Author: Editor

‘ผิดกฎหมาย’ ต้องให้ศาลตัดสินและคดีถึงที่สุด ก่อนหน้านั้นให้ถือว่า ‘ไม่ผิด’

ผู้มีอำนาจบางคนมักท่องคาถาว่า ตัวเองนั้น ‘ทำตามกฎหมาย’ ส่วนคนอื่นๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายบางอย่าง นั้นเป็นพวก ‘ทำผิดกฎหมาย’ ไม่ว่าจะในช่วงเวลาปกติ หรือในช่วงเวลาที่ใช้กฎหมายพิเศษอย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งๆ ที่การกล่าวอ้างดังกล่าว อาจขัดหรือแย้งกับสิทธิที่รัฐธรรมนูญไทยหลายๆ ฉบับที่รับรองไว้ นั่นคือ สิทธิในการสันนิษฐานว่า คดีอาญาใดๆ ที่ศาลยังไม่มีคำตัดสินถึงที่สุด ให้ถือว่าผู้นั้นยังไม่มีความผิด หรือภาษาพูดคือ ‘ยังบริสุทธิ์’ อย่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 29 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ว่า “..ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้..” ดังนั้น ในอนาคตหาเจอผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะสวมชุดสูท ชุดสีเขียว หรือชุดสีกากี กล่าวอ้างว่า ใครก็ตาม ‘ทำผิดกฎหมาย’ ให้ถามย้อนกลับไปว่า ศาลตัดสินหรือยัง? คดีถึงที่สุดแล้วหรือ? เพราะหากท้ายที่สุดแล้ว ผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น อัยการไม่สั่งฟ้องหรือศาลตัดสินยกฟ้อง ซึ่งแปลง่ายๆ ว่า ไม่มีความผิด คนที่ไปพูดย้ำๆ ว่า เขา ‘ทำผิดกฎหมาย’ จะรับผิดชอบอย่างไร ถ้าจะใช้คำที่เป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้อง ควรจะเลี่ยงไปว่า […]

เราต้องร่างรัฐธรรมนูญให้ไกลกว่าฉบับปี 40 คุยกับ อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ

https://www.youtube.com/watch?v=iu__z5d-gqA “การร่างรัฐธรรมนูญครั้งใหม่นี้ จะต้องไปให้ไกลกว่ารัฐธรรมนูญปี 40 เราต้องร่างให้ก้าวหน้า และปิดจุดอ่อนที่ปี 40 เคยมี แต่อะไรที่เป็นข้อดี เราเอากลับมาใช้ได้” นอกจากรัฐธรรมนูญจะเป็นกฎหมายสูงสุดที่ปกครองประเทศแล้ว มันยังสะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างประชาชนและองค์กรทางการเมืองต่างๆ ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นว่าประเด็นดังกล่าว กลายเป็นเรื่องที่ร้อนแรง ทั้งในและนอกสภา The MATTER คุยกับ อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงปัญหาในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทิศทางและโมเดลที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ไล่เรียงไปจนถึงรัฐธรรมอีกฉบับที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของสังคมไทย และส่งผลถึงความสัมพันธ์ของการเมืองไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution

ห้ามผู้เป็น ‘นายกรัฐมนตรี’ อยู่ในตำแหน่งรวมเกิน 8 ปี (แต่..)

เพราะอยู่ในยุคไม่ปกติ เนติบริกรมีเต็มบ้านเต็มเมือง เวลาพูดถึงกฎหมายน่าสนใจ จึงต้องมีคำว่า “แต่..” ต่อท้ายเสมอ โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงกฎหมายสูงสุดอย่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดวาระดำรตำแหน่งของหัวหน้าฝ่ายบริหารอย่าง ‘นายกรัฐมนตรี’ ไว้แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ อย่างน่าสนใจ เพราะนอกเหนือบทบัญญัติทั่วๆ ไป เรื่องวาระดำรงตำแหน่งสมัยละไม่เกิน 4 ปี ในมาตรา 158 วรรคสี่ ยังเขียนถึง ‘ระยะเวลาสูงสุดในการดำรงตำแหน่ง’ นายกฯ เอาไว้ว่า “..นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดํารงตําแหน่งติดต่อกันหรือไม่..” ซึ่งบทบัญญัตินี้ต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่ไม่กำหนดระยะเวลาสูงสุดในการดำรงตำแหน่ง หรือรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่แม้กำหนดระยะเวลาสูงสุดในการดำรงตำแหน่งไว้ 8 ปีเช่นกัน แต่ต้องเป็นการดำรงตำแหน่ง ‘ติดต่อกัน’ พอเนื้อหากฎหมายเป็นเช่นนี้ ก็เลยนำมาสู่คำถามว่า แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกฯ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2557 แปลว่าจะเป็นนายกฯ ได้แค่จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2565 ใช่หรือไม่? […]

ก่อนออก กม.ใดๆ รัฐต้องเปิดรับฟังความเห็น และวิเคราะห์ผลกระทบของ กม.

แม้จะมีจุดบกพร่องอยู่มาก แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็มีส่วนที่ก้าวหน้าอยู่บ้าง อาทิ มาตรา 77 ที่กำหนดให้รับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องและจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบก่อนที่จะมีการออกกฎหมายใดๆ ออกมาใช้บังคับ ซึ่งการกำหนดให้ต้องทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบก่อนออกกฎหมายใดๆ หรือ RIA – Regulatory Impacts Assessment ถือเป็นหลักการใหม่ที่มีขึ้นมา เพราะปัจจุบัน ไทยมีกฎหมายมากกว่า 1 แสนฉบับ ถือว่ามากเกินความจำเป็น และส่งผลกระทบต่อประชาชน แต่ก็เช่นเคย แม้หลักการและกฎหมายจะมีเนื้อหาที่ดี แต่เมื่อถึงขั้นตอนปฏิบัติกลับเจอช่องโหว่ให้ต้องปรับปรุงกันไป โดยในวิธีการรับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 77 ที่ประชุม ครม. ในยุครัฐบาล คสช. กำหนดไว้ว่า การนำร่างกฎหมายขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์หน่วยงาน หรือเว็บไซต์ www.lawamendment.go.th เป็นเวลา 15 วัน ก็ถือว่าเป็นการ ‘รับฟังความคิดเห็น’ แล้ว ร่างกฎหมายบางฉบับ เราจึงได้เห็นคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเพียงหลักหน่วยเท่านั้น ซึ่งก็ชวนตั้งคำถามว่า การรับฟังความเห็นด้วยวิธีการเช่นนี้ ทำให้เราได้ ‘ความเห็นของประชาชน’ จริงๆ หรือแค่ ‘ทำไปตามขั้นตอน’ เป็นพิธีกรรมเท่านั้น   […]

ที่ผ่านมา รัฐบาลพลเรือนทั้งหลายเกรงใจที่จะลดขนาดกองทัพ เพราะกลัวการรัฐประหาร ผมเลยคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมีเรื่อง ‘ปฏิรูปกองทัพ’ เพื่อป้องกันทหารเข้ามาแทรกแซง

การปฏิรูปกองทัพ เป็นหนึ่งในประเด็นที่หลายคนพูดถึง ในหัวข้อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเมื่อเร็วๆ มานี้ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ.ที่เพิ่งเกษียณอายุไป ก็เคยให้คำมั่นสัญญาณว่าจะปฏิรูปกองทัพในหลายเรื่อง The MATTER ได้ไปพูดคุยกับ ซูกริฟฟี ลาเตะ ประธานสหพันธ์นักเรียน นิสิต นักศึกษา และเยาวชนปาตานี (PerMAS) เพื่อสอบถามในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ “รัฐธรรมนูญ 60 มีที่มาจากคณะรัฐประหาร และตัวเนื้อหาเองก็มีปัญหา อย่างการมี ส.ว. 250 ที่สามารถโหวตนายกได้ แล้วก็มาจากการแต่งตั้ง โดยที่ความจริงแล้ว ที่มาของ ส.ว.ต้องสัมพันธ์กับอำนาจที่มี การมี ส.ว.แต่งตั้ง ที่มีอำนาจในการเลือกนายกจึงเป็นปัญหา เพราะจะทำให้เจตจำนงของประชาชนเปลี่ยนไปได้” “แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็แก้ยาก ด้วยกลไกที่สลับซับซ้อน ต้องให้ ส.ว. เห็นชอบ ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นด้วย มันก็เลยซับซ้อนมาก เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย นี่คือปัญหาหลักๆ ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้” ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญ 60 ยังส่งผลกับเรื่องที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยซูกริฟฟี กล่าวว่า “ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องคุยเรื่องของการปฏิรูปสถาบันทหาร […]

เปิดไทม์ไลน์ ส.ส.ร. และกระบวนการในสภา หลังข้อเสนอตั้ง กมธ. ‘เพื่อศึกษาเพิ่มเติมอีก 1 เดือน’ จากพรรคฝ่ายรัฐบาล

ภายหลังที่ ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. จากพรรคพลังประชารัฐเสนอญัติ ให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ และมือของสมาชิกสภาทั้งหมด 431 ข้างยกรับ ส่งผลเอกฉันท์ให้เลื่อนเวลาการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปอีก 1 เดือน ไม่ว่าลูกไม้นี้ของพรรครัฐบาลจะเป็นกลเม็ดเด็กเล่นขายของ หรือดึงเชิงเตรียมทำการใหญ่ แต่ก็มีผลเพียงพอสั่นสะเทือนทั้งในและนอกสภา  ฝ่ายค้านตบเท้าวอร์คเอาท์ ไม่ขอลงไปคลุกโมงเล่นเกมนี้ด้วย ขณะที่ บรรยากาศนอกสภาเขม่นตึง แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม อานนท์ นำภา ประกาศชุมนุมต่อเนื่อง ให้การสืบทอดอำนาจจบสิ้นภายในเดือนตุลาคม  อย่างไรก็ดี ความหวังในการแก้รัฐธรรมนูญในสภายังไม่หมดไป และต้องมาลุ้นกันอีกในเดือนข้างหน้า The MATTER จึงขอชวนเปิดไทม์ไลน์ ความเป็นไปได้นับจากนี้ไปของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มจากการตั้ง กมธ. ศึกษาเพิ่มเติม จนถึงข้อเสนอจัดตั้ง ส.ส.ร. จากร่างทุกฉบับ ขั้นตอนในสภา รัฐสภาจัดตั้ง กมธ. ศึกษาเพิ่มเติมร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 1 เดือน ก่อนเข้าสู่วาระที่ 1 ของสภา วาระแรก รับหลักการ ต้องได้เสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา และต้องมีเสียง ส.ว. 1 ใน 3 หรือ เสียงสภา […]

รัฐบาลต้องชี้แจงแหล่งที่มารายได้สำหรับการดำเนินนโยบาย (แต่..)

สิ่งที่เขียนไว้ในกระดาษ คำโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ เมื่อถึงเวลานำไปปฏิบัติจริง อาจไม่เป็นไปตามนั้น หนึ่งในตัวอย่างก็คือเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 ที่ว่าด้วยกลไกกำกับความโปร่งใส ความเป็นไปได้จริง และการปฏิบัติตาม ‘คำสัญญา’ ที่ได้หาเสียงไว้ – ที่เราเรียกกันว่า ‘นโยบาย’ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 162 กำหนดไว้ว่า ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา นอกจากเนื้อหาในนโยบายนั้นจะต้องสอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายของรัฐ และยุทธศาสตร์แล้ว ยังต้อง “..ชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนํามาใช้จ่ายในการดําเนินนโยบาย..” อ่านเนื้อหามาตรานี้ หลายๆ คนคงวาดฝันว่า จะมีการบอกว่า นโยบายต่างๆ จะใช้งบเท่าใด ให้ข้อมูลเป็นตัวเลขอย่างชัดเจน และจะนำเงินมาจากแหล่งไหน แหล่งละเท่าใด ให้รายละเอียดไว้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งเพื่อแสดงความโปร่งใส และให้ประชาชนเข้ามาช่วยกันสอดส่องดูแลตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อปี 2562 จำนวน 37 หน้า กลับไม่พูดถึงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะใช้ในการดำเนินนโยบายเลย มีเพียงการแตะเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรืออาจใช้จ่ายจากแหล่งเงินนอกงบประมาณ เช่น เงินกู้หรือให้เอกชนร่วมทุน ซึ่งก็ยังสงสัยกันอยู่ว่า เป็นการปฏิบัติตามมาตรา 162 หรือไม่? – […]

ขอ 50,000 ชื่อ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. ให้เป็นฉบับของเราเอง!

https://youtu.be/LuxVx5grSjc หากเปรียบ ‘รัฐธรรมนูญ’ กับ ‘บ้าน’ เราก็อยู่ในบ้านที่มี ‘คนอื่นสร้าง’ มาหลายปี ผลคืออยู่ไม่สบาย น้ำรั่ว อึดอัด มีแต่ปัญหา – เพราะคนออกแบบไปคิดแทน ไม่ถามความต้องการผู้อาศัยอย่างเพียงพอ ..เมื่อถึงจุดหนึ่งจึงต้องแก้ไข รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ถูกเขียนขึ้นโดยคนที่ คสช.ตั้งขึ้นมา ตอนประชามติก็ปิดกั้นและดำเนินคดีคนเห็นต่าง ถึงปัจจุบันสารพัดปัญหาก็ผุดขึ้นมามากมาย (โดยเฉพาะ ส.ว.แต่งตั้ง) จนทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าต้องแก้แล้ว – แต่เราจะทำได้แค่รอให้ ส.ส. ส.ว. ลงมือแก้เท่านั้นเหรอ? คำตอบคือไม่! เพราะประชาชนเองก็มีส่วนร่วมในการรื้อบ้านเจ้าปัญหานี้ได้ iLaw ประกาศแคมเปญรวม 50,000 รายชื่อ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผลคือมีคนมาร่วมลงชื่ออย่างไม่ขาดสาย หากใครที่อยากมีส่วนร่วมในการผลักดันรัฐธรรมนูญให้เป็น ‘ฉบับของเรา’ จริงๆ ไปร่วมลงชื่อกันได้ที่: https://50000con.ilaw.or.th/ ได้เล้ย #ilaw #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

‘สภาเดี่ยว’ ยุบ ส.ว. ให้เหลือแค่ ส.ส. : ข้อเสนอแก้รัฐธรรมนูญของ ไอติม-พริษฐ์

https://youtu.be/PAKCEkCtJKo “ถ้าจะบอกว่ามีสถานที่หนึ่งที่รวมความไม่ชอบธรรมทุกแบบของการเมืองไทยในปัจจุบัน สถานที่นั้นก็คือวุฒิสภา” ด้วยสารพัดปัญหาที่รวมศูนย์อยู่ที่ ส.ว.แต่งตั้งชุดปัจจุบัน ทั้งเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และที่มาไม่ยึดโยงกับประชาชน แต่กลับมีอำนาจถึงขนาดเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส.ได้ ไอติม-พริษฐ์ วัชรสิทธุ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซีอีโอของ StartDee แอพการศึกษา จึงเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ปรับโครงสร้างการเมืองไทย ไม่ใช่แค่ปิดสวิตซ์ ส.ว. ไม่ให้ร่วมเลือกนายกฯ ได้ แต่ให้ยุบ ส.ว.ทิ้งไปเลย เป็น ‘สภาเดี่ยว’ ..ทำไม?   #สภาเดี่ยว #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER

การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คือทางออกของประเทศ

https://youtu.be/H2RqZlC5sEY “การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นทางออกของประเทศ และการมี ส.ส.ร. มันเป็นโอกาสในการที่จะมีพื้นที่ทางการเมือง ที่ไม่ต้องเสียเลือด เสียเนื้อ และจะสามารถพูดคุยกันได้อย่างมีวุฒิภาวะ เราต้องยอมรับว่า ในอดีตที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญวันนี้ เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ใช่ของประชาชนทั้งหมด” ท่ามกลางกระแสการแก้รัฐธรรมนูญ ก็มีการเสนอร่าง-ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มากมาย แตกต่างกัน ไม่ว่าจะของฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล หรือของภาคประชาชน ที่มีรายละเอียด มีเนื้อหาญัตติที่แตกต่างกัน  พรรคก้าวไกล ก็เป็นหนึ่งพรรคการเมืองที่มองว่า ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อจะเป็นทางออกของประเทศ เราจึงชวน ‘ทิม – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคมาพูดคุยกันถึงจุดยืนการแก้รัฐธรรมนูญของพรรค และรัฐธรรมนูญในฝันที่เขาอยากเห็นกัน #ก้าวไกล #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER