ปัญหาอวัยวะขาดแคลนถูกพูดถึงมานานแล้ว และที่ผ่านมาได้มีความพยายามในการนำเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น การใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ รวมถึง Biofabrication (การผลิตเนื้อเยื่อและอวัยวะทดแทนเพื่อการรักษาโรคต่างๆ ) ซึ่งล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้ประสบความสำเร็จในการสร้าง ‘ตับขนาดเล็ก’ จากเซลล์ผิวหนังมนุษย์ ซึ่งในอนาคตอาจช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนอวัยวะปลูกถ่ายได้
ทีมวิจัยทำการทดลอง โดยนำเซลล์ผิวหนังของมนุษย์มาเปลี่ยนเป็นสเตมเซลล์ จากนั้นนำมันไปปลูกถ่ายในโครงสร้าง (Scaffold) ที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของตับ และค่อยนำไปปลูกถ่ายในหนูทดลอง 5 ตัว (ที่ไม่มีเซลล์ตับ) เพื่อดูว่าตับใหม่ทำงานได้ดีแค่ไหน
ผลการวิจัย (ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cell Reports ) พบว่า ตับยังทำงานได้อยู่ หลังจากนักวิทยาศาสตร์ชำแหละหนูทุกตัวในอีก 4 วันต่อมา (นับตั้งแต่เริ่มทำการทดลอง) แต่พบปัญหาด้านสุขภาพในหนูทุกตัว เช่น การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ
“ฉันเชื่อว่ามันเป็นก้าวที่สำคัญ เพราะ พวกเรารู้ว่ามันสามารถทำเสร็จได้ คุณสามารถสร้างอวัยวะที่สามารถทำงานได้จากเซลล์ผิวหนังเพียงหนึ่งเซลล์” อเลฮานโดร โซโต-กูตีแอเรส นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก กล่าว
ทีมวิจัยมีแผนว่าจะทดลองการปลูกถ่ายตับในสัตว์ที่มีชีวิตยาวนานกว่าหนูเป็นลำดับต่อไป และทำการทดลองกับมนุษย์เป็นลำดับท้ายสุด
ในอนาคตเทคโนโลยี Biofabrication จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องอวัยวะขาดแคลน เร่งกระบวนการปลูกถ่ายอวัยวะให้เร็วขึ้น รวมไปถึงช่วยให้ต้นทุนถูกลงด้วย นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของตับที่ล้มเหลว ผู้ป่วยมีเวลามากขึ้นเพื่อรอการปลูกถ่ายอย่างเต็มรูปแบบ
อ้างอิงจาก
https://futurism.com/neoscope/grow-mini-human-livers-transplant-rats
https://www.inverse.com/mind-body/lab-grown-mini-human-livers
#Brief #TheMATTER