ผลสำรวจ “เลือกตั้ง 66” คนไม่เชื่อมั่นการทำงาน กกต. เกิน 20% จะเลือกผู้สมัครจากพรรคที่ต่างจากครั้งก่อน
19 เม.ย.2566 – ผลการสำรวจความเห็นประชาชน “VOTE66: เลือกคน? เลือกนโยบาย? เลือกใคร?” ซึ่งร่วมกันจัดทำโดยสื่อออนไลน์ 4 องค์กร ประกอบด้วย TODAY, The MATTER, The Momentum และประชาไท ให้ภาพความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 14 พ.ค.2566 ไว้อย่างน่าสนใจ
ทั้ง 1.ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะองค์กรที่มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง 2.ความเห็นต่อกติกาการเลือกตั้ง ส.ส. บางอย่าง และที่มาของนายกรัฐมนตรีที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 และ 3.ปัจจัยที่เหล่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้ประกอบการตัดสินใจว่า จะเลือกผู้สมัครคนใดหรือพรรคการเมืองใด
คนไม่เชื่อมั่น กกต. อยากให้รายงานผลนับคะแนน real time
ผลสำรวจดังกล่าวที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาร่วมแสดงความเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 22 มี.ค. – 5 เม.ย.2566 มีผู้มาร่วมตอบคำถาม 1,913 คน จำนวนมากแสดงความ “ไม่เชื่อมั่น” ต่อการทำงานของ กกต. ในทุกๆ ด้าน ทั้ง
- การรายงานผลอย่างฉับไวและโปร่งใส (มั่นใจน้อยมาก 9%)
- การจัดการกับข้อร้องเรียนทุจริตอย่างเป็นธรรม (มั่นใจน้อยมาก 7%)
- การแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. อย่างยุติธรรม (มั่นใจน้อยมาก 7%)
- การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม (มั่นใจน้อยกว่า 7%)
- การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งอย่างทั่วถึง (มั่นใจน้อยมาก 5%)
ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง 97.9% “ไม่เห็นด้วย” กับการที่ กกต.ประกาศว่าจะไม่รายงานผลการนับคะแนนแบบ real time โดยอ้างเหตุผลเรื่องไม่มีงบประมาณและอาจเกิดความคลาดเคลื่อนของข้อมูล
เมื่อถามว่าอยากฝากอะไรถึง กกต. บ้าง? ผลปรากฏว่าข้อความจำนวนมากที่เขียนเข้ามาแสดงความเห็นเชิงลบต่อ กกต. อาทิ
- ทำงานให้ประชาชนสะดวก ไม่ใช่ กกต.สะดวก
- กรุณาทำตัวให้เป็นองค์กรอิสระโดยแท้จริง
- ทำดีสักครั้ง เริ่มต้นด้วยรายงานเรียลไทม์ จะเป็นพระคุณยิ่ง
- ทำงานให้คุ้มกับเงินเดือน มีกระดูกสันหลังหน่อย คนไทยไม่ได้โง่
ฯลฯ
ไม่เห็นด้วยกติกาเรื่อง “ต่างเขตต่างเบอร์-ส.ว.โหวตนายกฯ”
ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนมาก ยังแสดงความไม่เห็นด้วยกับ “กติกา” ในการเลือกตั้ง ส.ส. บางอย่าง และ “ที่มา” ของนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน ซึ่งมีที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 เช่น การกำหนดให้บัตรเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส.เขตและบัญชีรายอาจไม่ได้ใช้เบอร์เดียวกัน (81.9% ไม่เห็นด้วย) การให้ ส.ว.เข้ามามีสิทธิในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. (95.9% ไม่เห็นด้วย)
โดยคุณสมบัติคนที่อยากได้ให้มาเป็นนายกรัฐมนตรี 5 ลำดับแรก ประกอบด้วย
- เคารพหลักการประชาธิปไตย (7%)
- มองเห็น ยอมรับ และมีวิธีจัดการกับปัญหาต่างๆ (8%)
- ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ (1%)
- กล้าชนกับคนมีอำนาจ กลุ่มอิทธิพล (9%)
- ซื่อสัตย์ สุจริต (2%)
ส่วนคุณสมบัติพรรคการเมืองที่อยากจะเลือก 5 ลำดับแรก ประกอบด้วย
- พร้อมปฏิรูปองค์กรต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ (2%)
- เน้นเรื่องสวัสดิการ การพัฒนาสังคม (4%)
- ชูนโยบายเศรษฐกิจปากท้อง ทำให้คนอยู่ดีกินดี (0%)
- มีวิธีปราบโกงและต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างเป็นรูปธรรม (2%)
- สนับสนุนความหลากหลาย ทั้งเรื่องเพศ ฐานะ หรือชาติพันธุ์ (7%)
เกิน 20% จะไม่เลือกพรรคเดิม จากปัจจัย “นโยบาย-แคนดิเดตนายกฯ-โอกาสเป็นรัฐบาล”
อีกข้อมูลที่น่าสนใจก็คือ ผู้ตอบแบบสำรวจที่เคยมีสิทธิเลือกตั้งในปี 2562 และออกไปเลือกตั้ง (1,539 คน จากทั้งหมด 1,913 คน) มากกว่าหนึ่งในห้า คือกว่า 21.5% ที่ระบุว่าจะไม่เลือกพรรคการเมืองเดิม*
โดยให้เหตุผลว่า เป็นเพราะนโยบายพรรคครั้งนี้ไม่โดนใจ แก้ปัญหาไม่ได้จริง (29.3%) ไม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงครั้งที่แล้ว (27.5%) แคนดิเดตนายกฯ ไม่น่าสนใจ (23.9%) ไม่น่าจะได้เป็นรัฐบาล (12.1%) คนที่เคยเลือกย้ายไปพรรคอื่นแล้ว (11.8%) โดยมีผู้เขียนเหตุผลอื่นๆ มาอีกนับร้อยความเห็น อาทิ อยากให้โอกาสพรรคอื่น, อุดมการณ์เปลี่ยน, ส.ส.ของพรรคไปเข้าร่วมกับรัฐบาลปัจจุบัน, อยากเลือกพรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล ฯลฯ
เมื่อแยกเป็นรายพรรคการเมืองที่ผู้ตอบแบบสำรวจบอกว่า เคยลงคะแนนให้ตอนปี 2562 พบว่า ผู้เคยลงคะแนนให้พรรคอนาคตใหม่/ก้าวไกล
ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจนี้เกินครึ่ง (62.0%) ระบุว่า มีความหวังกับการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 โดยเกือบทั้งหมด (96.4%) บอกว่า จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างแน่นอน
[Disclaimer]
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจนี้ก็ให้ภาพความเห็นของผู้คนต่อการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 ได้เพียง “บางส่วน” เท่านั้น เพราะจากผู้ตอบแบบสำรวจ 1,913 คน มีคนที่ระบุว่าเคยเลือกพรรคอนาคตใหม่/ก้าวไกล 65.0%, พรรคเพื่อไทย 21.0%, พรรคประชาธิปัตย์ 3.1%, พรรคพลังประชารัฐ 2.4%, พรรคเสรีรวมไทย 1.4%, พรรคภูมิใจไทย 0.6%, พรรคชาติไทยพัฒนา 0.1% ที่เหลือเป็นพรรคอื่นๆ หรือตอบว่าจำไม่ได้
เมื่อแยกตามวัย กว่าครึ่งเป็นคน Gen Y (อายุระหว่าง 25-40 ปี) และ 53.4% มีภูมิลำเนาอยู่ใน กทม.และปริมณฑล
ลองอ่านและพิจารณากันได้อย่างเต็มที่
- ดูสรุปผลสำรวจ “VOTE66: เลือกคน? เลือกนโยบาย? เลือกใคร?” ซึ่งร่วมกันจัดทำโดยสื่อออนไลน์ 4 แห่ง ได้ที่: https://thaielection2023.typeform.com/report/d1HcT2fP/PaDzYcsvk423qBdR
Illustrator: Manita Boonyong