ชั้นโอโซน คือชั้นบรรยากาศของโลก ที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ เมื่อชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่และมีระดับลดลง รังสีดังกล่าวก็จะเดินทางมาถึงพื้นโลกได้ กลายเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอ ทำให้ผิวไหม้ หรือแม้กระทั่งก่อมะเร็งผิวหนัง
ช่องโหวในชั้นโอโซน เริ่มที่เป็นค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ปี 1985 การค้นพบดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้ประชาคมโลกมาร่วมกันลงนามใน ‘พิธีสารมอนทรีออล’ (Montreal Protocol) ในอีก 2 ปีต่อมา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อยับยั้งการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (ODS) เช่นที่รู้จักกันดี อย่างสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ ‘CFC’
เวลาล่วงเลยมา รายงานประเมินที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ (UN) ที่เผยแพร่ทุกๆ 4 ปี และเพิ่งเผยแพร่ฉบับล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (9 มกราคม) ก็พบว่า พิธีสารมอนทรีออลนั้นได้ผลดี และพบว่า สารทำลายชั้นบรรยากาศที่ถูกห้ามในสนธิสัญญาดังกล่าวนั้น ก็มีการปล่อยลดลงเกือบ 99%
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ระบุว่า ถ้ายังมีการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ ชั้นโอโซนก็จะฟื้นฟูสภาพ กลับมาในระดับเดียวกับช่วงปี 1980 (ก่อนที่จะมีช่องโหวโอโซนปรากฏตัว) ภายใน:
- ปี 2066 สำหรับขั้วโลกใต้
- ปี 2045 สำหรับขั้วโลกเหนือ
- ปี 2040 สำหรับที่อื่นๆ ทั่วโลก
ในเรื่องนี้ เม็ก เซกิ (Meg Seki) เลขานุการบริหาร สำนักเลขาธิการโอโซน (Ozone Secretariat) ของ UNEP กล่าวว่า “เรื่องที่ว่า การฟื้นฟูโอโซนกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี จากที่ปรากฏในรายงานที่เผยแพร่ทุก 4 ปีนั้น ถือเป็นข่าวที่มหัศจรรย์ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของผลกระทบของพิธีสารมอนทรีออลที่มีต่อการบรรเทาวิกฤตภูมิอากาศ ตลอด 35 ปีที่ผ่านมา พิธีสารดังกล่าวได้กลายมาเป็นนักสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง”
อ้างอิงจาก