ใครๆ ก็สามารถเป็นที่สุดในโลกได้ (ถ้ามีเงินน่ะนะ)
เมื่อได้ยินชื่อ Guinness World Record เรามักนึกถึงไม่กี่อย่าง อย่างแรกอาจจะเป็นความคิดว่าความสามารถและความพยายามของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ไร้ขอบเขต โดยเฉพาะการที่คนหลายๆ คนสามารถสร้างปรากฏการณ์ได้ ส่วนอีกอย่างคงเป็นว่าพวกเขาก็หาเก็บสถิติแปลกๆ เนอะ สถิติเช่น พลังงานไฟฟ้าจำนวนวัตต์ที่มากที่สุดซึ่งผลิตจากแบตเตอรี่มันฝรั่ง หรือโฆษณานิตยสารชิ้นเล็กที่สุด แต่จะเรียกว่าเก็บสถิติเลยก็คงไม่ใช่ภาพความเป็นจริงเต็มๆ นัก เพราะว่าหากมองเข้าไปดูในเว็บไซต์ของ Guinness World Record มุมมองของเราต่อหนังสือ ‘สถิติ’ เล่มนี้คงเปลี่ยนไป
วิธีการที่นักวิจัยเก็บสถิติและกินเนสส์เก็บสถิติ เราจะเห็นได้ว่าวิธีการทั้ง 2 สวนทางกัน งานวิจัยเรื่องบางเรื่องอาจเรียกร้องให้นักวิจัยเก็บสถิติเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆ ธงในใจของพวกเขามีเพียงสมมติฐาน และสถิติที่พวกเขาเก็บได้จะเป็นเศษเสี้ยวหนึ่งที่ก่อร่างเป็นข้อสรุป ในทางกลับกัน สถิติของ กินเนสส์นั้นคือการที่ใครสักคนบอกว่า พวกเขามีปลายทางที่อยากไปให้ถึง ส่งคนของคุณมาเก็บสถิติให้เราหน่อยได้หรือเปล่า?
นั่นไม่ใช่การพูดเกินจริง เพราะในเว็บไซต์ Guinness World Record มีหัวข้อชื่อว่า ‘Business Solution’ ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางให้เราสามารถติดต่อกับกินเนสส์เพื่อมาเก็บสถิติในเรื่องที่ไม่มีใครเคยทำ (หรือคิดว่าจะทำ) เราไม่ได้ยกสถิติพลังงานไฟฟ้าจำนวนวัตต์ที่มากที่สุดซึ่งผลิตจากแบตเตอรี่มันฝรั่งขึ้นมาเฉยๆ เพราะว่านั่นคือสถิติของแบรนด์มันฝรั่งทอดกรอบอย่าง ‘เลย์’ ที่กินเนสส์ใส่ไว้เป็นพอร์ตในเว็บไซต์ของพวกเขา เพื่อเติมเต็มบรีฟแคมเปญที่เขียนว่า “มันฝรั่งคือพลังขับเคลื่อนเบื้องหลังเลย์”
โคคา-โคล่ามีสถิติเรื่องคนเหยียบกระป๋องโค้กพร้อมกันเยอะที่สุด เน็ตฟลิกซ์มีสถิติรูปโฆษณาสิ่งพิมพ์ที่เล็กที่สุดที่เคยถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร ดังนั้น บ่อยครั้งเมื่อเราลองนำสถิติเหล่านี้ไปค้นหาในฐานข้อมูลของกินเนสส์ เราจะเห็นว่าทางบริษัทจะไม่รับการส่งสถิติสูงสุดใหม่ในกรณีที่เราอยากจะท้าทายสถิติเดิม เนื่องจากในหลายๆ กรณี ผู้ถือสถิติเหล่านี้ก็คือลูกค้าที่ซื้อบริการจากกินเนสส์
นายก็เป็นได้นะ ที่สุดในโลกน่ะ
อ้างอิงจาก