เคยตั้งคำถามกับตัวเองบ้างไหมว่า ‘เราเหมาะกับอะไร?’
ในการตัดสินใจลงมือทำอะไรซักอย่าง หรือการเลือกเส้นทางเดินในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ทั้งการเลือกคณะเรียนต่อ การเลือกสายงานที่จะทำ เลือกบริษัทที่จะเข้า สังคมที่จะอยู่ แม้กระทั่งการเลือกคบเพื่อนหรือแฟน บางคนตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยการเอาตัวเองไปเป็นผู้เล่นในสนาม โดยอาจลืมไปด้วยซ้ำว่าคำถามที่ควรถามตัวเองก่อนเป็นอันดับแรกคือที่จริงแล้ว ‘เราเป็นคนยังไง?’
ถึงจะใช้ชีวิตมาด้วยตัวเองนานหลายปี แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้จักตัวเองดีนัก เพราะหลายครั้งสิ่งที่เราเป็นอาจไม่ได้สังเกตุเห็นได้ง่ายๆ ผ่านสายตาของตัวเอง ในทางจิตวิทยาจึงมีการสร้าง ‘แบบทดสอบบุคลิกภาพ’ ขึ้น เพื่อจำแนกนิยามแต่ละบุคคล และแบบทดสอบบุคลิกภาพนี้เองก็กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็ทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้นได้ เหมือนเป็นสูตรโกงเกมชีวิตง่ายๆ ที่นำไปสู่คำตอบว่าเราเหมาะกับอะไรที่สุดนั่นเอง
วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับแบบทดสอบบุคลิกภาพแบบต่างๆ ที่จะทำให้เราเข้าใจความเป็นตัวเองมากขึ้นอีกหน่อยและอาจทำให้การตัดสินใจในชีวิตง่ายขึ้นอีกนิด
ยุคนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักแบบทดสอบบุคลิกภาพยอดฮิตอย่าง MBTI ต่อให้ไม่เคยทำแบบทดสอบด้วยตัวเอง ก็น่าจะพอเคยเห็นคอนเทนต์ประเภท ‘ตัวละครไหน ดาราดังคนใด MBTI อะไรบ้าง’ ผ่านหน้าฟีดมาบ้างไม่มากก็น้อย และอักษรสี่ตัวที่คุ้นตาแต่ไม่ถึงกับรู้จักดีนี้ความจริงบอกอะไรได้หลายอย่างมากเลยทีเดียว
MBTI เป็นแบบทดสอบที่พัฒนาจากแนวคิดของ Carl Jung บิดาแห่งจิตวิทยาวิเคราะห์ โดยจะวิเคราะห์บุคลิกภาพของคนผ่านการตอบคำถามสั้นๆ ใช้เวลาราว 10 นาที โดยจำแนกออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ
พลังงาน (Energy) : แสดงตัว (Introverted) หรือ เก็บตัว (Extraverted)
จิตใจ (Mind) : ใช้ประสาทสัมผัส (Observant) หรือ ใช้สัญชาตญาณ (Intuitive)
ธรรมชาติ (Nature) : ใช้ความคิด (Thinking) หรือ ใช้ความรู้สึก (Feeling)
กลยุทธ์ (Tactics) : ตัดสิน (Judging) หรือ รับรู้ (Prospecting)
และตัวแปร 8 ตัวจากทั้ง 4 ประเภทนี้ก็จะกลายมาเป็นโมเดลอักษรสี่ตัว เกิดเป็นบุคลิกภาพทั้ง 16 ประเภทที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง แบ่งออกเป็น
ประเภทนักวิเคราะห์ : ผู้มีเหตุผล (INTJ), นักตรรกะ (INTP), ผู้บัญชาการ (ENTJ), นักโต้วาที (ENTP)
ประเภทนักการทูต : ผู้สนับสนุน (INFJ), ผู้ไกล่เกลี่ย (INFP), ผู้เป็นตัวเอก (ENFJ), นักรณรงค์ (ENFP)
ประเภทผู้พิทักษ์ปกป้อง : นักคำนวณ (ISTJ), ผู้พิทักษ์ (ISFJ), ผู้บริหาร (ESTJ), ผู้ให้คำปรึกษา (ESFJ)
ประเภทนักสำรวจ : ผู้มีความสามารถโดดเด่น (ISTP), นักผจญภัย (ISFP), ผู้ประกอบการ (ESTP), ผู้มอบความบันเทิง (ESFP)
แบบทดสอบ MBTI นอกจากจะทำให้เข้าใจบุคลิกภาพของตัวเองมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เราทำความเข้าใจคนอื่นได้ดีมากขึ้นด้วย เข้าใจทั้งตัวเองและคนข้างเคียงมากขึ้น ความสัมพันธ์ต่างๆ ในชีวิตก็ดีขึ้นตาม แถมบุคลิคภาพแต่ละแบบก็มีความโดดเด่นในสายงานที่แตกต่างกัน สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะกับงานสายไหน ลองสละเวลาแค่สิบนาทีลองเล่นแบบทดสอบนี้อาจจะได้ไกด์ไลน์ชีวิตก็ได้นะ
ได้รู้จักแบบทดสอบบุคลิกภาพที่ทำความรู้จักตัวเองโดยรวมไปแล้ว สำหรับคนที่อยากเน้นเจาะเฉพาะบุคลิกภาพในการทำงานโดยเฉพาะก็มีเช่นเดียวกัน
แบบทดสอบนี้ใช้ชื่อว่า DISC Model โดยจะแบ่งพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ออกเป็น 4 รูปแบบ ในบางตำราอาจแทนสัญลักษณ์ด้วยสัตว์ 4 ประเภท คือ
D (Dominance) : กระทิง : มุ่งเน้นเป้าหมาย มั่นใจ เด็ดขาด
I (Influence) : อินทรี : มีความสร้างสรรค์ เข้ากับคนได้หลายประเภท
S (Steadiness) : หนู : ทำงานทีละขั้นตอน ใจเย็น อดทน เป็นผู้ฟังที่ดี
C (Compliance) : หมี : ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ รักความสมบูรณ์แบบ
มนุษย์ทุกคนจะมีส่วนผสมของทั้ง 4 รูปแบบนี้รวมกัน เพียงแค่จะมี 1-2 รูปแบบที่โดดเด่นขึ้นมาจากลักษณะอื่นๆ ทำให้เรามีสไตล์การทำงานที่แตกต่างกันเท่านั้นเอง
DISC ไม่เพียงเป็นแบบทดสอบที่ตัวบุคคลสามารถใช้เพื่อทำความรู้จักตัวเองว่าเหมาะกับการทำงานแบบไหนเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ดีในระดับองค์กร สำหรับ HR หรือหัวหน้างานใช้ในการทำความเข้าใจพนักงานเพื่อที่จะ put the right man in the right job ได้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารคนและบริหารงาน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน นำไปสู่ประสิทธิภาพงานที่ดีที่สุดตามมานั่นเอง
แบบทดสอบต่อไปเป็นแบบทดสอบบุคลิกภาพที่ได้รับความนิยมไม่แพ้ MBIT ยิ่งสำหรับคนไทยอาจจะต้องบอกว่าคุ้นเคยกับชื่อนี้กันมากกว่าด้วยซ้ำ นั่นคือ ‘นพลักษณ์’ หรือ ‘Enneagram’ เป็นศาสตร์โบราณอย่างหนึ่งที่ใช้ในการทำความเข้าใจบุคลิกภาพของคน ผ่านการตอบคำถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการใช้ชีวิต หรือมุมมองที่มีต่อโลก โดยจะแบ่งออกเป็น 9 ลักษณะ คือ
ลักษณ์ 1 คนสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)
ลักษณ์ 2 ผู้ให้ (Giver)
ลักษณ์ 3 นักแสดง (Performer)
ลักษณ์ 4 คนโศกซึ้ง (Tragic Romantic)
ลักษณ์ 5 ผู้สังเกตการณ์ (Observer)
ลักษณ์ 6 นักปุจฉา (Questioner)
ลักษณ์ 7 ผู้เสพสุข (Epicure)
ลักษณ์ 8 ผู้ปกป้อง (Protector)
ลักษณ์ 9 ผู้ประสานไมตรี (Peacemaker)
หากเทียบกับแบบทดสอบบุคลิกภาพอื่นๆ ที่เน้นวิเคราะห์พฤติกรรม คำถามของแบบทดสอบนพลักษณ์จะเจาะลึกในหลักความเชื่อและจิตวิญญาณควบคู่ไปด้วย นพลักษณ์จึงเป็นแบบทดสอบที่ทำให้ผู้คนตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเองได้อย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงการทำความเข้าใจและรักษาความสัมพันธ์ที่โยงใยในชีวิต
หลายคนอาจเคยผ่านการทำแบบทดสอบนี้มาในวิชาแนะแนวสมัยเรียนมัธยม หรือสำหรับภาคธุรกิจ บริษัทใหญ่ๆ บางองค์กรก็ใช้นพลักษณ์เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาบุคคลในองค์กร พัฒนาสภาวะผู้นำ และสร้างความเป็นทีมเวิร์กในการทำงานด้วย
แบบทดสอบบุคลิกภาพต่อมาที่จะแนะนำให้ทุกคนรู้จักชื่ออาจจะไม่คุ้นหูมากนัก แต่เป็นแบบทดสอบที่ถูกคิดค้นมาอย่างยาวนานแล้วเช่นกัน นั่นก็คือ ‘The Big Five’ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกลุ่มพฤติกรรมมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับจากนักจิตวิทยาในระดับสากล
โดย The Big Five จะเน้นการศึกษาลักษณะนิสัย (Traits) เป็นหลัก แบ่งออกเป็น 5 คุณลักษณะ ที่หลายคนอาจเรียกรวมๆ กันว่า ‘OCEAN’ แยกย่อยได้เป็น
O (Openness to experience) : การเปิดรับประสบการณ์
C (Conscientiousness) : การมีจิตสำนึก
E (Extraversion) : การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
A (Agreeableness) : การเป็นมิตรต่อผู้อื่น
N (Neuroticism) : ความไม่มั่นคงทางอารมณ์
The Big Five เป็นแบบทดสอบบุคลิกภาพที่หลายคนบอกว่ามีความเป็นวิทยาศาสตร์สูง ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำแบบสอบถามจะถูกพล็อตกราฟอธิบายคุณลักษณะนิสัยด้านต่างๆ จัดเป็นแบบทดสอบที่ให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก ให้ผู้ทดสอบได้รู้จักลักษณะนิสัยของตัวเองมากขึ้น และได้รู้ทักษะแฝงภายใต้ลักษณะนิสัยของตัวเองที่อาจพัฒนาไปเป็นจุดแข็งได้เลยทีเดียว
ในการตัดสินใจอะไรซักอย่างในชีวิต การ ‘รู้จักตัวเอง’ เป็นอย่างดีคงช่วยให้การตัดสินใจแต่ละครั้งในชีวิตง่ายขึ้นไม่น้อย การทำแบบทดสอบบุคลิกภาพเลยช่วยดึงความเป็นเราออกมาให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เมื่อได้ลองทำแบบทดสอบหลายๆ ด้าน ได้เรียนรู้ตัวเองในแง่มุมต่างๆ ยิ่งช่วยให้เราตระหนักรู้ในตัวเองได้หลายมิติมากยิ่งขึ้น และการรู้จักตัวเองดีพอมันช่วยประหยัดเวลาที่เสียไปกับการลังเลในชีวิตไปได้อีกเยอะ เพราะชีวิตมันต้องง่าย!
เชื่อว่าไม่ว่าเราจะเป็นคนแบบไหน บุคลิกภาพเป็นยังไง ก็คงอยากให้ชีวิตมันง่ายกันทั้งนั้น แต่ภายใต้ ‘ความง่าย’ ของแต่ละคนก็มี condition ที่ไม่เหมือนกัน กรุงศรีเลยอยากชวนทุกคนมาทำแบบทดสอบ ‘ความง่าย’ ในชีวิต ผ่าน Line Chatbot ของกรุงศรี เพื่อวิเคราะห์ตัวตนการเป็นคนง่ายๆ ของแต่ละคนผ่าน ‘ทฤษฎีไข่ดาว’
ด้วยการเลือกไข่ดาวตามลักษณะที่ชอบ กับ 3 คำถามง่ายๆ ใช้เวลาเพียง 45 วินาที แค่
1. แอด Line : @KrungsriSimple คลิก https://bit.ly/krungsri_corp_lcb_fbpost
2. พิมพ์คำว่า “ชีวิตง่าย” ในช่องแชท
3. เริ่มทำแบบสอบถาม
4. แชร์ผลลัพธ์กับเพื่อนๆ ได้เลย
5. เท่านี้ก็จะได้รู้นิยามความง่ายในแบบฉบับของตัวเองแล้ว
ที่ใครต่อใครพูดกันว่าคนไทยเป็นคนง่ายๆ ในความเป็นจริงแล้วแม้แต่เมนูที่คนไทยนิยามว่าเป็น ‘เมนูง่ายๆ’ อย่างไข่ดาวก็ยังมีความสุกหลากหลายเลเวล ตามความชอบที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน
แบบทดสอบของกรุงศรีเลยพาทุกคนสำรวจตัวเองผ่านคำถามสั้นๆ 3 ข้อที่จะอธิบายความง่ายภายใต้ทฤษฎีไข่ดาว
‘คุณชอบกินไข่ดาวแบบไหน’
‘คุณเริ่มกินไข่ดาวส่วนไหนเป็นคำแรก’
‘เวลากิน คุณชอบทำอะไรไปด้วย’
และคำตอบที่ได้จะถูกนำไปวิเคราะห์ตีความเป็นนิยามความง่ายที่แตกต่างกัน พร้อมแนะนำโซลูชันทางการเงินที่ง่ายและเหมาะกับลักษณะนิสัยการใช้งานของเราที่สุดด้วย
ถ้าแบบทดสอบบุคลิกภาพทำให้เราเข้าใจความเป็นตัวเองมากขึ้น ตัดสินใจเลือกทางที่เหมาะกับตัวเองได้ง่ายขึ้น แบบทดสอบทฤษฎีไข่ดาวของกรุงศรีก็ทำให้เราเข้าใจว่า คำว่าง่ายไม่ได้หมายถึงอะไรก็ได้ เพราะแต่ละคนมีความชอบที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับโซลูชันทางการเงินที่ความง่ายและตอบโจทย์ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกันนั่นเอง เราขอพาไปสำรวจกันซักนิดว่า โซลูชันการเงินจากกรุงศรีแบบใดเหมาะกับใครเป็นพิเศษบ้าง
ไข่ดาวแบบไหนก็ได้ เน้นง่ายๆ : คนง่ายๆ สายชิล เน้นความสบาย ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน : เหมาะกับ krungsri app, krungsri Mung-Mee SHOP, Biz Online เน้นใช้จ่ายง่าย คล่อง เปย์สบาย
เก็บไข่แดงไว้คำสุดท้าย : คนง่ายๆ สายคิดบวก ชอบวางแผน : เหมาะกับ Kept, @ccess Mobile กองทุนกรุงศรี, Stock EXPERT, Krungsri iFUND : เน้นต่อยอด เก็บออมดอกเบี้ยสูง ลงทุนเพิ่มพูนเงินต้น
ไข่ดาวแบบพิเศษไข่แดงหลายฟอง : คนง่ายๆ แบบชอบความพิเศษ : เหมาะกับ UCHOOSE, GO by Krungsri Auto : เน้นความพิเศษในหลายมิติ มาพร้อมโปรโมชันและสิทธิพิเศษจากบัตรเครดิตกรุงศรี และ กรุงศรี ออโต้
บอกเลยว่าผลลัพธ์ข้างบนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแบบทดสอบทฤษฎีไข่ดาวเท่านั้นนะ ถ้าใครอยากรู้ว่าตัวเองเป็นคนง่ายๆ สายไหน เหมาะกับโซลูชันการเงินแบบไหนต้องแอดไลน์กรุงศรีแล้วทำแบบทดสอบด่วนๆ
ในขณะที่เราทุกคนพยายามเข้าใจตัวเองเพื่อตอบโจทย์ชีวิตให้ง่ายมากขึ้น กรุงศรีเองก็พร้อมทำความเข้าใจในความแตกต่างของไลฟ์สไตล์แต่ละคน เพื่อนำเสนอโซลูชันการเงินที่ทำให้ ‘ชีวิตง่าย ได้ทุกวัน’ เช่นกัน
และเพื่อต่อยอดโจทย์ความง่ายที่ลูกค้าแต่ละคนต้องการไม่เหมือนกัน จึงได้เกิดเป็น Line Chatbot ไข่ดาวนี้ขึ้นมา เพื่อตอกย้ำความเป็น Champion of Simplicity ที่ทำให้ ‘ความง่าย = กรุงศรี’ นั่นเอง
สำรวจตัวเองผ่านทฤษฎีไข่ดาวจากกรุงศรีได้แล้ววันนี้ผ่าน Line Chatbot : @KrungsriSimple หรือคลิก https://bit.ly/krungsri_corp_lcb_fbpost
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.16personalities.com
https://www.discprofile.com
https://www.mycareer-th.com
https://th.hrnote.asia
https://www.rama.mahidol.ac.th
https://bigfive-test.com
https://www.psy.chula.ac.th
https://enneagramthailand.org