ไม่ว่าเวลาจะผันเปลี่ยนไปกี่ยุคสมัยก็ตาม ‘บ้าน’ ยังคงเป็นพื้นที่พื้นฐานที่สุดสำหรับทุกชีวิต
บ้านในบทบาทของพื้นที่อยู่อาศัยยังคงยืนหยัดอยู่ท่ามกลางบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเทรนด์ของการออกแบบ รูปแบบการใช้ชีวิต เทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งปัจจัยแทรกซ้อนระดับมหภาคอย่างโรคระบาดที่พวกเรากำลังเผชิญกันอยู่
แม้นิยามคำว่า ‘บ้าน’ สำหรับแต่ละคนจะมีรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย แต่หัวใจสำคัญที่สุดสำหรับการออกแบบบ้าน คือพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการค้นหาความต้องการของผู้อยู่อาศัย เช่นเดียวกับ MQDC กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวทางงานวิจัยเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในอนาคต ด้วยแนวทาง For All Well-Being เพื่อนำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิตและความสุขอย่างยั่งยืน ภายใต้การเติบโตของโลกที่หมุนเปลี่ยนไปในทุกวัน
ทำไมต้องเลือก ‘ทำเล’?

ภาพ Magnolias Ratchadamri Boulevard
ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตอย่างที่ทุกคนทราบกันดีตั้งแต่ยุคโบราณกาล จากอดีตที่การตั้งถิ่นฐานของบ้านเกิดขึ้นพร้อมการตั้งพื้นที่ทำกินทางเกษตรกรรมสำหรับเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว สร้างระบบเศรษฐกิจภายในครัวเรือน แต่เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมและยังต้องการการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันบวกกับนวัตกรรมที่เติบโตสร้างระบบอุตสาหกรรม แบ่งแยกพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำงานออกจากกันอย่างชัดเจน
พื้นที่ทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผลิตอย่างโรงงานอุตสาหกรรม หรือฝ่ายบริหารอย่างอาคารสำนักงานซึ่งนำไปสู่การเกิดขึ้นของสังคมเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เมื่อที่ทำงานถูกตัดขาดออกจากการอยู่อาศัยอย่างชัดเจน ปัจจัยสำคัญที่เพิ่มขึ้นมาในการใช้ชีวิตจึงเป็นเรื่องการคมนาคม เทรนด์การเลือกที่อยู่อาศัยของผู้คนในยุคใหม่ลากยาวมาถึงปัจจุบัน จึงมีปัจจัยเรื่องทำเลเป็นสำคัญ
บ้านที่อยู่อาศัย สู่บ้านเอนกประสงค์

ภาพ The Residences at Mandarin Oriental, Bangkok
กาลเวลานำพาให้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ผนวกรวมเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างไม่รู้ตัว แม้นวัตกรรมเหล่านี้จะมีส่วนร่วมในการทำงานของผู้คนมานานแสนนานแล้ว แต่วิถีชีวิตที่ต้องเดินทางจากบ้านไปที่ทำงานก็ยังคงเป็นรูทีนของใครหลายคน จนกระทั่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาถึง
Work From Home กลายเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างฉับพลันของผู้คนใน พ.ศ. นี้ นำมาสู่การใช้งานเทคโนโลยีในฐานะผู้อำนวยความสะดวกสบายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพกว่าที่เคย นี่จึงกลายเป็นการสร้างเทรนด์ใหม่ของผู้คนที่เลือกจะใช้ชีวิตติดบ้านมากยิ่งขึ้น จึงเป็นโจทย์ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยุคหลังโควิด-19 ที่นอกจากฟังก์ชันของบ้านสำหรับการอยู่อาศัยแล้ว บ้านหลังนี้จะต้องตอบโจทย์สำหรับการใช้ชีวิตได้ตลอดทั้งวัน รองรับพฤติกรรมทั้งการทำงาน การพักผ่อน และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ
Everything At Home เศรษฐกิจติดบ้าน

ภาพ FutureTales Lab
สอดคล้องงานวิจัยของ FutureTales Lab ที่บอกว่า ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อบ้าน ประเด็นของ ‘ระยะห่างทางสังคม’ อาจกลายเป็นปัจจัยสำคัญมากกว่าเรื่อง ‘ทำเล’ ทำให้เกิดแนวคิด Everything At Home หรือ เศรษฐกิจติดบ้าน ซึ่งทำให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ต้องปรับตัวในการออกแบบ เพื่อตอบสนองสุขภาพและความสุขของผู้อยู่อาศัย ผ่านการออกแบบวางผังโครงการ พร้อมกับสาธารณูปโภคที่รองรับไลฟ์สไตล์ ที่ทำให้บ้านกลายเป็นพื้นที่สำหรับการใช้ชีวิตประจำวันที่แท้จริง
เทรนด์หลักสำหรับบ้านในยุคนี้จึงเป็นเรื่องของความต้องการพื้นที่ปริมาณมากขึ้นรองรับกิจกรรมที่หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านและพื้นที่ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการใช้ชีวิต ยกตัวอย่างการตัดสินใจซื้อบ้านนอกเมืองออกไปอีกนิดเพื่อให้ได้พื้นที่มากขึ้น การปรับเปลี่ยนบ้านพักตากอากาศกลายเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำ หรือแม้แต่คอนโดมิเนียมที่มีขนาดจำกัด ก็ต้องมีพื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้งาน เช่น การจัดพื้นที่ทำอาหาร ทำงาน และออกกำลังกายได้ในเวลาเดียวกัน
MQDC : จากคุณค่าในงานวิจัย สู่การออกแบบเพื่อคุณภาพชีวิต

ภาพ The Forestias
MQDC ได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมความต้องการที่อยู่อาศัยและเทรนด์ในอนาคต เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยทุกโครงการในเครือให้อยู่ภายใต้แนวคิด เศรษฐกิจติดบ้าน
ยกตัวอย่างโครงการ ‘เดอะ ฟอเรสเทียส์ (The Forestias)’ ที่นำผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่บ่งชี้ว่า ถ้ามนุษย์เราได้อยู่กับธรรมชาติทุกวันจะช่วยลดสภาวะความเครียด และเป็นปัจจัยส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น มาสร้างพื้นที่สีเขียวของป่าจริงซึ่งปกคลุมโครงการมากกว่า 70% บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ นับเป็นโครงการแรกของโลกที่มีการสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ของการอยู่บ้านที่มีผืนป่าล้อมรอบ

ภาพ Mulberry Grove Sukhumvit
และโครงการ ‘มัลเบอร์รี่ โกรฟ สุขุมวิท (Mulberry Grove Sukhumvit)’ ที่ออกแบบให้ตอบโจทย์การอยู่อาศัยของครอบครัวหลากหลายช่วงวัย สืบเนื่องจากงานวิจัยที่ว่า คนเรามีความต้องการที่จะอยู่ร่วมกันกับครอบครัว โดยทางโครงการมีบริการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่คอยให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือตลอด 24 ชม. รวมทั้งไฮไลต์สำคัญที่พื้นที่ห้องครัวขนาดใหญ่ รองรับไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่นิยมทำอาหารในบ้านมากขึ้น เพราะมื้ออาหารคือจุดร่วมที่เชื่อมความสัมพันธ์ของผู้คนทุกวัยเข้าด้วยกัน
โดยโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ MQDC อยู่ระหว่างการพัฒนาแบบ ขาย ก่อสร้าง และอยู่ในช่วงการโอน มีทั้งหมด 24 โครงการ มูลค่ารวมมากกว่า 300,000 ล้านบาท โดยเฉพาะ 2 โครงการระดับซูเปอร์ลักชัวรี ทั้งแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์ ณ ไอคอนสยาม และเดอะเรสซิเดนซ์ แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ที่มีมูลค่าโครงการรวมกว่า 20,000 ล้านบาท และมียอดโอนรวมกันแล้วกว่า 15,000 ล้านบาท นับเป็นความไว้วางใจจากผู้บริโภค จากจุดแข็งที่แต่ละโครงการของ MQDC มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งทั้งหมดสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและความสุขของทุกชีวิตอย่างยั่งยืน หรือ For All Well-Being อย่างแท้จริง
และมีข่าวว่าเร็วๆ นี้ ทาง MQDC เตรียมแผนการระดมทุนครั้งใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการลงทุนของโครงการต่างๆ มากมาย ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อผู้จัดการการขายหุ้นกู้ได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร 02-648-1111
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนที่ https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSDE01.aspx?TransID=300814