ข้อมูลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญในอังกฤษ เผยว่า คนเหงามีแนวโน้มตกงานมากขึ้นในอนาคต จึงเรียกร้องให้ภาครัฐและเอกชน ตระหนักถึงผลกระทบทางสังคมที่กว้างขึ้นของความเหงา ในกลุ่มประชากรวัยทำงาน
การวิจัยล่าสุดนี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร BMC Public Health อิงจากข้อมูลประชากรอายุ 16 ปีขึ้นไป จำนวน 15,000 คน
ถึงแม้ว่าการวิจัยส่วนใหญ่ จะเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนที่จะมีการระบาดของโรคโควิด-19 แต่ด้วยสถานการณ์ช่วงเกิดโรคระบาด ที่คนต้องทำงานต้องอยู่บ้านเพิ่ม จนอาจประสบกับความโดดเดี่ยวเนื่องจากความวิตกกังวล นั่นจะยิ่งทำให้ว่าปัญหานี้เร่งด่วนยิ่งขึ้น
เกือบครึ่งของผู้ใหญ่ในอังกฤษ จะรู้สึกเหงาบ้างเป็นบางโอกาส และบ่อยครั้งก็รู้สึกโดดเดี่ยว โดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ และลีดส์ ระบุว่าความเหงาในผู้ใหญ่เพิ่มโอกาสตกงานยาวนานถึง 3 ปี สูงถึง 17.5%
จากหลักฐาน ยังชี้ว่า ความเหงาส่งผลต่อสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของคน และเพิ่มโอกาสที่จะป่วยซึมเศร้า และยังเชื่อมโยงกับภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย
ย้อนไปดูระหว่างปี 2017 ถึง 2019 พบว่า คนที่รู้สึกเหงามักจะมีโอกาสว่างงานมากขึ้น 16% แต่ตัวเลขก็ขยับเป็น 19.6% ระหว่างปี 2018 ถึง 2020 ยิ่งตอกย้ำการวิจัยก่อนๆ ที่เคยอธิบายไว้ว่า ความเหงาเป็น “โรคระบาดทางสาธารณสุข ที่มีความชุกเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป”
“ดังนั้นควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับความเหงา ด้วยการสนับสนุนเพิ่มเติมจากนายจ้างและรัฐบาล เพื่อปรับปรุงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี” นี่เป็นความคิดเห็นตอนหนึ่งจากผู้เชี่ยวชาญ
อ้างอิงจาก
https://www.independent.co.uk/independentpremium/uk-news/unemployment-loneliness-study-health-work-b2069183.html
https://www.sciencedaily.com/releases/2022/04/220427211258.htm