การเรียนภาษาไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องศึกษาทั้งตัวอักษร ไวยากรณ์ คำศัพท์ โดยเฉพาะภาษายุคโบราณ ที่หายไป ถูกลืมไปแล้ว ที่นักประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดีพยายามศึกษา ซึ่งในขณะที่มนุษย์เรายังต้องศึกษา ตอนนี้ AI และอัลกอริทึม ก็มาร่วมศึกษาด้วย ทั้งยังพบว่าเรียนรู้เร็ว และดี เอาชนะมนุษย์อีก
DeepMind และทีมนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้ฝึกฝนอัลกอริทีม เพื่อจดจำคำศัพท์ที่จารึกไว้บนแผ่นหินกรีก ที่มีอายุกว่า 1,500 – 2,600 ปี และให้มันได้เรียนรู้ ทำนายตัวอักษร และคำที่หายไป ซึ่งการศึกษานี้พบว่า อัลกอริทึมเรียนรู้ได้เร็ว และดีกว่ามนุษย์ในการเติมข้อความภาษากรีกที่หายไปด้วย
โปรแกรมของ AI นี้ มีชื่อว่า ‘Pythia’ (มาจากชื่อของเทพยากรคนสำคัญ ในวิหารแห่งเดลฟี) ที่ได้รับการฝึกฝนด้วย คำกว่า 3 ล้านคำจากโบราณวัตถุที่มีอยู่แล้ว และจัดการแข่งขันตัวต่อตัวกับนักประวัติศาสตร์ เพื่อคาดเดาคำที่หายไปจากแผ่นหิน หรือจารึกที่เสียหายไป 2,949 ฉบับ ผลการแข่งขันปรากฎว่า Pythia มีอัตราความแม่นยำเกือบ 70% ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ทำถูกเพียง 43% เท่านั้น
ทั้งในเรื่องของความเร็ว ยังพบว่านักประวัติศาสตร์ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง กับจารึก 50 รายการ ในขณะที่ AI ทำข้อมูลทั้งหมดภายในไม่กี่วินาทีด้วย
ถึงแม้ว่า Pythia จะแม่นยำกว่ามนุษย์ แต่มันก็ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อแทนที่นักประวัติศาสตร์ แต่มาเพื่อช่วยเหลือพวกเขา โดยอัลกอริทึมนี้ได้รับการฝึกฝนให้ดูข้อความที่เสียหายไป และทำนายลำดับตัวอักษรเหล่านั้น พร้อมคำแนะนำและระดับความแม่นยำ
Thea Sommerschield นักประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด หนึ่งในทีมศึกษานี้กล่าวว่า การค้นพบเป็นเหมือน “รางวัลขนาดใหญ่ เพราะจารีกมันบอกเราเกี่ยวกับทุกแง่มุมของศาสนา สังคม และเศรษฐกิจของโลกยุคโบราณ” ทั้งผลการศึกษานี้ผลของการศึกษานี้ จะมีการนำเสนอในเดือนหน้า ที่การประชุมในการประชุมเชิงปฏิบัติการการประมวลผลภาษาในฮ่องกงด้วย
อ้างอิงจาก
#Brief #TheMATTER