เมื่อพูดถึง ‘โรเนียว’ คนgenใหม่หลายๆ คนอาจไม่คุ้นหู
ที่เป็นปลา? นั่นโรนัน!
ที่เป็นซามุไรไร้สังกัด? นั่นโรนิน!
ที่เป็นของกิน? นั่นโตเกียว!
แล้วสรุปโรเนียวคืออะไรกันแน่?
โรเนียว (Roneo) เป็นชื่อยี่ห้อของเครื่อง Mimeograph (อัดสำเนาด้วยกระดาษไข) ที่ผลิตโดยบริษัท Neostyle Co จากสหรัฐอเมริกาในปี 2442 หรือกว่า 125 ปีที่แล้ว หลักการทำงานก็คือต้องทำลายฉลุจากเครื่องพิมพ์ดีดเป็นแบบก่อน แล้วค่อยนำแบบไปใส่ในเครื่องโรเนียวแล้วใช้มือหมุนให้หมึกพิมพ์ลายฉลุลงไปบนกระดาษ ว่าง่ายๆ ก็คือทำงานระบบอัตโนมือนั่นเอง
ซึ่งระบบโรเนียวเริ่มใช้ในการพิมพ์หนังสือพิมพ์หรือใบปลิวโฆษณาช่วงสงครามโลก และมีการใช้อย่างแพร่หลายสุดๆ ในยุค 90’s โดยเฉพาะในโรงเรียน ถ้าใครเคยใช้ชีทเรียนหมึกสีดำๆ เปื้อนๆ บนกระดาษสีน้ำตาลเนื้อสากๆ นี่ใช่เลย ชีทนั้นมาจากการโรเนียวนี่แหละ
ต่อมาในปี 2502 เทคโนโลยีใหม่อย่างเครื่อง photocopying (เครื่องถ่ายเอกสาร)
ที่คนไทยจะคุ้นกันในชื่อ ‘ซีร็อกซ์’ (มาจากชื่อบริษัทที่พัฒนา Xerox Corporation) ก็ถือกำเนิดขึ้น ด้วยความที่การซีร็อกซ์ทั้งสะดวก รวดเร็ว และได้คุณภาพสูงกว่า คนจึงนิยม ซีร็อกซ์มากขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบันการโรเนียวก็ยังคงมีใช้อยู่บ้างตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการ เพราะต้นทุนต่ำ แต่ก็ไม่แพร่หลาย เพราะส่วนมากจะเปลี่ยนมาใช้การซีร็อกซ์กันมากกว่า ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น คนใช้ไฟล์ดิจิตอลกันมากขึ้น การโรเนียวก็ยิ่งหายไปจากการรับรู้ของคนรุ่นใหม่ขึ้นไปอีก
‘โรเนียว’ เลยกลายเป็นอีก Age Gap ที่คนgenเก๋าเคยใช้เป็นปกติในสำนักงาน แต่คนgenใหม่ไม่ค่อยรู้จักแล้วไปคุ้นกับ ‘ซีร็อกซ์’ มากว่านั่นเอง
เราลองมาทำโพลเล่นๆ กันดีกว่า
ใครไม่เคยได้ยินโรเนียวมาก่อนให้กดไลค์
ส่วนใครทันใช้โรเนียวกดเลิฟมาเลย!
อ้างอิงจาก