนข้อเสนอ 10 ข้อของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเขามองว่าเป็นข้อเสนอที่ถูกต้อง ชอบธรรม และจงรักภักดี เพื่อให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ แทนที่จะปล่อยให้ผู้คนไปติฉินนินทาลับหลัง ซึ่งไม่รู้ว่าอะไรจริงหรือไม่จริง #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

เมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้น เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ด้วยคำสั่ง ด้วยกฎระเบียบที่มันส่งผลต่อชีวิตของเราจริงๆ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย พี่ไม่สามารถไปบอกลูกได้เลยว่า ไม่ต้องสนใจเรื่องนี้ เพราะมันเกี่ยวกับชีวิตเรา

ขณะที่วันนี้ ในสภามีการพิจารณาประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องติดตามกันว่า จะมีการถกเถียง และพูดคุยถึงทิศทางแก้ไขอย่างไร ในระหว่างการชุมนุมใหญ่ #19กันยาทวงอำนาจราษฎร The MATTER ได้พูดคุยกับ สุกัญญา มิเกล ศิลปิน และนักร้องในยุค 90 ถึงความเห็นของเธอ ในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่ผ่านการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาหลายฉบับว่า คิดเห็นอย่างไรกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “พี่เป็นคนรุ่นเก่า น่าจะเก่ากว่าน้องๆ หลายคน ซึ่งคนรุ่นใหม่ก็จะมีแนวคิดทันสมัยที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญค่อนข้างเยอะ แต่รุ่นพี่ เราเติบโตในยุค 80 และเป็นวัยรุ่นในยุค 90 ดังนั้น เรื่องของรัฐธรรมนูญกับเราจะไกลกันมาก และเราจะถูกสั่งสม สั่งสอนมาว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว เราก็ทำมาหากินไปเถอะ ทำงานของเราไป โดยที่ไม่ต้องสนใจว่าการเมืองเขาจะว่าอย่างไร แต่ทีนี้สิ่งที่ตามมาก็คือว่า เมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้น เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ด้วยคำสั่ง ด้วยกฎระเบียบที่มันส่งผลต่อชีวิตของเราจริงๆ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย พี่ไม่สามารถไปบอกลูกได้เลยว่า ไม่ต้องสนใจเรื่องนี้ เพราะมันเกี่ยวกับชีวิตเรา กับข้าวปลาอาหารที่เรากินจริงๆ” “สำหรับลูกพี่ ตอนนี้ก็ 10 ขวบแล้ว คนโตก็ 15 ปี กำลังเป็นวัยรุ่น แล้วพี่ไม่มั่นใจเลยว่า ในอนาคตมันจะเกิดอะไรกับชีวิตของพวกเขาบ้าง พี่คงจะต้องบอกกับลูกๆ และน้องๆ […]

โลกเปลี่ยนแปลงทุกวัน ทุกอย่างดำรงอยู่ให้คนตั้งคำถามและต่อต้าน ฉะนั้น ไม่ควรมีอะไรที่ห้ามแก้ในรัฐธรรมนูญ

TheMATTER ชวน Baphoboy ศิลปินที่ทำงานศิลปะเชิงประเด็นทางสังคมมาพูดคุยในซีรีส์ ‘รัฐธรรมนูญของเรา’ โดยงานชิ้นล่าสุดของเขา ได้ออกแบบให้ตัวละครที่มีรอยยิ้มกว้างเกินกว่าจริงใจ สวมชุดโขน และกอดหมุดคณะราษฎรใหม่อยู่ในอ้อมอก ซึ่งเขาบอกกับเราว่า มันเป็นหน้าที่ศิลปินที่จะบันทึกเรื่องราวบางอย่างเอาไว้ไม่ให้หายไป และมันคงเหมือนทุกคน ที่ตั้งใจจะผลิตซ้ำหมุดคณะราษฎรใหม่ เพื่อให้มันกระจายและกลายเป็น Pop Culture ในสังคมไทย เขาบอกถึงแนวคิดเบื้องหลังงานชิ้นนี้ว่า “สำหรับกลุ่มผู้มีอำนาจ หมุดคณะราษฎรที่ปักลงไปเกี่ยวกับเรื่องของไสยศาสตร์ ดวง ความเชื่อ ฉะนั้น พวกเขาต้องทำลายมัน เพราะกลัวหมุดจะทำให้เขาสูญเสียอำนาจบางอย่าง เราเลยเลือกชุดโขนซึ่งสะท้อนถึงความเป็นศักดินามาเล่น และโอเค เกลียดหมุดคณะราษฎรมากใช่ไหม งั้นเอาไปไว้บนอกเลยละกัน เอาไปกอดเลยละกัน“ เราถาม Baphoboy ต่อถึงความเห็นต่อรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน เขามองว่า “หนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันเป็นผลพวงมาจากการรัฐประหาร แล้วฉีกรัฐธรรมนูญทั้ง 13 ครั้งที่ผ่านมา คือพอมันเปลี่ยนบ่อย ทำให้ประชาชนสับสน และไม่รู้จักรัฐธรรมนูญจริงๆ สอง ไม่ว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระอย่าง คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ต่างก็ถูกแต่งตั้งโดย คสช. ซึ่งเราไม่เชื่อในเรื่องความเป็นกลางนะ แต่เราเลยรู้สึกเลยว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ รัฐธรรมนูญของ คสช. มันถูกคิดมาแล้ว และรัฐบาลที่มาจากรัฐธรรมนูญชุดนี้ […]