เราต่างคุ้นเคยกันดีกว่า ‘โตโยต้า’ คือแบรนด์รถยนต์ที่มียอดขายอันดับต้นๆ ของไทยและของโลก ที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสู่ตลาดยานยนต์เสมอ และภายใต้ผลการดำเนินธุรกิจที่มีผลประกอบการอันยอดเยี่ยมเช่นนี้ สิ่งที่แบรนด์จะขาดไม่ได้คือแนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ที่เรารู้จักกันดี
จากการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าในประเทศไทยมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2505 โตโยต้ามีความมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคมด้วยการมอบความสุขสู่สังคมไทย ภายใต้สโลแกน “โตโยต้า ขับเคลื่อนความสุข” ผ่านโครงการและกิจกรรมมากมายที่ได้รับการผลักดันเพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ โอกาส และประสบการณ์สู่สังคมมาโดยตลอด ด้วยความเชื่อว่า การแบ่งปันที่ไม่สิ้นสุด คือการแบ่งปันภูมิปัญญา
The MATTER มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย และ คุณวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ถึงเบื้องหลังของการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของโตโยต้า และเป้าหมายในการแบ่งปันที่ไม่สิ้นสุด ว่าจะขับเคลื่อนความสุขให้กับคนในสังคมอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
จุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนความสุข
“ส่งเสริมพัฒนาการและสวัสดิการของประเทศ ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตของชุมชน ในประเทศที่โตโยต้าเข้าไปดำเนินธุรกิจ”
คือปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าทั่วโลกรวมถึงโตโยต้า ประเทศไทยด้วย เป็นแนวคิดที่เป็นรากฐานอันแข็งแกร่งจากผู้ก่อตั้งโตโยต้า มร.ซากิชิ โตโยดะ ผู้ก่อตั้งโตโยต้า ที่นอกจากจะส่งมอบสินค้าและบริการที่ดีแล้ว ยังจำเป็นต้องมอบสิ่งดีๆ คืนกลับไปสังคมด้วยเช่นกัน โดยโตโยต้าได้ร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศและบริษัทฯ ในเครือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมท้องถิ่น ทั้งในรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น ผ่านการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม ใน 3 ด้านได้แก่ ด้านสังคม ภายใต้ ‘มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย’ รวมถึงการแบ่งปันความรู้เรื่องการใช้รถใช้ถนนและการขับขี่อย่างปลอดภัย ภายใต้โครงการ ‘โตโยต้า ถนนสีขาว’ ด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการ ‘โตโยต้าเมืองสีเขียว’ และด้านเศรษฐกิจ ผ่านโครงการ ‘โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์’
“ความสุขนั้นเกิดได้จากหลายรูปแบบ แต่รูปแบบความสุขที่โตโยต้าเล็งเห็นนั้น คือความสุขที่ยั่งยืน อันเกิดจากการที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือหรือสร้างความสุขให้ผู้อื่น และคนเหล่านั้นสามารถส่งต่อความสุขให้กับคนอื่นๆ ต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นความสุขที่เกิดจากการแบ่งปัน”
การแบ่งปันที่ว่าไม่ได้หมายความถึงการแบ่งปันเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่โตโยต้ากลับมองเห็นรูปแบบของการแบ่งปันที่ดีสุดคือการ ‘แบ่งปัญญ์’ หรือการแบ่งปันภูมิปัญญา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าออกมาเป็นตัวเงินได้ และยั่งยืนกว่า โตโยต้าจึงดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมโดยยึดมั่นในแนวทางดังกล่าวมาตลอด
“เราคาดหวังว่าผู้ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมของเรา จะนำภูมิปัญญาดังกล่าวไปส่งต่อแก่คนอื่นๆ เช่น นักเรียนทุนที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาจะนำโอกาสที่ได้ไปต่อยอดในการช่วยเหลือผู้อื่น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสิ่งแวดล้อมจะนำความรู้และจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมไปถ่ายทอดแก่คนใกล้ตัว หรือธุรกิจชุมชนที่ได้รับประสบการณ์จะนำประสบการณ์ไปส่งต่อแก่ธุรกิจชุมชนอื่นๆ ต่อไป”
เมื่อลองหาคำตอบว่า ทำไมการแบ่งปันจึงต้องไม่สิ้นสุด คำตอบในความหมายของโตโยต้าคือการส่งต่อภูมิปัญญา องค์ความรู้ รวมถึงประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ที่จะเปลี่ยนสถานะของผู้รับเป็นผู้ให้ และส่งต่อไปได้ในรูปแบบนี้ หมุนวนต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง
เป้าหมายด้านสังคมกับโอกาสด้านการศึกษา
ปัจจุบันปัญหาส่วนใหญ่ในสังคมไทย ล้วนแล้วแต่มีรากฐานจากคุณภาพของการศึกษาที่ยังคงเป็นปัญหาในพื้นที่ห่างไกล ทำให้โครงการเพื่อสังคมส่วนใหญ่ในหลายองค์กรต่างร่วมมือกันเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ โดยหนึ่งในนั้นคือ ‘มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย’ ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ด้วยแนวคิดสำคัญคือ ชุมชนและสังคมที่เข้มแข็งต้องอยู่บนรากฐานที่มั่นคงของการศึกษาและคุณภาพชีวิตที่ดี จึงมุ่งมั่นในการดำเนินงานผ่าน 3 ส่วน ได้แก่ 1) พัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน และคนพิการ 2) ส่งเสริมการดำเนินการขององค์กรสาธารณกุศลต่างๆ และ 3) ส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน
“ทุกโครงการล้วนมีจุดประสงค์เพื่อจะยกระดับชีวิตของเด็กและเยาวชน รวมถึงชุมชนที่ยังขาดแคลนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นประชากรที่มีศักยภาพ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญของประเทศ และเป็นการสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็ง”
ตลอดระยะเวลา 26 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิโตโยต้าฯ ได้มอบทุนสนับสนุนเพื่อส่งเสริมสังคมไทยจำนวนมาก โดยแบ่งออกเป็นโครงการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต จำนวน 9 โครงการ และส่งเสริมการดำเนินการขององค์กรสาธารณกุศล อีกกว่า 57 โครงการ รวมไปถึงการส่งเสริมสังคมทางด้านการศึกษาที่มูลนิธิให้ความสำคัญมากที่สุด โดยแบ่งปันโอกาสแก่เยาวชนที่ขาดแคลน เป็นทุนการศึกษาไปแล้วทั้งสิ้น 13,641 ทุน โดยหวังว่านักเรียนทุนจะนำภูมิปัญญาและโอกาสที่ได้รับ ไปถ่ายทอด ต่อยอด เพื่อสร้างประโยชน์แก่ผู้อื่น
“การแบ่งปันโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในชุมชนที่ขาดแคลน คือจุดเริ่มต้นในการทำให้คนคนหนึ่งนำโอกาสที่ได้มาต่อยอด ด้วยการส่งต่อความรู้หรือสิ่งตนเองเคยได้รับมาไปถ่ายทอด ช่วยเหลือ หรือพัฒนาชุมชนของตนเองได้ ในบางโครงการเราจึงมีเงื่อนไขกับนักเรียนผู้ได้รับทุนว่า หลังจากคุณเรียนจบ คุณต้องนำองค์ความรู้กลับไปพัฒนาพื้นที่ของคุณ ซึ่งเป็นแนวคิดที่แสดงให้เห็นถึงการแบ่งปันที่ไม่สิ้นสุด”
ด้วยปัจจุบันนี้สภาวะสังคมไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุในเร็ววันนี้ ทำให้แผนในอนาคตของมูลนิธิโตโยต้าฯ ได้กำหนดนโยบายใหม่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหานี้ ด้วยการร่วมมือกับ สภาการพยาบาล สนับสนุนทุนการศึกษาพยาบาลสาขาผู้สูงวัย และสนับสนุนทุนวิจัยโครงการศูนย์พยาบาลต้นแบบในชุมชน เพื่อลดปัญหาขาดแคลนบุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย และขับเคลื่อนความสุขที่ยั่งยืนแก่สังคมไทยในหลากหลายมิติมากขึ้น
พัฒนาคุณภาพชีวิตพร้อมผูกมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในฐานะที่โตโยต้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ปฏิเสธไม่ได้ว่า พันธกิจหนึ่งที่สำคัญคือการรับผิดชอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้โตโยต้าดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมไปถึงการจัดตั้ง โครงการ ‘โตโยต้าเมืองสีเขียว’ แบ่งปันองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่สังคมไทย ผ่านกิจกรรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดขึ้นทั่วประเทศ สอดคล้องกับพันธสัญญาที่เป็นความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทโตโยต้าทั่วโลก ในการลดผลกระทบเชิงลบด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นศูนย์ และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกเพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน หรือ ‘Toyota Environmental Challenge 2050’
“เรามีจุดมุ่งหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในทุกกระบวนการทำงาน นั่นคือ การจัดซื้อ การขนส่ง ต่อเนื่องมาถึงกระบวนการกลางน้ำ คือการผลิตในโรงงาน จนถึงปลายน้ำ นั่นคือ ผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการนำผลิตภัณฑ์มารีไซเคิลหรือการกำจัดซากอย่างถูกวิธี ประกอบกับความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่สังคมไทย จึงได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อแบ่งปันความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ ทั้งหมดนี้เป็นความตั้งใจที่จะสร้างประเทศไทยให้เป็นเมืองสีเขียว พัฒนาคุณภาพการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ ‘โตโยต้าเมืองสีเขียว’ เพื่อธรรมชาติ เพื่อทุกชีวิต”
ตลอดเวลาที่ผ่านมากว่า 10 ปี โครงการ ‘โตโยต้าเมืองสีเขียว’ ได้แบ่งปันองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมปลูกป่าชายเลน เพื่ออนุรักษ์ผืนป่าชายเลนบริเวณสถานตากอากาศบางปู กิจกรรมปลูกป่านิเวศ โดยใช้หลักการปลูกป่านิเวศอย่างยั่งยืน ตามแนวคิดของ ศ.ดร. อาคิระ มิยาวากิ (Miyawaki’s Method) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกป่านิเวศ
ญี่ปุ่น ที่ทำให้ป่าเติบโตเร็วขึ้น 10 เท่าตามวิวัฒนาการธรรมชาติ หรือ กิจกรรมลดเมืองร้อนด้วยมือเรา ร่วมกับชุมชนและโรงเรียนทั่วประเทศในการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่ของตน
“กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเรา เกิดจากความมุ่งมั่นที่จะผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นเมืองสีเขียว เพื่อธรรมชาติ เพื่อทุกชีวิตอย่างแท้จริง จึงมุ่งเน้นในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ให้คนสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน”
และในเดือนพฤศจิกายนนี้ ก็มีการเปิดตัว ‘โตโยต้าเมืองสีเขียว อยุธยา’ ศูนย์การเรียนรู้นอกโรงงานแห่งแรก เพื่อขยายองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมสู่สาธารณชนให้มากขึ้น โดยการร่วมมือกับจังหวัดอยุธยา ในการบูรณะเรือนจำเก่า จุดสกัดหัวรอ ให้กลายเป็น ศูนย์การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพการใช้ชีวิตในเมืองร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ส่งต่อแนวคิดด้านธุรกิจด้วยหลักคิดแบบโตโยต้า
ปัจจุบันธุรกิจชุมชนเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก แต่จากสถิติพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักประสบปัญหาในการบริหารจัดการธุรกิจด้วยตนเอง แตกต่างจากองค์กรใหญ่ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า จึงเป็นที่มาของโครงการ ‘โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์’ ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 มีจุดประสงค์ในการนำองค์ความรู้ในการทำธุรกิจของโตโยต้าที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น วิถีโตโยต้า (Toyota Way) ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System: TPS) และปรัชญาลูกค้าเป็นที่หนึ่ง (Customer First) มาถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจของประเทศ
“แนวคิดหนึ่งที่เราส่งต่อให้กับผู้ประกอบการคือ ไคเซ็น หรือการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราเชื่อว่าแนวคิดของโตโยต้านี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินงานอย่างมืออาชีพและพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง เปรียบเสมือนคำกล่าวที่ว่า ถ้าท่านให้ปลาแก่คนจน เขาจะมีปลากินเพียงแค่วันเดียว แต่ถ้าท่านสอนวิธีจับปลาให้เขา เขาจะมีกินไปตลอดชีวิต”
ขั้นตอนการทำงานของโครงการ จะแบ่งออกเป็นสามขั้นตอน ในขั้นต้น เน้นการแบ่งปันประสบการณ์แก่ธุรกิจชุมชน ซึ่งก็คือ ผู้ประกอบการ และพนักงานทั้งหมด ถ่ายทอดผ่านพนักงานเกษียณอายุผู้เชี่ยวชาญระบบการผลิตแบบโตโยต้า ที่ร่วมดำเนินงานศึกษาปัญหาและปรับปรุงธุรกิจของชุมชน เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มุ่งหวังคือธุรกิจชุมชนที่ดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ สามารถลดต้นทุน เพิ่มกำไร ซึ่งจะทำให้เกิดการแบ่งปันขั้นที่สอง นั่นคือชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและความสุขของพนักงานและชุมชน ก่อนที่การแบ่งปันในขั้นสุดท้าย จะเกิดเมื่อธุรกิจชุมชมสามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองและพัฒนางานได้อย่างต่อเนื่อง โตโยต้าจะตกลงกับผู้ประกอบการในการยกระดับให้กลายเป็น ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์สู่ธุรกิจชุมชนอื่นๆ ต่อไป
“เราหวังว่าการแบ่งปันองค์ความรู้สู่ธุรกิจชุมชนทั่วประเทศ ด้วยองค์ความรู้ของโตโยต้า จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาภาคเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และจะเป็นการขับเคลื่อนความสุขสู่สังคมไทยได้อย่างแท้จริง”
ปัจจุบันโตโยต้าได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ธุรกิจชุมชนแล้วทั้งหมด 12 แห่ง ใน 12 จังหวัด และภายในปี 2561 โตโยต้าจะขยายโครงการสู่ธุรกิ
“การแบ่งปันที่ไม่สิ้นสุด คือหนทางสู่ความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย”