ในขณะที่โลกกับเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย ปัญหาโลกร้อนก็ยังคงเป็นสิ่งที่หลายคนต้องให้ความสำคัญเช่นกัน อย่างตอนนี้ ภูฏานอาจต้องเผชิญกับสึนามิจากท้องฟ้า เพราะโลกร้อนทำให้เกิดภาวะธารน้ำแข็งล้นบริเวณแนวเทือกเขาหิมาลัยละลาย
ภูเขาที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของภูฏาน ซึ่งมีธารน้ำแข็งโบราณ กำลังเผชิญกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ด้วยอุณภูมิของโลกที่สูงขึ้น ทำให้ทะเลสาบกว่า 5,000 แห่งบริเวณเทือกเขาหิมาลัย เกิดการเปลี่ยนแปลงไป เพราะที่ฝังอยู่ใต้น้ำแข็งกำลังเบาบางลง และทำให้เกิดปรากฎการณ์ธารน้ำแข็งล้น (Glacial Lake Outburst Floods: GLOFs) ซึ่งจะทำให้น้ำปริมาณมากไหลลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า
อีกทั้ง ธารน้ำแข็งหลายแห่งในภูฏานก็เริ่มละลายลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำในทะเลสาบโดยรอบให้มีปริมาณสูงขึ้น และอาจทำให้น้ำในทะเลสาบเหล่านี้ล้นทะลัก จนเกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ได้
ขณะที่ อุณหภูมิที่บันทึกไว้เมื่อปี พ.ศ 2562 ยังแสดงให้เห็นว่า ทะเลสาบธารน้ำแข็งในภูฏานหลายแห่งอยู่ในภาวะเสี่ยง เพราะต้องเผชิญกับการที่ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงขึ้น และฤดูหนาวไม่มีหิมะ ทำให้ธารน้ำแข็งในภูฏานละลายตัวลง อีกทั้ง ปริมาณน้ำฝนที่ตกมากขึ้นบนเทือกเขาหิมาลัยก็ส่งผลต่อการรองรับปริมาณน้ำ ของทะเลสาบของภูฏานเช่นกัน
“ด้วยภาวะโลกร้อน ทำให้ธารน้ำแข็งละลาย และแหล่งน้ำของเรากำลังเคลื่อนลงไปตามทางเร็วขึ้น เราเรียกปรากฏการ์นี้ว่า สึนามิจากท้องฟ้า ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา” คาร์มา ดรัปชู (Karma Drupchu) ผู้อำนวยการศูนย์อุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ (NCHM) กล่าว
นอกจากนี้ ดรัปชูยังกล่าวด้วยว่า มีชาวภูฏาณมากกว่า 70% ที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำ และถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ก็จะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง อาจทำให้เกิดอันตรายกับชีวิตผู้คนเป็นอย่างมาก รวมถึงสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศอีกด้วย
ขณะที่ โลเท เชอร์ริง (Lotay Tshering) กล่าวว่า ผลกระทบจากธารน้ำแข็งละลายนั้นสร้างผลกระทบทั้งทางกายภาพและทางจิตวิญญาณแก่ชาวภูฏานเป็นอย่างมาก เพราะชาวภูฏานเชื่อว่า ภูเขาน้ำแข็งและทะเลสาบนั้น เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องเคารพบูชา
อย่างไรก็ดี ตอนนี้ ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ติดลบ ทั้งยังมีการเคลื่อนไหวให้ผู้คนตระหนักเรื่องภาวะโลกร้อนเป็นอย่างหนัก รวมถึง การดำเนินมาตรการจากรัฐบาล เพื่อป้องกันผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยปฏิเสธการพัฒนาอุตสาหกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอีกด้วย
อ้างอิงจาก
https://thetrendingtimes.com/bhutan-glaciers-melt-at-a-fast-pace/5981/
https://www.trillions.biz/news/165020-Bhutan-at-Risk-from-Glacial-Lake-Outburst-Floods.html
#Brief #TheMATTER