ทุกครั้งที่มีข่าวเกี่ยวกับมลพิษ สิ่งแวดล้อมที่แย่ลง เราก็จะเห็นคนแชร์นวัตกรรมที่ทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น ลดมลพิษและกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เรากดถูกใจ และอยากแชร์ให้ไปถึงผู้มีอำนาจทั้งหลาย ว่าทำไมถึงไม่มีนวัตกรรมแบบนี้ในประเทศไทยสักที
โดยเฉพาะช่วงที่ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องฝุ่นละออง ขยะพลาสติกในท้องทะเล และที่สำคัญคือ การจัดสรรพื้นที่สีเขียวในเมือง ที่นับวันยิ่งน้อยลง ยังไม่รวมเรื่องการจัดการต้นไม้ที่ไม่มีประสิทธิภาพของเมืองต่างๆ ในประเทศจนเป็นดราม่าให้เห็นอยู่เรื่อยๆ
รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และหัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center–RISC) ของ MQDC ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานในประเทศไทยที่ศึกษานวัตกรรมด้านที่อยู่อาศัย ได้กล่าวถึงเป้าหมายของศูนย์ไว้ว่า “RISC จะทำการศึกษาและวิจัยภายใต้หลักการ นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งพยายามค้นคว้าวิจัยให้บรรลุเป้าหมายทางสุขภาวะและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ช่วยส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น รวมทั้งเพื่อการพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ” โดยได้นำนวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหลายอย่างเข้าไปบูรณาการในโครงการ The Forestias by MQDC เนื่องจากโครงการนี้ ตั้งมาตรฐานในระดับ World class
The Forestias by MQDC เป็นโมเดลที่อยู่อาศัยแบบ Mixed-Use ขนาดใหญ่ที่นำแนวคิดการอยู่ร่วมกัน ธรรมชาติ สัตว์ และระบบนิเวศ มาปรับใช้ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุลแห่งแรกของโลก ภายใต้แนวคิด ‘For all well-being’ ที่ต้องการให้ทุกชีวิตในพื้นที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อคนทุกเจเนอร์เรชั่น รวมถึงมีทั้ง รีเทล โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์สุขภาพ พื้นที่สำหรับชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ และผืนป่ากลางเมืองที่มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ผสานเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยในโครงการประกอบด้วย Whizdom The Forestias เป็นบ้านแบบ Vertical Living เพื่อการอยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ และได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติแม้อยู่ในเมือง, The Aspen Tree โครงการภายใต้แนวคิด Healthy Living Community สำหรับ Active seniors ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่จะดูแลกันไปตลอด และ Mulberry Grove The Forestias ซึ่งมี Concept Intergeneration Living Community สำหรับครอบครัวที่สามารถอยู่อาศัยร่วมกันได้ทุกเจเนอเรชั่น ซึ่งทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ บริเวณบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 5-7
วันนี้เรามีโอกาสได้คุยกับ รศ. ดร.สิงห์ อินทรชูโต เรื่อง Sustainnovation ว่าคืออะไร มีอะไรบ้างที่ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมแห่งนี้กำลังพัฒนาอยู่ และจะเอาไปใช้ในโครงการต่างๆ รวมทั้งที่ The Forestias by MQDC
Sustainable innovation คืออะไร
คำว่า Sustainable innovation คือการผนวกกันของความคิดระหว่าง Sustainability กับ Innovation
Sustainability หรือความยั่งยืน คือการสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการต่างๆ ของเรากับระบบนิเวศ สังคมและวัฒนธรรม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วน Innovation หรือ นวัตกรรม จะมี 3 องค์ประกอบ คือ หนึ่งต้องใหม่ สองเกิดการใช้งานจริงแล้ว และสามคือ มีประโยชน์จริงๆ
ผมคิดว่าถ้าพูดง่ายๆ Sustainnovation ก็คงจะหมายถึง แนวทางหรือเทคโนโลยีใหม่ ที่นำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์อย่างชัดเจนในการรักษาสิ่งแวดล้อม รักษาความสมดุล ไม่ว่าจะเป็นเชิงพาณิชย์ เกิดประโยชน์ต่อความสุขของคน เกิดประโยชน์ต่อการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ถ้ามีประโยชน์ในด้านใดก็ตาม เราสามารถเรียกว่า Sustainnovation อย่างที่ The Forestias ทำอยู่ เช่นการส่งน้ำเย็นไปตามอาคาร ตามบ้านในโครงการ ทำให้เราไม่ต้องติดตั้ง Compressors ซึ่งเป็นตัวที่ปล่อยลมร้อนจากการปรับอากาศ การส่งน้ำเย็นแทนทำให้ลดลมร้อนในพื้นที่โครงการทั้งหมด อากาศก็จะเย็นลงหรือว่า ไม่ร้อนเพิ่มขึ้น การส่งน้ำเย็นไปจะทำให้เราได้ความเย็นจากอุณหภูมิของน้ำ สิ่งเหล่านี้สามารถลดอุณหภูมิโดยรวมของพื้นที่ได้ แล้วตอนนี้เรากำลังพัฒนาวัสดุที่ใช้ทำถนนหนทาง ขอบถนน กำแพง ทางเดินเท้าต่างๆ ที่จะมีส่วนผสมของขยะพลาสติกโดยเฉพาะขยะพลาสติกที่เก็บจากทะเล ซึ่งเราพัฒนาขึ้นมาหลายสูตร ใช้วัสดุประสานหลายชนิด เพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน
อันนี้คือสิ่งที่สำคัญมากครับเพราะ มันจะแก้ปัญหาหลายด้านพร้อมๆ กัน ทั้งช่วยแก้ปัญหาขยะล้นโลก ช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มการรีไซเคิล พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ และการพัฒนานวัตกรรมที่ต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ ผมหวังว่าเราจะช่วยให้โครงการใหญ่อย่าง The Forestias นี้ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลงไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ครับ
ป่าในโครงการที่ให้คนและสัตว์อยู่ร่วมกันได้
ในโครงการนี้จะเห็นว่าพื้นที่ป่าใหญ่มาก แต่การใส่ป่าเข้าไป มันไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ง่ายในเชิงการเงินและไม่ง่ายในเชิงระบบนิเวศของเมือง เราต้องสร้างความสมดุลระหว่างป่าสำหรับให้คนหรือว่าให้สัตว์
ส่วนที่เราไปมีส่วนร่วมมากๆ คือเราเข้าไปศึกษาตั้งแต่ต้นว่า พื้นที่เดิมที่มีอยู่ มันมีสัตว์กี่ชนิด เช่น มีนกกี่ชนิด สัตว์เลื้อยคลานกี่ชนิด ปลากี่ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกี่ชนิด พืชพันธุ์ไม้พุ่มกี่ชนิด ไม้ต้นใหญ่กี่ชนิด สิ่งเหล่านี้ที่ทำให้เราเข้าใจว่าระบบนิเวศปัจจุบันมันเป็นยังไง เมื่อเราสร้างอาคารเข้าไป สร้างป่าขึ้นมา เรารักษาระบบนิเวศเดิมได้ไหม หรือเราเพิ่ม สัตว์ต่างๆ เข้ามาให้อยู่ที่นี่อย่างมีความสุขขึ้น ตรงนี้ครับคือสิ่งที่ผมคิดว่าน่าตื่นเต้นมากที่เราสามารถที่จะเอาป่าขนาดใหญ่ เข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่ชุมชนอยู่ โดยที่ชุมชนไม่ได้เข้าไปรบกวนสัตว์ต่างๆ ในโครงการเราพบ นกกว่า 50 กว่าชนิดที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว และคิดว่าจะสามารถดึงนกในธรรมชาติเข้ามาได้เพราะว่าจะมีสิ่งที่นกกินได้ เช่น แมลง ดอกไม้ เกสรดอกไม้ เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีนกกว่า 150 สายพันธ์ุ และต้นไม้อย่างน้อย 50,000 ต้น 350 สายพันธุ์
ความยั่งยืนมันจะเกิดขึ้นจริง และไม่เป็นแค่เทรนด์
เหตุผลที่เราตั้ง RISC ขึ้นมา เหตุผลหลักเลยนะครับ คือ เรามีความตั้งใจที่จะช่วยยกระดับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมการออกแบบและการก่อสร้าง
ถ้าจะถามผมว่าโอกาสที่ในอนาคตทุกตึก ทุกอาคาร ทุก Developers ต้องพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของโลกนี้ ผมคิดว่ามันเป็นไปได้เพราะโลกเราโทรมมากแล้ว จึงได้ตั้ง RISC ขึ้นมาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาความรู้ ผ่านการทดลองใช้ในโครงการจริง และเผยแพร่องค์ความรู้และเทคโนโลยีเหล่านี้สู่สังคม ถ้าผู้ประกอบการต่างๆ มีองค์ความรู้พอ ถ้าเขาเปิดใจพอที่จะมานำข้อมูลใหม่ๆ ไปใช้ ถ้าเขามี Access เข้าถึงข้อมูลก็น่าจะเป็นไปได้ครับว่า มันจะเกิดขึ้นวันหนึ่งแน่ๆ เพราะขณะนี้สภาพแวดล้อมมันกำลังเสื่อมถอย กำลังพัง ฉะนั้นมันต้องเกิด แต่จะเกิดขึ้นเร็วและในเวลาเท่าไหร่ ผมคิดว่า RISC มีหน้าที่คือเป็นตัวเร่ง Speed ให้เร็วขึ้น เอาข้อมูลมาถ่ายทอดให้ง่ายขึ้น ไม่มีค่าใช้จ่าย
ผมเคยพูดกับนักวิจัยหลายๆ คน บอกว่าเมื่อ 50 ปีที่แล้ว เรามีเทคโนโลยีไม่เยอะ แต่เรามี Freedom มาก เราปล่อยให้ลูกวิ่งไปไหนก็ได้ ไม่ต้องสนใจเลย เดี๋ยวตกเย็นก็กลับมากินอาหารเอง
40 ปีต่อมา เราเริ่มบอกว่าอย่าไปไกลกว่าหมู่บ้านนะ ไปเที่ยวในบริเวณหมู่บ้านเราได้ อย่าไปไกลกว่านั้น เพราะว่าเราไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้น
30 ปีต่อมา เราบอกลูกหลานว่าให้อยู่แต่ในชุมชนเรานะ เริ่มมี Community ที่มีกำแพงกั้นแล้ว ภายในชุมชนนี้โอเควิ่งเล่นได้
10-20 ปีต่อมา เราบอกว่าให้เขาอยู่ได้แค่ในรั้วบ้านนะ อย่าออกไป มันอันตราย
ปีนี้เราเริ่มบอกว่าอยู่แต่ในตึกนะ อย่าออกไป ฝุ่นมันอันตราย ไม่ดี ออกไปต้องใส่หน้ากากนะ นี่คือเกิดขึ้นปี 2019 นี้ ลองนึกดูสิครับว่าอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นอย่างไร เราอาจต้องเดินใส่ชุดอวกาศบนโลกก็ได้
ส่วนเรื่องความยั่งยืนในอนาคต ผมคิดว่าเราต้องเปลี่ยนจากคำว่า Sustainability เป็นคำว่า Resilience หรือหมายถึงการปรับตัวเองให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ หรือตอบอีกอย่าง คือเราจะเปลี่ยนคำว่า Sustainability ไปสู่ Resilience โดยใช้ Sustainnovation นี่แหละครับ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เราอยู่ได้ อย่างน้อยในสภาพที่มันเปลี่ยนแปลงไปอีกสักพักหนึ่งเลย
The Forestias by MQDC สารานุกรมขนาดใหญ่ในหมวดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน
ผมมีความตื่นเต้นกับโครงการ The Forestias by MQDC มากเป็นพิเศษ รู้สึกว่ามันไม่บ่อยครั้ง ที่เราจะพูดถึงเรื่องการทำให้สภาพภูมิอากาศของโครงการเราดีขึ้น ปกติแล้วจะพูดถึงเรื่องว่าอาคารมันดีกับเรายังไง สะดวกกับเรายังไง ประหยัดพลังงานได้เท่าไหร่ เรามักมองด้านการใช้งานเป็นหลัก แต่ในบริบทของ The Forestias เราต้องวางแผนว่าทำอย่างไรให้คนมีความสุข ทำอย่างไรให้สัตว์ก็มีความสุข ทำอย่างไรให้แมลง งู ก็อยู่ได้ เพราะทุกอย่างจะรักษาความสมดุลซึ่งกันและกัน พอเราคิดเสร็จแล้วจะเริ่มมองว่า ถ้าอย่างนั้นแม้แต่ปลวก เราก็ฆ่าไม่ได้สิ ปลวกคงไม่มีความสุขที่ถูกตามล่า แต่มันยิ่งกว่านั้นครับ เพราะการฆ่าปลวกคือการฆ่าจุลินทรีย์ในดินไปด้วย เป็นการทำลายพลังงานในดินไปพร้อมๆ กัน
เราเองก็ยังไม่รู้ว่า Encyclopedia เล่มใหญ่ที่ชื่อ The Forestias มันจะเป็นอย่างไร เพราะมัน Set Standard ไว้สูงมาก ทำทุกอย่างสุดโต่งไปหมดเลย ต้องดีที่สุด ต้องเป็นมิตรที่สุด ต้องกรีนที่สุด ซึ่งผมไม่ทราบว่ามันอยู่ในจุด สมดุลเชิงการเงินได้อย่างไร แต่ที่แน่ๆ โครงการคงมีแนวทางที่ชาญฉลาดมากเชิงการเงิน เพื่อจะสร้างโครงการ World class นี้ ผมและทีมวิจัย ก็ลุยกันเต็มที่ครับ Encyclopedia เล่มนี้ มันจะได้ทั้งเทคโนโลยี ได้ทั้ง Philosophy ได้ทั้งความสมดุล การเรียนรู้ องค์ความรู้ต่างๆ รวมทั้งความเข้าใจเรื่องการจัดทำ การเงิน การบัญชี เพื่อทำให้โครงการที่ดีระดับ World class นี้ประสบความสำเร็จรอบด้านครับ