หนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาแนะนำให้เรารู้จักกับ ‘กรุงธนบุรี’ ในฐานะราชธานีเล็กๆ ที่มีอายุเพียง 15 ปีก่อนการมาถึงของกรุงเทพมหานคร แต่นอกเหนือจากพระเจ้าตากสินและวัดอรุณฯ แล้ว ภายใต้โฉมหน้าความสงบเงียบ ธนบุรียังเต็มไปด้วยเรื่องราวอีกนับไม่ถ้วนที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน
หากมองมาจากศูนย์กลางของกรุงเทพฯ กรุงธนฯ ก็อาจเป็นย่านเก่าอันห่างไกลที่ไม่สลักสำคัญนักในความทรงจำ แต่หากย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีพื้นที่นี้เคยเป็นเมืองท่าสำคัญ แถมยังเต็มไปด้วยเรือกสวนไร่นาที่อุดมสมบูรณ์ จนในรับการขนานนามว่า “ทณบุรีศรีมหาสมุทร” เมืองเล็กๆ แห่งนี้ถูกพูดถึงน้อยมากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แทบไม่ปรากฏชื่อในแผนที่สมัยก่อนเลยก็ว่าได้ แต่ความทรัพย์ในดินสินในน้ำของพื้นที่นี้ก็เป็นที่เลื่องลือมาตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงไม่แปลกใจที่ฝรั่งเศสมาดหมายจะยึดธนบุรีให้ได้มาตั้งแต่ครั้งกระนู้น นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ไทยเชื่อกันว่าพระเจ้าตากสินฯ ทรงเลือกธนบุรีที่ล้อมรอบด้วยน้ำเป็นราชธานีแห่งใหม่ในภาวะที่บ้านเมืองยังระส่ำระสายหลังเสียกรุง เพราะพื้นที่เป็นเกาะเหมือนกรุงศรีอยุธยา ทั้งพร้อมด้วยป้อมปราการที่แข็งแรงกว่าที่อื่น ตั้งข้อสังเกตว่าจริงๆ แล้วธนบุรีไม่ได้เป็นเมืองอกแตกอย่างที่เราเคยเข้าใจ แต่ป้อมสองฟากที่ขนาบเมืองช่วยป้องกันได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีลำคลองซอกซอนมากมายให้ใช้งานเป็นทั้งเส้นทางต่อสู้ลำเลียงอาวุธและเสบียง หรือหากจวนตัวก็หลบหนีได้ไม่ยาก แถมติดต่อค้าขายกับต่างประเทศได้อย่างสะดวกอีกด้วย แต่แม้จะเป็นราชธานีอยู่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนจะย้ายศูนย์กลางการปกครองไปยังฝั่งพระนคร แต่นั่นก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ธนบุรียังคงความงดงามในแบบของตัวเองได้มาจนถึงทุกวันนี้
หลังจากมีการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าเชื่อมพระนครกับฝั่งธนบุรีเมื่อราว 86 ปีก่อน ก็ได้มีการตัดถนนขึ้นถึง 11 สายเพื่อให้การเดินทางในฝั่งธนบุรีสะดวกสบายยิ่งขึ้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงคิดตั้งชื่อถนนหนทางต่างๆ ขึ้นมาจากวีรกรรมทางประวัติศาสตร์ของพระเจ้าตากสิน และการทำสงครามปกป้องราชอาณาจักรอีกหลายครั้งหลายหน เช่น ถนนลาดหญ้า ก็มาจากชื่อตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งพระเจ้าตากสินฯ รบชนะกองทัพพม่า เมื่อ พ.ศ.2328 ถนนท่าดินแดง ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1 ก่อนขึ้นครองราชย์) ตีกองทัพพม่าแตกพ่ายที่ท่าดินแดง กาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.2329 และอีกหลายสายที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แต่ละยุคสมัยในการพัฒนาชาติบ้านเมืองไว้
จวบจนถึงปัจจุบันโครงข่ายถนนที่ตัดขึ้นในอดีตเหล่านี้ได้ถูกเชื่อมต่อกับการเดินทางรูปแบบใหม่ทั้งรถไฟฟ้า เรือคลองภาษีเจริญ ไปจนถึงถนนตัดใหม่ที่เชื่อมต่อกับถนนสายหลักที่เชื่อมต่อกับถนนวงแหวน และทางด่วนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว มุ่งตรงเข้าสู่ความพลุกพล่านใจกลางเมืองได้ภายในเวลาไม่กี่สิบนาที และกลับเข้าสู่ความแช่มช้าที่น่าชื่นใจในละแวกย่านเก่าแก่ได้แบบมีเวลาเหลือเฟือสำหรับการใช้ชีวิต
ย้อนไปเมื่อ 40 กว่าปีก่อนนี้ธนบุรีเคยยิ่งใหญ่ถึงขั้นเป็นจังหวัดธนบุรี ที่ปกครองตัวเองแยกขาดจากจังหวัดพระนคร แต่เมื่อ พ.ศ. 2514 ก็ได้มีการรวมเข้าด้วยกันเป็น ‘นครหลวงกรุงเทพธนบุรี’ และกลายมาเป็น‘กรุงเทพมหานคร’ อย่างในปัจจุบัน แต่ถึงแม้ประวัติศาสตร์กระแสหลักจะไม่ค่อยมีบทบาทของกรุงธนบุรีให้ได้ยินมากสักเท่าไหร่ แต่แต่ชาวฝั่งธนฯ ก็ผูกพันกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในละแวกบ้านตัวเองได้ไม่ยาก
แม้คำขวัญประจำเขตธนบุรีที่ว่า ‘เมืองอนุสาวรีย์พระเจ้าตาก หลากถิ่นท่องเที่ยวงามตา วัดกัลยาณ์หลวงพ่อโต วัดบุคคโลพระพักตร์งาม กราบไหว้เจ้าตากสินวัดอินทาราม ลือนามงามอาชีพศิลป์ไทย’ ฟังดูเหมือนจะมีแต่เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคพระเจ้าตากสินฯ และหลวงพ่อวัดดังอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน แต่แท้จริงแล้วฝั่งธนฯ ยังอัดแน่นไปด้วยธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ พื้นที่เกษตรกรรมกว่า 4,000 ไร่ พื้นที่วัฒนธรรมประเพณีที่เข้มข้นสืบต่อกันมายาวนาน ความมั่นคงทางอาหารที่ได้เปรียบจากการเชื่อมต่อกับจังหวัดทางภาคตะวันตกที่ลำเลียงพืชผักรสเยี่ยม ผลไม้พันธุ์ดีไปจนถึงอาหารทะเลสดใหม่ส่งเข้ามาเสิร์ฟให้ไม่ขาดมือ
ธนบุรีในปัจจุบันกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการพัฒนาที่ดินให้มีมูลค่าเพิ่มยิ่งขึ้นตามความหนาแน่นของประชากรตามที่แสดงในผังเมืองโซนสีน้ำตาลและสีส้ม ซึ่งนั่นหมายถึงพื้นที่ที่มีประชากรอยู่เป็นจำนวนมากและสามารถสร้างอาคารสูงเพื่อรองรับปริมาณการอยู่อาศัยได้มากขึ้น เราจึงจะได้เห็นการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อันน่าสนใจในอีกหลากหลายรูปแบบ แหล่งแฮงก์เอาท์ที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์คนเมืองเริ่มผุดขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ก็ยังคงความหลากหลายไว้ได้ ตั้งแต่ร้านระดับพรีเมียมสุดๆ ไม่ไกลจากตลาดเก่าแก่ของท้องถิ่นที่ยังคงคึกคักมีชีวิตชีวาอยู่ไม่เสื่อมคลาย คอนโดสูงติดรถไฟฟ้าที่อยู่เคียงข้างกับชุมชนที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมผสมระหว่างไทย จีน มุสลิม รวมไปถึงอาร์ตสเปซน้อยใหญ่ที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นตามตรอกซอกซอย อันมีเอกลักษณ์เป็นความเรียบง่ายในแบบของฝั่งธนบุรี ที่สืบทอดมรดกความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมาจากบรรพบุรุษ และพร้อมจะปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเข้ามาได้เป็นอย่างดี
จากความสำเร็จของบ้านกลางเมืองปิ่นเกล้า-จรัญฯ ทำให้ AP สานต่อความไฮเอนด์ในทำเลที่สมบูรณ์แบบนี้อย่างต่อเนื่อง ด้วยบ้านกลางเมือง THE ERA (ดิ เอร่า) ปิ่นเกล้า-จรัญฯ ภายใต้ แนวคิด ‘Terraria is kind of nature’ เชื่อมพื้นที่ส่วนกลางสู่พื้นที่ส่วนตัว มาพร้อมกับนวัตกรรมพื้นที่ที่หลากหลาย ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้งานตามความต้องการอันหลากหลาย อาทิ Double Pocket Garden เพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยสวนขนาดเล็กถึงขนาดกลางในตัวบ้านชั้น 2 และชั้น 3 Flexible Wall ผนังที่ออกแบบพิเศษรองรับการขยับขยายพื้นที่โดยไม่กระทบโครงสร้างของตัวบ้าน Penthouse Master Bedroom ขยายขนาดพื้นที่การพักผ่อนให้ห้องนอนกว้างขวางเต็มพื้นที่ชั้น 3 เพื่อการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในย่านอันสงบเงียบเรียบง่าย แต่สะดวกสบายเพราะติดถนนใหญ่ ใกล้จุดขึ้น-ลง ทางด่วนศรีรัช และรถไฟฟ้าถึง 3 สาย
บ้านกลางเมือง THE ERA ราคาเริ่มต้นที่ 5.69 ล้าน* เปิด Pre-sale พร้อมกันวันที่ 29-30 ก.ย.นี้ ลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลและส่วนลดพิเศษ 50,000 บาทได้ที่ https://bit.ly/2vOlMO6 หรือ โทร.1623
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://www.wangdermpalace.org/travel_th.html
http://www.bangkok.go.th/thonburi/
http://cpd.bangkok.go.th:90/web2/NEWCPD2556/02_cpd56.pdf
https://www.silpa-mag.com/club/miscellaneous/article_10542
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_6136
นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ; มติชน, 2559.
ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ; มติชน, 2551.