การค้นพบใหม่ของนักวิจัยชี้ว่ากาแฟที่หลายคนดื่มกันทุกเช้ามันมีอายุกว่า 600,000 ปีแล้ว! หลังจากที่นักวิจัยนำยีนจากต้นกาแฟทั่วโลก มาสร้างแผนภูมิลำดับวงศ์ตระกูลสำหรับกาแฟ โดยใช้ต้นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่คอกาแฟทุกคนรู้จักดี นั่นคือ ‘อาราบิกา’
นักวิจัยต้องการเข้าใจต้นกาแฟ เพื่อที่จะปกป้องมันจากศัตรูพืช และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แต่แล้วกลับพบว่า สายพันธ์ุของมันเกิดขึ้นมาประมาณ 600,000 ปีก่อนแล้ว จากการผสมข้ามสายพันธุ์ตามธรรมชาติของต้นกาแฟอีก 2 สายพันธุ์
“พูดอีกนัยนึง คือก่อนที่จะมีการแทรกแซงจากมนุษย์” วิกเตอร์ อัลเบิร์ต (Victor Albert) นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยบัฟฟาโลหนึ่งในผู้ร่วมการวิจัยบอก ต้นกาแฟป่าเหล่านี้มีต้นกำเนิดในเอธิโอเปีย แต่เชื่อกันว่ามีการคั่วและต้มครั้งแรกในเยเมนในช่วงทศวรรษที่ 1400
ในช่วงทศวรรษที่ 1600 มีตำนานเล่าขานกันว่า พระภิกษุบาบา บูดาน แห่งอินเดีย ได้ลักลอบนำเมล็ดกาแฟดิบ 7 เมล็ดจากเยเมนกลับไปยังบ้านเกิดของเขา ซึ่งเป็นการปฏิวัติกาแฟทั่วโลก กาแฟอาราบิกาได้รับการยกย่องทั่วโลกจากรสชาติที่นุ่มนวลของมัน และปัจจุบันมีสัดส่วน 60% – 70% ของตลาดกาแฟทั่วโลก และถูกผลิตโดยแบรนด์ต่างๆ เช่น Starbucks, Tim Horton’s และ Dunkin’
อีกชนิดหนึ่งคือ โรบัสต้า ซึ่งเป็นกาแฟที่เข้มข้น และมีรสขมกว่า มาจากต้น Canephora ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของอาราบิกาเช่นกัน และเพื่อให้พื้นเพของอาราบิกามันชัดเจนยิ่งขึ้น นักวิจัยศึกษาจีโนมของ Canephora และพืชกาแฟอีกมากกว่า 30 ชนิด รวมถึงตัวอย่างจากทศวรรษปี 1700
จำนวนต้นอาราบิกามีความผันผวนเป็นเวลาหลายพันปีก่อนที่มนุษย์จะเริ่มเพาะปลูก โดยจะโตได้ดีในช่วงที่อากาศอบอุ่นและเปียกชื้น และต้องทนทุกข์กับความแห้งแล้ง และความแห้งแล้งนี้ทำให้เกิดเป็นปัญหาเมื่อมีต้นกาแฟเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่รอดชีวิต
ปัจจุบันต้นกาแฟอาราบิกาเสี่ยงต่อโรคต่างๆ อย่างโรครำสนิม (leaf rust) โรคยอดฮิตของมันที่ทำให้เกิดความสูญเสียหลายพันล้านดอลลาร์อยู่ทุกปี
การวิจัยในครั้งนี้คือการสำรวจส่วนประกอบของอาราบิกาพันธุ์หนึ่งที่สามารถต้านทานการเกิดโรครำสนิมได้ เพื่อช่วยปกป้องมันได้ และให้เรายังมีกาแฟอร่อยๆ ไว้จิบยามเช้าทุกๆ วัน!
อ้างอิงจาก