สถานการณ์ของวิกฤตโควิด-19 ในบ้านเราตอนนี้อาจจะดีขึ้น ผู้คนในสังคมส่วนใหญ่สามารถกลับมาใช้ชีวิต ประกอบอาชีพได้เหมือนแต่ก่อน แต่ก็ต้องยอมรับว่า ไม่มีทางกลับไปได้เหมือนเดิมแบบร้อยเปอร์เซ็นต์
เพราะปัญหาในเชิงโครงสร้างของสังคมยังคงอยู่ และสถานการณ์ยังเน้นย้ำให้เกิดบาดแผลความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหา ‘ช่องว่างทางดิจิทัล’ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนเปราะบางอย่างเด็กและผู้สูงอายุ รวมไปถึงผู้ประกอบการรายย่อยขนาดเล็ก ที่ต้องเผชิญกับวิกฤตอย่างหนักไม่เปลี่ยนแปลง
‘ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม’ คือแคมเปญดีแทคที่ต้องการส่งเสริมกลุ่มคนเปราะบางให้เข้าถึงโอกาสในการใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ ไปจนถึงความรู้เท่าทันในการใช้เทคโนโลยี เพื่อสะท้อนให้ทุกภาคส่วนในสังคมมองเห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและสนับสนุนให้ทุกคนปรับตัวให้ทันกับอัตราเร่งของโลกดิจิทัลทั่วโลก
กลุ่มเปราะบางที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
กลุ่มเปราะบางในสังคมไทย ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ประกอบการรายย่อย ต่างต้องประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำจากปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของการเข้าถึงเทคโนโลยี ในโลกที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยกระแสดิจิทัล ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง จนเกิดช่องว่างทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างเท่าเทียม สัญญานอินเทอร์เน็ตที่แรงพอต่อการใช้งาน อุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ ไปจนถึงความรู้เท่าทันในการใช้เทคโนโลยี
ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม
ดีแทคมีความเชื่อว่ากิจการโทรคมนาคมสามารถสนับสนุนความเท่าเทียมทางดิจิทัล (Digital Inclusion) ให้เกิดขึ้นจริงได้ แคมเปญ ‘ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม’ คือความมุ่งมั่นของดีแทค ที่ตั้งใจแก้ไขปัญหานี้ผ่าน 3 ภารกิจ คือ 1.สัญญาณเน็ตเพื่อทุกคน (Good For All Connectivity) 2.การเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม (Affordable and Accessible Services) 3.การเพิ่มทักษะดิจิทัล (Digital Upskilling) เพื่อฟื้นเศรษฐกิจพลิกชีวิตชุมชน สร้างทักษะดิจิทัลในเยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้มีรายได้น้อย ให้เกิดการพัฒนาอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน ส่วนแนวทางในการดำเนินภารกิจนั้นจะเป็นอย่างไร ลองไปถอดเบื้องหลังกัน
สัญญาณเน็ตเพื่อทุกคน (Good For All Connectivity)
อย่างที่ทราบกันว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ทำให้การเรียนการสอนในแบบเดิมต้องหยุดชะงัก เพราะต้องรักษาระยะห่างและลดการติดเชื้อ ข้อมูลจากมูลนิธิมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียระบุว่า มีนักเรียนไทยกว่า 15 ล้านคนในทุกระดับชั้นต้องหยุดเรียน เพราะโรงเรียนถูกสั่งปิดในช่วงการระบาด ตลอดปี 2563 – 2564 ที่ผ่านมา หลายฝ่ายอาจมองว่าเทคโนโลยีจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ ด้วยการเรียนออนไลน์ที่บ้านแทนได้ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงๆ กลับเป็นเรื่องการปรับตัวของเด็กที่ต้องประสบภาวะเครียดจากการเรียนผ่านหน้าจอ การไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับครูผู้สอน ที่ไม่สามารถทดแทนการเรียนแบบปกติในห้องเรียนได้เลย
สำคัญที่สุด คือการที่เด็กบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ตได้ จากข้อมูลสถิติแห่งชาติปี 2562 รายงานว่ายังมีเด็กมากถึง 14.7% หรือกว่า 2.4 ล้านคนที่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต ส่วนเด็กที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ก็สามารถเข้าถึงได้ผ่านสมาร์ทโฟนเท่านั้น สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจน ดีแทคจึงได้ทำภารกิจ สัญญาณเน็ตเพื่อทุกคน (Good For All Connectivity) สนับสนุนซิมพร้อมแพ็กเก็จเน็ตอันลิมิเต็ด ความเร็ว 4 Mbps จำนวน 2,000 ซิม แก่กลุ่มเด็กนักเรียนยากจนพิเศษ ของ กสศ. นำร่องในเขตกรุงเทพฯ สำหรับการเรียนออนไลน์เป็นการเร่งด่วน แม้ว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาของการศึกษาในเชิงโครงสร้างได้ แต่ก็ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมระยะยาว ให้การเรียนออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ พร้อมทั้งไม่ปิดกันโอกาสในการเรียนรู้ในโลกดิจิทัลที่เด็กๆ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน
การเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม (Affordable and Accessible Services)
ในปี 2565 หรือปีหน้าที่กำลังจะมาถึง ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่เข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ (Aged Society) หมายถึงประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีจะมีมากถึง 20% ของประชากรทั้งหมด หรือเรียกได้ว่าเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี หรือตามทันความเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลได้ เห็นได้อย่างชัดเจนจากการใช้สมาร์ทโฟน วัยอื่นอาจเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในทุกๆ ด้าน แต่สำหรับผู้สูงอายุกลับเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงได้ยากที่สุด ก่อนจะนำไปสู่การรู้ไม่เท่าทันเหล่ามิจฉาชีพออนไลน์ จนเกิดเป็นภัยไซเบอร์ที่ยากจะรับมือ ความเหลื่อมล้ำดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงวัยจึงแบ่งได้เป็น 2 มิติ ได้แก่ การเข้าถึง (Access) และการปรับใช้ (Adopt) ซึ่งประเทศไทยมีปัญหาในทั้งสองมิติเลยทีเดียว
ดีแทคให้ความสำคัญกับการติดอาวุธดิจิทัลให้ผู้สูงวัย ปฏิบัติภารกิจ การเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม (Affordability Service) จึงได้ริเริ่มโครงการ ‘ดีแทคเน็ตทำกิน’ ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ เพื่อมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาผู้สูงวัยในการสร้างเสริมทักษะและความรู้ในการค้าขายออนไลน์ การแสวงหาโอกาสในการทำธุรกิจดิจิทัล รวมทั้งการสร้าง Digital Literacy ให้ความรู้เพื่อรับมือกับภัยเสี่ยงบนโลกออนไลน์ให้กับผู้สูงวัยด้วย ส่วนด้านอื่นๆ อย่างเช่นการแพทย์ ดีแทคได้ตั้งทีมคอลเซ็นเตอร์ เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ผ่านแอปพลิเคชันของโรงพยาบาลรัฐบาล มากกว่า 8,000 ราย
การเพิ่มทักษะดิจิทัล (Digital Upskilling)
ไม่เพียงแค่กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุเท่านั้น ที่มีอุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีความเปราะบางสูง รวมทั้งผู้พิการ ชนกลุ่มน้อย ก็เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกัน จากการสำรวจ Thai Digital Generation 2021 ระบุว่า การเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลคือ หัวใจสำคัญของการปรับตัวในกลุ่มผู้ประกอบการทุกกลุ่ม โดยคนที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่าจะได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจทางลบน้อยกว่า หมายถึงเทคโนโลยีจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถหาช่องทางปรับตัวเพื่อสร้างผลกำไรได้มากกว่า ชัดเจนที่สุดในสถานการณ์โควิด การปรับตัวไปขายในช่องทางออนไลน์ สามารถทดแทนรายได้จากการขายหน้าร้านได้เป็นอย่างดี
ดีแทคได้เร่งนำโครงการ ‘ดีแทคเน็ตทำกิน’ ขยายการสอนไปยังผู้ประกอบการตัวเล็ก ให้เข้าถึงช่องทางขายออนไลน์เป็นครั้งแรก ตามภารกิจ การเพิ่มทักษะดิจิทัล (Digital Skills) ช่วยสร้างรายเพิ่มได้ให้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ สร้างทักษะใหม่ในการปรับตัว ท่ามกลางโลกธุรกิจที่การแข่งขันสูงให้อยู่รอดได้อย่างเข้มแข็ง
ทั้งหมดนี้คือเบื้องหลังแนวคิดของ 3 ภารกิจภายใต้แคมเปญ ‘ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม’ ที่ดีแทคพยายามลดช่องว่างทางดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนความเหลื่อมล้ำให้กลายเป็นความเท่าเทียม เพื่อให้ปัญหาเชิงโครงสร้างหมดไปจากสังคมไทย