เป็นที่รู้กันดีว่า การผลิตไวน์ที่ดี ต้องใส่ใจกับเรื่องอุณภูมิด้วย แต่รู้สึกไหมว่า ในภาวะที่โลกร้อนระอุ จนส่งผลให้อุณภูมิช่วงหน้าร้อนในทวีปยุโรปพุ่งสุงขึ้นเช่นนี้ รสชาติไวน์ที่หลายคนดื่มกันเป็นประจำเปลี่ยนไปบ้างหรือเปล่า?
นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ ร่วมกันศึกษาฤดูเก็บเกี่ยวองุ่น ย้อนหลังไปถึงปี 1354 พบว่า อุณภูมิที่สูงขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานี้ ทำให้ชาวสวนต้องเริ่มเก็บเกี่ยวองุ่นเร็วขึ้นจากช่วงเวลาปกติถึง 2 สัปดาห์ เพราะความร้อนของสภาพอากาศเร่งให้ผลไม้สุกไวขึ้น
อากาศที่ร้อนจัดนี้ ยังส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในองุ่นพุ่งสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่า ไวน์จะมีรสชาติเปลี่ยนไปจากเดิม และมีปริมาณแอลกอฮอล์สูงขึ้น จาก 12% เมื่อปี 1970 เป็น 14% ในปัจจุบัน นอกจากนี้ Christian Pfister ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเบิร์น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ผู้ศึกษาปัญหาโลกร้อน กล่าวว่า จากสภาพอากาศที่เคยร้อนจัดในอดีต ตอนนี้ กลับกลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว
.
อุณภูมิของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ เปลี่ยนสภาพพื้นที่ทางตอนใต้ของอังกฤษและเวลส์ จากที่เคยเป็นพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ให้กลายมาเป็นพื้นที่ที่มีอุณภูมิเหมาะสมกับการเก็บเกี่ยวองุ่นที่สุกเต็มที่ สร้างความเฟื้องฟูให้กับไร่องุ่นใหม่ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว
นอกจากภาวะโลกร้อนจะส่งผลต่อการปลูกองุ่นในยุโรปแล้ว ในประเทศไทยเอง ภาวะโลกร้อน ก็ทำให้เกิด ปรากฎการณ์ เอลนินโญ่ (ฝนแล้ง) สลับกับ ลานินญ่า (ฝนชุก) บ่อยครั้ง หากปีไหนอุณหภูมิสูงขึ้นและมีปริมาณฝนน้อยลง พื้นที่การผลิตและผลผลิตต่อไร่จะลดลงอย่างชัดเจน โดยพืชที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คือ ข้าวโพด อ้อย และข้าวนั่นเอง
อ้างอิง
https://www.nationalgeographic.com/science/2019/09/wine-harvest-dates-earlier-climate-change/
https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/633824
#Brief #TheMATTER