เว็บไซต์ฐานข้อมูลด้านค่าครองชีพที่ใหญ่ที่สุดในโลก Numbeo เพิ่งเปิดตัวเลขค่าครองชีพของเมืองต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งสิ่งที่สื่อไทยหลายสำนักหยิบมารายงานก็คือ กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพเฉลี่ย ‘แพง’ เป็นลำดับที่สองในอาเซียน น้อยกว่าสิงคโปร์เพียงที่เดียว (ส่วนเชียงใหม่ ภูเก็ต และพัทยา ก็ติดท็อปเทนด้วย)
แต่นอกเหนือจากตัวเลขค่าครองชีพเฉลี่ยเดือนละ 2.1 หมื่นบาท ยังมีอะไรอีกไหม ..ที่บอกว่า การจะใช้ชีวิตในเมืองฟ้าอมรนี้มันแพงจริงๆ
เราเข้าไปค้นในฐานข้อมูลของ Numbeo ซึ่งอ้างว่า ข้อมูลเกี่ยวกับค่าครองชีพในกรุงเทพฯ นี้ได้มาจาก 456 แหล่งข้อมูล และข้อมูลที่นำมาเปิดเผยก็ค่อนข้างละเอียด เพราะมีทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องแต่งกาย การเดินทาง ร้านอาหาร กีฬา สาธารณูปโภค การดูแลเด็ก ที่อยู่อาศัย ฯลฯ
ซึ่งมีข้อมูลน่าสนใจดังนี้
รายได้เฉลี่ย (ต่อเดือน) 24,295 บาท
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย (ต่อเดือน) 21,007 บาท *แต่ตัวเลขนี้ยังไม่ร่วมค่าเช่าที่อยู่อาศัย
รายการค่าใช้จ่ายที่น่าสนใจ โดยทั้งหมดจะเป็นราคาเฉลี่ย
– ค่าอาหารชนิดไม่แพง (ต่อมื้อ) 80 บาท
– ค่าอาหารตามร้านอาหารทั่วไป (สำหรับรับประทาน 2 คน ต่อมื้อ) 850 บาท
– กาแฟคาปูชิโน่ (ต่อแก้ว) 77 บาท
– เบียร์ไทย (ต่อขวด ขนาด 500 มิลลิลิตร) 58 บาท
– เบียร์นอก (ต่อขวด ขนาด 330 มิลลิลิตร) 158 บาท
– บุหรี่ (มาร์ลโบโร่ 1 ซอง) 145 บาท
– แม็กโดนัลด์ (ต่อชุด) 190 บา
– กางเกงยีนส์ (ลีวาย 1 ตัว) 1,828 บาท
– เสื้อผ้าร้านเชนสโตร์ เช่น Zara H&M (1 ตัว) 1,121 บาท
– รองเท้าวิ่ง (ไนกี้ 1 คู่) 3,073 บาท
– ค่าสมาชิกฟิตเนส (ต่อเดือน) 2,253 บาท
– ค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะ (ต่อเที่ยว) 34 บาท
– ค่าเช่าอพาร์ตเมนต์นอกเมือง (ต่อเดือน) 10,319 บาท
– ค่าเช่าอพาร์ตเมนต์ในเมือง (ต่อเดือน) 21,233 บาท
– ค่าส่วนกลาง (อพาร์ตเมนต์ทั่วไป ขนาด 85 ตร.เมตร) 2,643 บาท
– ค่าใช้งานอินเทอร์เน็ต 774 บาท
– ค่าเทอม รร.อนุบาลไทย (ต่อเดือน) 10,096 บาท
– ค่าเทอม รร.ประถมนานาชาติ (ต่อปี) 415,267 บาท
ดูข้อมูลค่าครองชีพอื่นๆ ของกรุงเทพฯ (หรือจะเปรียบเทียบกับเมืองอื่นๆ ในไทย หรือต่างประเทศ) ได้ที่: https://www.numbeo.com/cost-of-living/in/Bangkok
#Brief #TheMATTER