ถือเป็นศิลปินที่ไม่เคยหยุดนิ่งและไม่เคยห่างหายไปจากวงการเพลงไทย เขาคือแสตมป์—อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ผู้มีผลงานเพลงฮิตติดหูออกมาอย่างสม่ำเสมอ ล่าสุดก็เพิ่งฝากรอยเสียงเอาไว้บนเวที The Mask Singer 2 ที่หลายคนบ่นอุบว่าเสียดายที่ตกรอบไปซะก่อน ก่อนหน้านั้นก็ไปร่วมทำเพลงกับคยูฮยอนจากวง Super Junior แถมเพิ่งร่วมงานกับโปรดิวเซอร์จากอเมริกา ในเพลงภาษาอังกฤษชื่อ Don’t You Go อีกต่างหาก
เรื่องที่เขาบอกเล่าจึงมีทั้งความสนุกในงานดนตรีของตัวเอง เหตุผลที่ไม่เคยหยุดหรือหยุดไม่ได้ รวมถึงภาพของอุตสาหกรรมเพลงต่างประเทศ ที่เขาเองเองได้ไปสัมผัสมา—แม้จะพูดได้ไม่เต็มปากว่าอุตสาหกรรมเพลงไทยยิ่งใหญ่อย่างนั้น แต่ที่เขารู้คือ วงการเพลงไทยน่ารัก
แล้วเราจะเข้าใจนักดนตรีและรักแสตมป์กันมากขึ้น ในฐานะคนทำเพลงคนหนึ่งที่หมกมุ่นกับดนตรีมากเหลือเกิน
Life MATTERs : เร็วๆ นี้คุณต้องสลับคาแรคเตอร์กับ นะ Polycat ในคอนเสิร์ต Cross Play คิดว่าการได้ลองเป็นคนอื่นน่าสนุกอย่างไรบ้าง
แสตมป์ : กับ Polycat เราสนิทกันมากอยู่แล้ว การที่เราสลับร่างกันมันก็เหมือนการเล่นกันตลกๆ น่าสนุกมาก มันสนุกตรงที่เราได้เล่นกับคนที่เราสนิท เลยสามารถครีเอตอะไรๆ ที่มันไปไกลกว่าปกติได้มาก ‘นะ’ เขาก็จะเป็นคนบ้าบิ่นพอๆ กับผม ชอบทำอะไรแหวกกฎหน่อยๆ ดังนั้นครั้งนี้เราเลยได้ทำอะไรที่ปกติจะไม่ค่อยกล้าทำกัน
Life MATTERs : เมื่อนักดนตรีที่บ้าบิ่นพอๆ กัน ได้มาทำงานร่วมกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร
แสตมป์ : มันจะได้อะไรใหม่ๆ แน่นอนครับ เพราะแต่ละความบ้าบิ่นมันก็ไม่เหมือนกัน ทำให้เขายิ่งกล้าที่จะทำสิ่งต่างๆ อย่างตอนทำเพลง นะเขาก็มีอะไรมาให้เราช็อกตลอดเวลา เขาจะมาบอกว่า พี่ทำแบบนั้นสิ ทำแบบนี้เลย ซึ่ง input แบบนี้เราไม่ค่อยเจอมาก่อนในชีวิต เราไม่เคยฟังเพลงที่เขาฟัง ไม่ได้ดูคอนเสิร์ตที่เขาดู มันเลยเป็นอะไรที่สนุก เขาได้ให้อะไรที่เราไม่เคยรู้ หรือไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าเราทำได้
Life MATTERs : แล้ว input ที่คุณให้กับคุณ นะ Polycat ล่ะ เป็นอย่างไรบ้าง
แสตมป์ : ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน อันนี้ต้องถามนะครับ (หัวเราะ)
LIfe MATTERs : จากการทำงานมายาวนาน เห็นความยากง่ายของการทำดนตรีระหว่างยุคก่อนกับยุคนี้อย่างไรบ้าง
แสตมป์ : ยุคผมมันจะมีกระบวนการที่แน่นอน เช่น เราทำเพลงไปส่งค่าย ค่ายก็ไปโปรโมตวิทยุ ทีวี เพลงติดตลาดก็คือติด ไม่ติดก็ไม่ติด แต่ยุคนี้ค่อนข้างจะไร้รูปแบบ ซึ่งสำหรับผมมันยากกว่า เพราะกลายเป็นว่าเด็กคนไหนมีคอมพิวเตอร์ มีความสามารถ มีวีดิโอของตัวเองแล้ว ก็เป็นศิลปินได้หมดเลย
สมัยก่อนถ้าเราเอาเดโม่เข้าไปในค่ายเพลงได้ เราก็แข่งกับค่ายเพลง 4-5 ค่ายที่มีอยู่ ตอนนี้กลายเป็นว่า เด็กคนหนึ่งจะเป็นศิลปิน เขาต้องแข่งกับคนอีกเป็นล้านเลยกว่าที่จะโผล่ขึ้นมาได้
สำหรับผมแล้วสมัยนี้ศิลปินเริ่มต้นง่าย เราไม่ต้องไปง้อใครหรือไปกราบไหว้ใคร เราไม่ต้องไปปรับตัวเองให้เหมือนใคร เราไม่ต้องทำตามใจผู้ใหญ่คนไหน แต่มันก็ยากตรงที่ว่าจะทำยังไงให้เราโผล่ออกมาจากมหาสมุทรที่มีแต่คนทำเต็มไปหมด
Polycat, อะตอม—ชนกันต์, ทีเจ, ทอย อะไรแบบนี้ พอเราเจาะไปทีละคนเราจะเห็นว่า คนนี้เด่นเรื่องนี้ๆ เขามีเอกลักษณ์เด่นชัดมาก แล้วก็ทำงานเองได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ผมคิดว่าด้วยความที่เราไม่มีอุตสาหกรรมที่ปั้นคนแล้ว หรือมีแล้วไม่ค่อยประสบความสำเร็จ คนที่จะมีชื่อเสียงได้หลังจากนี้เลยเป็นคนที่ทำทุกอย่างด้วยตัวเองได้ แล้วก็มีความสนใจที่ชัดเจน พูดถึงคนนี้ก็จะเห็นภาพชัดในหัว
LIfe MATTERs : ศิลปินยุคใหม่ที่จะโผล่ขึ้นมาจากมหาสมุทรได้ น่าจะต้องเป็นแบบไหน
แสตมป์ : ผมว่าตอนนี้เราก็เห็นน้องหลายๆ คนที่กำลังดังขึ้นมา ยุคนี้เราเสพโซเชียลกันแบบ 100% ดังนั้นคนที่โดดเด่นได้คือคนที่เก่งแล้วมีความกล้าบางอย่าง ซึ่งแบบที่เขาเป็นมันต้องปัจเจกมากๆ ผมว่าคนที่ประสบความสำเร็จ ณ ตอนนี้ คือคนที่เข้าใจความแมสระดับหนึ่งแล้วก็มีสไตล์ของตัวเองที่ชัดเจน
สองอย่างนี้รวมกัน น่าจะเป็นแบบ Polycat, อะตอม—ชนกันต์, ทีเจ, ทอย อะไรแบบนี้ พอเราเจาะไปทีละคนเราจะเห็นว่า คนนี้เด่นเรื่องนี้ๆ เขามีเอกลักษณ์เด่นชัดมาก แล้วก็ทำงานเองได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ผมคิดว่าด้วยความที่เราไม่มีอุตสาหกรรมที่ปั้นคนแล้ว หรือมีแล้วไม่ค่อยประสบความสำเร็จ คนที่จะมีชื่อเสียงได้หลังจากนี้เลยเป็นคนที่ทำทุกอย่างด้วยตัวเองได้ แล้วก็มีความสนใจที่ชัดเจน พูดถึงคนนี้ก็จะเห็นภาพชัดในหัว
ซึ่งเด็กรุ่นใหม่ๆ ผมก็อยากบอกว่า ถ้าพี่กลับไปทำงานตอนอายุเท่าน้องได้ ก็อยากจะทำเพราะแต่ละวัยมีไฟไม่เท่ากัน แล้วก็มีพลังสร้างสรรค์อีกแบบนึงซึ่ง ณ อายุผมตอนนี้ก็ได้สูญเสียไปแล้ว
Life MATTERs : สำหรับนักดนตรี ยิ่งฟังเยอะยิ่งได้เปรียบไหม
แสตมป์ : อันนี้เป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่นะครับ แต่ผมว่าไม่จำเป็น ไม่อย่างนั้นคนสมัยนี้ก็ต้องแต่งเพลงเก่งกว่าคนสมัยก่อน แต่เราก็ยังไม่เห็นวงที่ทำได้ดีเท่า The Beatles อีกเลย
Life MATTERs : คำว่าความสำเร็จของนักดนตรีคนหนึ่ง หมายถึงอะไร
แสตมป์ : มันอยู่ที่ตัวเขาเลยครับ สมมติถ้าผมบอกว่าผมประสบความสำเร็จ แล้วแบบ Radiohead คืออะไร Radiohead อาจจะบอกว่าผมไม่ประสบความสำเร็จก็ได้ อ้าว แล้วผมคืออะไร มันก็ไม่ได้มีจุดไหนประสบความสำเร็จ
ผมรู้สึกว่าคนในวงการเพลงไทยหลายคนน่ารักมาก ถ้าติดตามข่าวพวกวงการเพลงฝรั่งก็จะมีคนด่ากัน ไอ้นี่มันกระจอก แต่คนไทยเป็นคนน่ารัก โดยเฉพาะคนในวงการเพลงด้วยกันจะรักกันมาก
Life MATTERs : ชอบอะไรที่สุดในการทำงานเพลง
แสตมป์ : ชอบตอนที่เพลงมันเสร็จออกมา ชอบตอนที่อัพโหลดลงยูทูบแล้วยังไม่ได้พับลิช เราฟังแล้วก็จะอินกับมัน คิดว่าเพราะว่ะ เจ๋งว่ะ ภาพสวย ก็คือชอบตอนทำงานแล้วก็ช่วงเวลาก่อนจะปล่อยออกมาครับ ในวงการเพลงเองก็สนุก ผมรู้สึกว่าคนในวงการเพลงไทยหลายคนน่ารักมาก ถ้าติดตามข่าวพวกวงการเพลงฝรั่งก็จะมีคนด่ากัน ไอ้นี่มันกระจอก แต่คนไทยเป็นคนน่ารัก โดยเฉพาะคนในวงการเพลงด้วยกันจะรักกันมาก
Life MATTERs : เพลงที่แต่งแล้วมีความสุขที่สุดคือเพลงไหน
แสตมป์ : แล้วแต่เวลาเลยครับ ความรู้สึกมันก็มีหลายอย่าง สมมติว่าแต่งเพลงนี้แล้วภูมิใจมาก มันก็ไม่ใช่เพลงที่มีความสุขซะทีเดียว มันก็มีอัตตาอยู่มาก คำตอบของข้อนี้คือ เราน่าจะแฮปปี้ที่เรามีสมาธิอยู่กับเพลงจนลืมเรื่องเวลาไปเลย
ช่วงเวลาที่มันกลืนเราเข้าไปก็เป็น magic moment อยู่เหมือนกัน แต่มันก็มีความทุกข์ทรมาน เวลาที่เรามีอย่างอื่นต้องทำแต่เรายังหยุดคิดเรื่องเพลงไม่ได้ ตอนเดินไปไหนมาไหนก็คิดแต่เรื่องนั้นเรื่องเดียว จมกับสิ่งที่เราทำ คิดว่าทุกคนก็น่าจะเป็นนะ เหมือนคนทำหนังที่คิดบทตลอด
Life MATTERs : เวลาเริ่มแต่งเพลงสักเพลง คุณมีอะไรเป็นแรงบันดาลใจ
แสตมป์ : มันเริ่มจากที่เราเจอเรื่องที่สนใจก่อน แล้วเป็นเรื่องที่เราคิดว่า ถ้าเป็นเพลงเร็วเล่าแล้วมันต้องสนุก ถ้าเป็นเพลงช้าเล่าแล้วมันต้องกินใจ มันจะมีอะไรที่เรารู้สึกว่าอยากเล่าครับ ผมคิดว่าผมสนุกกับวิธีการเล่ามากกว่า อย่างผมเจอเรื่องหนึ่ง สมัยนั้นปี 2011 ไอโฟนเพิ่งจะแพร่หลายในประเทศเรา ทุกคนก็ก้มหน้าเล่นมือถือหมดเลย เราก็รู้สึกว่ามันน่าแซว แต่ถ้ามันแซวแล้วไปบวกจีบหญิงลงไปด้วยดีกว่า ถ้าเธอเงยหน้ามามองฉันก็คงจะดีกว่ามองตรงนั้นนะ เรารู้สึกสนุกและอยากเล่า ก็เลยเป็นเพลงขึ้นมา
Life MATTERs : พอเพลงผ่านจุดที่ฮิตมาก ทำให้คนร้องตามได้ ร้องไห้ได้ ทำให้การทำเพลงต่อๆ ไปกดดันไหม?
แสตมป์ : ผมผ่านจุดนั้นมาแล้ว ตอนนี้ผมอยู่ในจุดที่ช่างมัน เคยคาดหวังแล้วรู้สึกว่ามันไม่ได้ผล เราเดาอะไรไม่ได้ ตอนนี้ก็เลยคิดเรื่องเพลงจะดังไม่ดังน้อยมากเลย
Life MATTERs : เห็นรับงานหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นโค้ช หรือไปออกรายการต่างๆ อะไรคือแรงผลักดันของคุณ
แสตมป์ : ที่ทำทุกๆ อย่าง ก็เพื่อนำไปสู่การเล่นดนตรี ผมคุยกับว่าน—ธนกฤต ว่านก็บอกว่าเขารับงานแสดงเพื่อจะได้มีงานจ้างต่อ ผมเองไปเป็นโค้ชก็เพื่อจะได้เล่นดนตรีทุกๆ อย่างเกิดจากสิ่งนี้ทั้งนั้นเลย
บางคนอาจถามว่าทำไมนักดนตรีถึงต้องทำเพลงให้โดน เพราะเขาอยากได้เงินเหรอมันก็ส่วนนึงนะ แต่ถ้าเขาไม่มีเพลงที่ฮิตเลย จะมีพื้นที่ให้เขาเล่นไหม เราอยากให้คนมองเห็นตรงนี้ ว่าเขาแค่อยากเล่นดนตรี อยากออกไปเจอผู้คน เพราะเล่นในห้องซ้อมมันไม่สนุก มันเลยมุมนี้ด้วย ที่คนข้างนอกอาจไม่เข้าใจว่าทำไมต้องอยากให้เพลงฮิตอะไรขนาดนั้น
Life MATTERs : ที่ยังแต่เพลงอยู่เพราะว่ามีเรื่องที่อยากจะเล่าอยู่ตลอดใช่ไหม
แสตมป์ : ถึงไม่มีก็ต้องพยายามหาให้มีให้ได้ ที่พูดแบบนี้ไม่ใช่เพราะเรื่องเงินนะครับ แต่เพราะผมอยากจะเล่นดนตรี ถ้าไม่มีเพลงใหม่ก็ไม่มีใครจ้างเรา ไม่มีใครเอาเราไปเล่น เราเล่นเพลงเดิมมาสิบปีเราก็เบื่อเหมือนกัน ทำให้เราต้องมีเพลง ต้องเล่าเรื่องออกไป แต่ถ้าทำเพลงไปแล้วคนไม่ค่อยสนใจ มันก็บังคับไม่ได้
บางคนอาจถามว่าทำไมนักดนตรีถึงต้องทำเพลงให้โดน เพราะเขาอยากได้เงินเหรอมันก็ส่วนนึงนะ แต่ถ้าเขาไม่มีเพลงที่ฮิตเลย จะมีพื้นที่ให้เขาเล่นไหม เราอยากให้คนมองเห็นตรงนี้ ว่าเขาแค่อยากเล่นดนตรี อยากออกไปเจอผู้คน เพราะเล่นในห้องซ้อมมันไม่สนุก มันเลยมุมนี้ด้วย ที่คนข้างนอกอาจไม่เข้าใจว่าทำไมต้องอยากให้เพลงฮิตอะไรขนาดนั้น
Life MATTERs : คิดว่างานตัวเองมีคาแรคเตอร์ที่ชัดเจนมากแค่ไหน
แสตมป์ : มันก็จะเปลี่ยนไปแต่ละปีเลย บางทีเราทำก็ไม่ได้สนใจว่ามันเป็นแบบนี้นะ บางทีไปดูก็ตกใจว่าทำไมมันเป็นแบบนี้ บางทีเราลืม เพราะเราสนใจแต่เรื่องการอัดเสียง เราก็ไปใส่ใจแต่กับมัน บางทีเราชอบเครื่องสายมาก เราก็บรรจงอยู่แต่กับเครื่องสาย
พอเพลงออกไปคนก็ถามว่าทำไมเนื้อเพลงมันไม่ค่อยคล้องจองเลย เราก็มาแบบ เออว่ะ มันละเอียดอ่อนมาก บางทีแฟนเพลงเขาก็ไม่เข้าใจว่าทำไมเพลงนี้มันไม่ได้อารมณ์เหมือนเพลงนั้น คือเราไม่ได้ใส่ใจ เรากำลังอินกับอย่างอื่นมากกว่าเนื้อเพลง
Life MATTERs : สามารถพูดว่ามันคือการทดลองไปเรื่อยๆ ได้หรือเปล่า
แสตมป์ : คนที่ทำอาจจะไม่ได้คิดว่าคือการทดลอง มันเกิดจากนักวิจารณ์ คนฟังมองภาพรวมเข้าไป แต่นักดนตรีไม่มีใครรู้หรอกว่าเขาทำอะไร เพราะเขากำลังทำในสิ่งที่เขาสนใจอยู่ในตอนนั้นเลย
Life MATTERs : คิดว่านักดนตรีกับนักวิจารณ์ควรมีอยู่กันไปไหม
แสตมป์ : คำถามนี้ยาก ผมรู้ว่านักดนตรีกับคนฟังควรอยู่คู่กัน แต่ว่านักวิจารณ์ก็ไม่รู้ เพราะการวิจารณ์มันก็ขึ้นอยู่กับบุคคลอีกที แต่คนฟังน่ะต้องมี
Life MATTERs : หลังจากที่ได้ไปสัมผัสวงการ
แสตมป์ : ประเทศเราก็มีการสนับสนุนดน
Life MATTERs : ความสนุกในอาชีพ ณ ตอนนี้คืออะไร
แสตมป์ : คือการที่ได้เล่นดนตรี และได้อยู่กับมันเป็นวันๆ ทั้งหมดเราต้องการเท่านี้จริงๆ
Interview by Nitcha Sertpanyarung
Photos by Adidet Chaiwattanakul