เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม พันทิป ฯลฯ คือชื่อของโซเชียลมีเดียยอดนิยมที่คนไทยใช้ แต่ถามว่าคนชาติอื่นๆ เขาใช้แพล็ตฟอร์มเดียวกับเราไหม? – คำตอบมีทั้งใช่และไม่ใช่
‘ข้อมูล’ ที่อยู่บนโซเชียลมีเดียในปัจจุบันมีประโยชน์ในการเข้าใจพฤติกรรมของผู้คนในชาตินั้นๆ เอกชนหลายแห่งใช้ประโยชน์นี้ในการจัดหาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการ ส่วนภาครัฐก็ใช้ในการดูว่าประชาชนกำลังหัวร้อนหรืออยากได้เรื่องอะไร
แต่อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นว่า ต่างประเทศ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย และแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดียก็แตกต่างกัน ในยุคที่ทุนเคลื่อนไหวข้ามพรมแดนได้ (แม้ COVID-19 จะมาทำให้ทุกอย่างชะงักงันชั่วครู่ก็ตาม)
Wisesight ผู้ให้บริการ social listening ชั้นนำของไทย จึงใช้เวลาอยู่ 3 ปีในการไปติดต่อประสานงานสร้างเครือข่ายเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลและเข้าใจพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของคนชาติต่างๆ 21 ประเทศ ใน 20 ภาษา ทั่วเอเชีย-แปซิฟิก พร้อมกับเปิดให้บริการ CROSS-BORDER CONSUMER INSIGHTS RESEARCH เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของคนชาตินั้นๆ สำหรับภาคธุรกิจที่อยากเข้าไปลงทุน
– ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://wisesight.com/wisesight-regional-research/
พเนิน อัศววิภาส ผู้ร่วมก่อตั้ง Wisesight บอกว่า การสื่อสารยุคปัจจุบันมันไม่มี one size fits all ตัวข้อมูลมีประโยชน์หากใช้ได้อย่างถูกต้อง เราอยากพาธุรกิจไทยไปต่างประเทศให้ได้มากที่สุด
พเนินยกตัวอย่าง การรีเสิร์ชข้อมูลเมื่อพูดถึง ‘รองเท้า’ ใน 4 ชาติอาเซียน ขณะที่คนไทยสนใจเรื่องความสวยงามและราคา คนมาเลเซียและสิงคโปร์สนใจเรื่องน้ำหนักเบาและสวมใส่สบาย ขณะที่คนเวียดนามมองว่า นอกจากใส่สบายแล้วยังต้องเป็นของแท้ด้วย เมื่อผู้คนในชาติต่างๆ ให้น้ำหนักกับปัจจัยที่แตกต่างกัน keyword ที่จะใช้ในการสื่อสารจึงย่อมแตกต่างกันด้วย
เขายังยกตัวอย่าง ธุรกิจค้าปลีกที่ค้าขายกับคนจีน ซึ่งใช้โซเชียลมีเดียต่างจากส่วนอื่นๆ ในโลกอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่เฟซบุ๊ก กูเกิ้ล ทวิตเตอร์ ก็ต้องเข้าไปในแพล็ตฟอร์มที่คนจีนนิยมว่า สนใจสินค้าอะไรบ้าง เพื่อจะได้จัดหาสินค้าที่ชาวจีนต้องการ
รู้อะไรไม่สู้รู้ data รู้พฤติกรรมผู้บริโภคในชาติอื่นๆ สร้างโอกาสในการเข้าไปค้าขายลงทุน!
#Brief #TheMATTER