เชื่อว่าหลายคนคงลุ้นแทบตาไม่กระพริบระหว่างชมงานประกาศรางวัลออสการ์ในปีนี้ว่า ภาพยนตร์ นักแสดง ฯลฯ ที่เราชื่นชอบจะคว้ารางวัลอะไรติดมือกลับบ้านไปบ้าง วันนี้เราจะมาสรุปผลรางวัลอะคาเดมี อวอร์ดส์ ครั้งที่ 95 (The 95th Academy Awards) หรือ ออสการ์ประจำปี 2023 กันว่าภาพยนตร์ไหนหรือใครรับรางวัลสาขาใดไปบ้าง
สำหรับสาขาใหญ่ของออสการ์อย่าง ‘ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม’ (Best Picture) จะเป็นสาขาเดียวที่นับรวมคะแนนโหวตจากสมาชิกทุกสาขาที่มีอยู่เกือบหมื่นคน โดยปีนี้จะมีผู้เข้าชิง 10 เรื่อง ซึ่งปรับใช้มาตั้งแต่ออสการ์ครั้งที่ 83 ซึ่งภาพยนตร์ที่คว้ารางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่
1. สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture)
– Everything Everywhere All at Once – แดเนียล กวัน (Daniel Kwan), แดเนียล ไชเนิร์ท (Daniel Scheinert) และ โจนาธาร หวัง (Jonathan Wang)
2. สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม (Best Director)
– แดเนียล กวัน (Daniel Kwan), แดเนียล ไชเนิร์ท (Daniel Scheinert) – Everything Everywhere All at Once
3. สาขานักแสดงชายยอดเยี่ยม (Best Lead Actor)
– เบรนแดน เฟรเซอร์ (Brendan Fraser) – The Whale
.
4. สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (Best Lead Actress)
– มิเชล โหย่ว (Michelle Yeoh) – Everything Everywhere All at Once
5. สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (Best Supporting Actor)
– คี ฮุย ควน (Ke Huy Quan) – Everything Everywhere All at Once
6. สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (Best Supporting Actress)
– Jamie Lee Curtis (เจมี ลี เคอร์ติส) – Everything Everywhere All at Once
7. สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยม (Best Animated Feature Film)
– Guillermo del Toro’s Pinocchio – กีเยร์โม เดล โตโร (Guillermo del Toro), มาร์ค กุสตาฟซัน (Mark Gustafson) , แกร์รี่ อุนการ์ (Gary Ungar) และ อเล็ก บัล์กเลย์ (Alex Bulkley)
8. สาขาภาพยนตร์สั้นแอนิเมชั่นยอดเยี่ยม (Best Animated Short Film)
– The Boy, the Mole, the Fox and the Horse – ชาร์ลีย์ แม็กเกซี่ (Charlie Mackesy) และ แมทธิว ฟรอยด์ (Matthew Freud)
9. สาขาออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (Best Costume Design)
– Black Panther: Wakanda Forever – รูธ คาร์เตอร์ (Ruth Carter)
10. สาขาภาพยนตร์เหตุการณ์สั้นยอดเยี่ยม (Best Live Action Short Film)
– An Irish Goodbye – ทอม เบิร์คลีย์ (Tom Berkeley) และ โรส ไวท์ (Ross White)
11. สาขาการแต่งหน้าและทรงผมยอดเยี่ยม (Best Makeup and Hairstyling)
– The Whale – อาเดรียน โมร็อต (Adrien Morot) , จูดี้ ชิน (Judy Chin) และ แอนน์มารี แบรดลีย์ (Annemarie Bradley)
12. สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Original Score)
– All Quiet on the Western Front – โฟลเคอร์ เบอร์เทิลมันน์ (Volker Bertelmann)
13. สาขาลำดับเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound)
– Top Gun: Maverick – มาร์ค เวนการ์เทร (Mark Weingarten), เจมส์ เอช มาเธอร์ (James H. Mather), ไอ เนลสัน (Al Nelson), คริสต์ เบอร์ดอน (Chris Burdon) และ มาร์ค เทเลอร์ (Mark Taylor)
14. สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (Best Adapted Screenplay)
– Women Talking – ซาร่า โพลเลย์ (Sarah Polley)
15. สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Screenplay)
– Everything Everywhere All at Once – แดเนียล กวัน (Daniel Kwan), แดเนียล ไชเนิร์ท (Daniel Scheinert)
16. สาขากำกับภาพยอดเยี่ยม (Best Cinematography)
– All Quiet on the Western Front – เจมส์ เฟรนด์ (James Friend)
17. สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม (Best Documentary Feature Film)
– Navalny – แดเนียล โรเออร์ (Daniel Roher), โอเดสซา เรย์ (Odessa Rae), ไดแอน เบคเกอร์ (Diane Becker), เมลานี มิลเลอร์ (Melanie Miller) และ เชน โบริส (Shane Boris)
18. สาขาภาพยนตร์สารคดีสั้นยอดเยี่ยม (Best Documentary Short Film)
– The Elephant Whisperers – การ์ติกิ กอนสลาฟส์ (Kartiki Gonsalves) และ กูเน็ท มงก้า (Guneet Monga)
19. สาขาการตัดต่อยอดเยี่ยม (Best Film Editing)
– Everything Everywhere All at Once – พอล โรเจอร์ส (Paul Rogers)
20. สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best International Feature Film)
– All Quiet on the Western Front – เยอรมนี (Germany)
21. สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม (Best Original Song)
– Naatu Naatu – อาร์อาร์อาร์ (RRR) เพลงโดย เอม เอม กีรวานี (M.M. Keeravaani) เนื้อเพลงโดย จันทร์ดาโบส (Chandrabose)
22. สาขาออกแบบการถ่ายทำยอดเยี่ยม (Best Production Design)
– All Quiet on the Western Front – คริสเตียน เอ็ม. ก็อลเบค (Christian M. Goldbeck) และ เอิร์นชไตน์ ฮิปเปอร์ (Ernestine Hipper)
23. สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม (Best Visual Effects)
– Avatar: The Way of Water – Joe Letteri (โจ เลตเตอรรี), ริชาร์ด เบนแฮม (Richard Baneham), อีริค เซนดอน (Eric Saindon) และ แดเนียล บาร์เร็ตต์ (Daniel Barrett)
จบลงไปแล้วสำหรับงานประกาศรางวัลออสการ์ครั้งที่ 95 ซึ่งหลายคนกล่าวว่า ปีนี้เป็นปีประวัติศาสตร์ของนักแสดงเชื้อสายเอเชีย หลังพวกเขาสามารถเข้าชิงรางวัลสาขาการแสดงถึง 4 คน แล้วถ้ามองย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของออสการ์ที่จัดมาตั้งแต่ปี 1929 มีนักแสดงเชื้อสายเอเชียไม่ถึง 20 รายที่ได้เข้าชิง
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก