ผู้มีอำนาจบางคนมักท่องคาถาว่า ตัวเองนั้น ‘ทำตามกฎหมาย’ ส่วนคนอื่นๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายบางอย่าง นั้นเป็นพวก ‘ทำผิดกฎหมาย’ ไม่ว่าจะในช่วงเวลาปกติ หรือในช่วงเวลาที่ใช้กฎหมายพิเศษอย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งๆ ที่การกล่าวอ้างดังกล่าว อาจขัดหรือแย้งกับสิทธิที่รัฐธรรมนูญไทยหลายๆ ฉบับที่รับรองไว้ นั่นคือ สิทธิในการสันนิษฐานว่า คดีอาญาใดๆ ที่ศาลยังไม่มีคำตัดสินถึงที่สุด ให้ถือว่าผู้นั้นยังไม่มีความผิด หรือภาษาพูดคือ ‘ยังบริสุทธิ์’ อย่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 29 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ว่า “..ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้..” ดังนั้น ในอนาคตหาเจอผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะสวมชุดสูท ชุดสีเขียว หรือชุดสีกากี กล่าวอ้างว่า ใครก็ตาม ‘ทำผิดกฎหมาย’ ให้ถามย้อนกลับไปว่า ศาลตัดสินหรือยัง? คดีถึงที่สุดแล้วหรือ? เพราะหากท้ายที่สุดแล้ว ผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น อัยการไม่สั่งฟ้องหรือศาลตัดสินยกฟ้อง ซึ่งแปลง่ายๆ ว่า ไม่มีความผิด คนที่ไปพูดย้ำๆ ว่า เขา ‘ทำผิดกฎหมาย’ จะรับผิดชอบอย่างไร ถ้าจะใช้คำที่เป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้อง ควรจะเลี่ยงไปว่า […]
Tag: fun fact
ห้ามผู้เป็น ‘นายกรัฐมนตรี’ อยู่ในตำแหน่งรวมเกิน 8 ปี (แต่..)
เพราะอยู่ในยุคไม่ปกติ เนติบริกรมีเต็มบ้านเต็มเมือง เวลาพูดถึงกฎหมายน่าสนใจ จึงต้องมีคำว่า “แต่..” ต่อท้ายเสมอ โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงกฎหมายสูงสุดอย่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดวาระดำรตำแหน่งของหัวหน้าฝ่ายบริหารอย่าง ‘นายกรัฐมนตรี’ ไว้แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ อย่างน่าสนใจ เพราะนอกเหนือบทบัญญัติทั่วๆ ไป เรื่องวาระดำรงตำแหน่งสมัยละไม่เกิน 4 ปี ในมาตรา 158 วรรคสี่ ยังเขียนถึง ‘ระยะเวลาสูงสุดในการดำรงตำแหน่ง’ นายกฯ เอาไว้ว่า “..นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดํารงตําแหน่งติดต่อกันหรือไม่..” ซึ่งบทบัญญัตินี้ต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่ไม่กำหนดระยะเวลาสูงสุดในการดำรงตำแหน่ง หรือรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่แม้กำหนดระยะเวลาสูงสุดในการดำรงตำแหน่งไว้ 8 ปีเช่นกัน แต่ต้องเป็นการดำรงตำแหน่ง ‘ติดต่อกัน’ พอเนื้อหากฎหมายเป็นเช่นนี้ ก็เลยนำมาสู่คำถามว่า แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกฯ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2557 แปลว่าจะเป็นนายกฯ ได้แค่จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2565 ใช่หรือไม่? […]
ก่อนออก กม.ใดๆ รัฐต้องเปิดรับฟังความเห็น และวิเคราะห์ผลกระทบของ กม.
แม้จะมีจุดบกพร่องอยู่มาก แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็มีส่วนที่ก้าวหน้าอยู่บ้าง อาทิ มาตรา 77 ที่กำหนดให้รับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องและจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบก่อนที่จะมีการออกกฎหมายใดๆ ออกมาใช้บังคับ ซึ่งการกำหนดให้ต้องทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบก่อนออกกฎหมายใดๆ หรือ RIA – Regulatory Impacts Assessment ถือเป็นหลักการใหม่ที่มีขึ้นมา เพราะปัจจุบัน ไทยมีกฎหมายมากกว่า 1 แสนฉบับ ถือว่ามากเกินความจำเป็น และส่งผลกระทบต่อประชาชน แต่ก็เช่นเคย แม้หลักการและกฎหมายจะมีเนื้อหาที่ดี แต่เมื่อถึงขั้นตอนปฏิบัติกลับเจอช่องโหว่ให้ต้องปรับปรุงกันไป โดยในวิธีการรับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 77 ที่ประชุม ครม. ในยุครัฐบาล คสช. กำหนดไว้ว่า การนำร่างกฎหมายขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์หน่วยงาน หรือเว็บไซต์ www.lawamendment.go.th เป็นเวลา 15 วัน ก็ถือว่าเป็นการ ‘รับฟังความคิดเห็น’ แล้ว ร่างกฎหมายบางฉบับ เราจึงได้เห็นคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเพียงหลักหน่วยเท่านั้น ซึ่งก็ชวนตั้งคำถามว่า การรับฟังความเห็นด้วยวิธีการเช่นนี้ ทำให้เราได้ ‘ความเห็นของประชาชน’ จริงๆ หรือแค่ ‘ทำไปตามขั้นตอน’ เป็นพิธีกรรมเท่านั้น […]
รัฐบาลต้องชี้แจงแหล่งที่มารายได้สำหรับการดำเนินนโยบาย (แต่..)
สิ่งที่เขียนไว้ในกระดาษ คำโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ เมื่อถึงเวลานำไปปฏิบัติจริง อาจไม่เป็นไปตามนั้น หนึ่งในตัวอย่างก็คือเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 ที่ว่าด้วยกลไกกำกับความโปร่งใส ความเป็นไปได้จริง และการปฏิบัติตาม ‘คำสัญญา’ ที่ได้หาเสียงไว้ – ที่เราเรียกกันว่า ‘นโยบาย’ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 162 กำหนดไว้ว่า ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา นอกจากเนื้อหาในนโยบายนั้นจะต้องสอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายของรัฐ และยุทธศาสตร์แล้ว ยังต้อง “..ชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนํามาใช้จ่ายในการดําเนินนโยบาย..” อ่านเนื้อหามาตรานี้ หลายๆ คนคงวาดฝันว่า จะมีการบอกว่า นโยบายต่างๆ จะใช้งบเท่าใด ให้ข้อมูลเป็นตัวเลขอย่างชัดเจน และจะนำเงินมาจากแหล่งไหน แหล่งละเท่าใด ให้รายละเอียดไว้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งเพื่อแสดงความโปร่งใส และให้ประชาชนเข้ามาช่วยกันสอดส่องดูแลตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อปี 2562 จำนวน 37 หน้า กลับไม่พูดถึงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะใช้ในการดำเนินนโยบายเลย มีเพียงการแตะเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรืออาจใช้จ่ายจากแหล่งเงินนอกงบประมาณ เช่น เงินกู้หรือให้เอกชนร่วมทุน ซึ่งก็ยังสงสัยกันอยู่ว่า เป็นการปฏิบัติตามมาตรา 162 หรือไม่? – […]
จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ส.ว.เกิน 1/3 ต้องเอาด้วย
นี่คือ ‘เงื่อนตาย’ ที่จะชี้ขาดการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ใช่แค่ ‘จะแก้สำเร็จหรือไม่’ แต่เป็นว่า ‘จะเริ่มแก้ได้หรือเปล่า’ ซะด้วยซ้ำ! ร่างรัฐธรรมนูญฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) หรือบางคนเรียกว่า ‘ฉบับมีชัย’ ตามชื่อของมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ซึ่ง คสช.ตั้งขึ้นมาให้จัดทำกฎหมายสูงสุดของประเทศฉบับนี้ (แต่ตัวมีชัยเรียกว่า ฉบับปราบโกง) ถูกวิจารณ์ไว้แต่ต้นว่าเขียนกติกาให้แก้ไขได้ยากมาก..จนแทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะใช้สูตรไหน-โมเดลใดก็ตาม จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ซึ่งกำหนดไว้ว่า การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระแรก นอกจากต้องได้เสียง ส.ส.และ ส.ว.เกินกึ่งหนึ่งของทั้งหมดแล้ว (ปัจจุบันมี ส.ส. 489 คน และ ส.ว. 250 คน เกินกึ่งหนึ่งคือ 370 คนขึ้นไป) ในจำนวนนั้นจะต้องมีเสียง ส.ว. 1/3 ของทั้งหมดขึ้นไป (84 คนขึ้นไป) ขณะที่ในวาระที่สาม ไม่เพียงต้องการเสียง ส.ส.และ ส.ว.เกินกึ่งหนึ่ง โดย […]
บัตรเลือกตั้ง ส.ส.ใบเดียว มีผลทำให้รัฐบาลอ่อนแอ
รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งถูกมองว่าเป็นฉบับที่ดีที่สุด วางแนวคิดในการออกแบบโครงสร้างการเมือง โดยเฉพาะระบบการเลือกตั้ง ส.ส. (ให้มีบัตร 2 ใบ เลือก ส.ส.เขต 400 คน กับ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน โดยกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำพรรคที่จะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ คือได้คะแนน 5% ขึ้นไป) มุ่งให้เกิดรัฐบาลที่เข้มแข็ง เพื่อแก้ไขปัญหารัฐบาลผสมที่อ่อนแอในอดีต จะได้เดินหน้าผลักดันนโยบายหรือทำภารกิจต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องวุ่นวายกับเรื่องราวความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาล แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับถูกเขียนขึ้่นโดยใช้แนวคิดที่สวนทางกัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง กลับมาใช้บัตรใบเดียว และใช้วิธีคิดคะแนนแบบจัดสรรปันส่วนผสม (mixed member apportionment system หรือ MMA) ด้วยข้ออ้างว่า “เพื่อป้องกันเสียงตกน้ำ” ทว่าระบบการคิดคะแนนแบบ MMA อันซับซ้อน นำคะแนนเลือก ส.ส.เขต 350 คน ไปหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน ทำให้การเลือกตั้ง เมื่อวันที่ […]
รธน.นี้บัญญัติว่า ให้รัฐส่งเสริม ‘ศาสนาพุทธเถรวาท’ ถือเป็นครั้งแรกที่เขียนไว้เช่นนี้
ศาสนาถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเสมอ ในว่าจะในสังคมใด ที่ผ่านมาแม้มีชาวพุทธบางกลุ่มพยายามกดดันให้รัฐธรรมนูญหลายๆ ฉบับ บัญญัติไว้ว่า ‘ให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ’ แต่ผู้เกี่ยวข้องก็ไม่ทำตาม ด้วยคำนึงความละเอียดอ่อนที่ว่า ในช่วงของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็มีเสียงเรียกร้อดังกล่าวเกิดขึ้นอีกครั้ง แต่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ปฏิเสธ โดยเขียนไว้ในมาตรา 67 ว่า “รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น” ซึ่งคล้ายกับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และฉบับปี 2550 ที่ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร แต่ กรธ.กลับเพิ่มข้อความไปในมาตรา 67 วรรคถัดไป ว่า “ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านานรัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญาและต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใดและพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย” ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการเขียนไว้ลักษณะนี้ ผลจากการเขียนโดยให้น้ำหนักกับบางศาสนาบางนิกายเป็นพิเศษ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ในการลงประชามติ เมื่อปี 2559 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนลงมติ ‘โหวตโน’ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทั้ง จ.นราธิวาส ไม่เห็นชอบ 61.84% จ.ยะลา ไม่เห็นชอบ 59.54% และ จ.ปัตตานี ไม่เห็นชอบ 65.14% อุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. ชี้แจงว่า ตามเจตนาของร่างรัฐธรรมนูญแม้จะเขียนให้ทำนุบำรุงศาสนาพุทธนิกายเถรวาทที่เป็นศาสนาที่คนไทยนับถือมากที่สุด […]
มีผู้ถูกจับกุมเพราะเห็นต่าง ในช่วงประชามติรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 203 คน
ผู้สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มักอ้าง คะแนนเสียง ‘รับร่างรัฐธรรมนูญ’ จากการทำประชามติเมื่อปี 2559 กว่า 16.8 ล้านเสียง แต่มักละเลยที่จะพูดถึงบรรยากาศหรือสถานการณ์ในช่วงก่อนหน้าการจัดทำประชามติว่า ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารมากน้อยแค่ไหน โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw เคยรวบรวมสถิติคดีความที่เกี่ยวข้องกับทำประชามติดังกล่าว พบว่ามีประชาชนอย่างน้อย 203 คน ถูกจับกุมดำเนินคดี ทั้งอ้าง พ.ร.บ.ประชามติ (43 คน) หรืออ้างคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 (160 คน) จากกรณีที่พวกเขาออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ หรือเห็นแย้งจากข้อมูลของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ, แจกเอกสารให้ความรู้และคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ, ตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติ, เสวนาให้ความรู้ร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ แม้เราไม่อาจมีทางรู้ได้เลยว่า หากเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นกันเต็มที่ ผลของประชามติจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ นี่คือ ‘ตราบาป’ ในการทำประชามติดังกล่าว ที่จะถูกหยิบมาเป็นบทเรียนสำหรับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญครั้งต่อๆ ไปว่า อย่าทำให้กลับมาเกิดซ้ำอีก แล้วผลของมันจะได้รับการยอมรับมากกว่านี้ อ้างอิงจาก https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10159197642995551/ #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER
‘ผู้ยากไร้’ กับบริการสุขภาพ หนึ่งในดีเบตเกี่ยวกับ รธน.นี้
‘โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า’ ซึ่งเคยใช้ชื่อว่า 30 บาทรักษาทุกโรค และต่อมาเปลี่ยนเป็น ‘บัตรทอง’ ถูกผู้มีอำนาจในรัฐบาล คสช. โดยเฉพาะตัว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา วิจารณ์อยู่หลายครั้งว่า ใช้งบประมาณค่อนข้างมาก กระทั่งมีผู้เสนอแนวคิดให้ผู้ป่วยร่วมจ่าย หรือ co-payment นำมาสู่เสียงต่อต้านอย่างกว้างขวาง เพราะมองว่าจะไปกีดกันคนจำนวนมากให้ ‘เข้าไม่ถึง’ บริการทางสาธารณสุข ผู้เกี่ยวข้องจึงยังไม่กล้าเปลี่ยนแปลงอะไร เมื่อรัฐธรรมนูญไปเขียนไว้ในมาตรา 47 วรรคสองว่า “บุคคล #ผู้ยากไร้ ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ” หลายๆ ฝ่าย จึงตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดจึงไปกำหนดว่าเฉพาะ ‘ผู้ยากไร้’ ไม่ใช่ ‘คนทั่วไป’ ทุกๆ คน ? เนื้อหากฎหมายเช่นนี้จะกระทบกับบัตรทองหรือไม่ ซึ่งเป็นบริการสาธารณสุขขั้นพื้นที่ ที่มีผู้รับบริการ 48 ล้านคน หรือไม่ (ประกันสังคม 10 ล้านคน สวัสดิการข้าราชการ 5 ล้านคน) หรือไม่ ? คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จึงต้องเรียงหน้าออกมาชี้แจงว่า เนื้อหาของรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว จะไม่ไปกระทบกับโครงการบัตรทอง แถมยังมีเนื้อหาในมาตรา […]
กำหนดให้ ได้ ‘เรียนฟรี’ เป็นเวลา 12 ปี ..คือได้เรียนฟรีถึงระดับชั้นไหน?
แม้หลายคนจะแซวๆ หรือวิจารณ์นโยบาย ‘เรียนฟรี’ ว่าไม่ฟรีจริง ยังมีการเก็บค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ เต็มไปหมด ทว่า นโยบายนี้ก็ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองได้บางส่วน รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 54 วรรคแรก เขียนเกี่ยวกับการ ‘เรียนฟรี’ ไว้ว่า “รัฐต้องดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” ข้อความที่ถูกจับตา คือการเรียนฟรีในรัฐธรรมนูญนี้ที่กำหนดไว้ว่า #เป็นเวลาสิบสองปี ต่างกับฉบับปี 2550 และฉบับปี 2540 ที่เขียนไว้า #ไม่น้อยกว่าสิบสองปี จะเห็นได้ว่าใช้ถ้อยคำที่ต่างกัน มีคำอธิบายจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่า ถ้าดูเนื้อหามาตรา 54 วรรคแรก ดีๆ จะพบว่า เขียนให้ครอบคลุมการเรียนฟรี ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจนถึง ม.ต้น โดยตัด ม.ปลายออกไป เพราะความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่เด็กๆ แล้ว จึงควรสนับสนุนทุกๆ คนให้เท่ากันตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนใครที่อยากเรียนต่อ ม.ปลาย ในมาตรา 54 วรรคหก ได้พูดถึงการจัดตั้ง ‘กองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา’ หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าประเด็นเรื่องการศึกษาน่าจะถูกหยิบยกมาพูดคุยกัน เพราะเป็นอีกเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ อ้างอิงจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF https://cdc.parliament.go.th/draftcons…/ewt_dl_link.php… #แก้ไขรัฐธรรมนูญ #รัฐธรรมนูญของเรา #ourconstitution #TheMATTER