แม้จะเห็นกันจะจะมาหลายปีแล้ว และมีงานวิจัยมารองรับว่า มันมีผลกระทบต่อสุขภาพจริงๆ แต่จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่ชัดเจนเลยว่า รัฐบาลไทยจะแก้ไขปัญหา ‘ฝุ่นพิษ PM2.5’ อย่างไร
.
เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความร้ายแรงของปัญหา Rocket Media Lab เว็บไซต์แหล่งข้อมูลติดตามประเด็นสังคม ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จึงนำข้อมูล ‘ฝุ่นพิษ PM2.5’ มาเทียบเคียงกับ ‘การสูบบุหรี่’ อ้างอิงจากงานของริชาร์ด เอ มิลเลอร์ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Berkeley Earth แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เทียบเคียงว่า การสูดฝุ่นพิษ PM2.5 เฉลี่ย 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (μg/m3) หรือ มคก./ลบ.ม. ในหนึ่งวัน จะเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 มวน
.
โดยเมื่อเทียบเคียงกับสถิติค่าเฉลี่ยฝุ่นพิษ PM2.5 ของ กทม.ในแต่ละวัน ตลอดทั้งปี ค.ศ.2020 อ้างอิงจากเว็บไซต์ The World Air Quality Project ก็จะพบว่า คนที่อาศัยอยู่ใน กทม. มีสภาพไม่ต่างกับสูบบุหรี่อย่างน้อย 1,270 มวน!
.
[ แต่ต้องหมายเหตุไว้ว่า ควันพิษจากบุหรี่มีสารพิษมากกว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก ]
.
Rocket Media Lab ยังสรุปข้อมูลค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยของ กทม. ในแค่ละวัน หากเทียบกับเกณฑ์สีต่างๆ เช่น
– ‘สีเขียว’ มีค่าฝุ่นน้อยกว่า 50 มคก./ลบ.ม. ถือว่ามีคุณภาพอากาศดี
– ‘สีเหลือง’ มีค่าฝุ่นระหว่าง 51-100 มคก./ลบ.ม. ถือว่ามีคุณภาพอากาศปานกลาง
– ‘สีส้ม’ มีค่าฝุ่นระหว่าง 101-150 มคก./ลบ.ม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
– ‘สีแดง’ มีค่าฝุ่นระหว่าง 151-200 มคก./ลบ.ม. มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
– ‘สีม่วง’ มีค่าฝุ่นระหว่าง 201-300 มคก./ลบ.ม. มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก
– ‘สีน้ำตาลแดง’ มีค่าฝุ่นตั้งแต่ 301 มคก./ลบ.ม.ขึ้นไป เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
.
จะพบว่า ในปี ค.ศ.2020 กทม. มีวันที่คุณภาพอากาศดี หรือมีสีเขียว เพียง 71 วัน คิดเป็น 19.56% เท่านั้น โดยระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน และระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม จะไม่มีวันไหนที่มีอากาศดี (ไม่มีสีเขียว) เลยแม้แต่วันเดียว
.
เป๊นสีเหลือง 210 วัน (57.85%) สีส้ม 68 วัน (18.73%) สีแดง 14 วัน (3.86%) โดยยังไม่มีสีม่วงและสีน้ำตาลแดง
.
เป๊นสีเหลือง 210 วัน (57.85%) สีส้ม 68 วัน (18.73%) สีแดง 14 วัน (3.86%) โดยยังไม่มีสีม่วงและสีน้ำตาลแดง
.
และเดือนที่มีค่าฝุ่นโดยเฉลี่ยทั้งเดือน ‘แย่ที่สุด’ ก็คือเดือนกุมภาพันธ์ ที่มีค่าฝุ่นต่อวันเฉลี่ยอยู่ที่ 126 มคก./ลบ.ม.
.
เมื่อตรวจสอบถึงมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอย่าง กทม. ยังไม่พบโครงการที่เป็นรูปธรรมมากนัก การใช้งบประมาณจำนวนไม่น้อย ใช้ไปกับการหาซื้อเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาของฝุ่นพิษ PM2.5 เสียมากกว่า
.
.
– ดูข้อมูลที่ทีม Rocket Media Lab จัดทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งหมดได้ที่: https://drive.google.com/drive/folders/1lN2zF-vqVoNhXEza_yl_LFG1GBZqdzic
#Brief #TheMATTER