ประเด็นเกี่ยวกับดาราศาสตร์ปีนี้มาแรงมาก เมื่อกล้องโทรทรรศน์อวกาศของ NASA ค้นพบหลุมดําที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยเจอมา โดยนักวิจัยเชื่อว่ามันจะช่วยไขความลับบางอย่างที่มนุษย์พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับจักรวาลมาโดยตลอดได้
เมื่อวันจันทร์ (6 พฤศจิกายน) ตามเวลาท้องถิ่น กล้องโทรทรรศน์อวกาศของ NASA สองตัวที่ร่วมมือกันสำรวจกาแล็กซี่ที่อยู่ห่างไกล กลับค้นพบ ‘หลุมดํา (Black Hole)’ ขนาดมหึมาภายในกาแล็กซี่ที่มีอายุมากกว่า 13 พันล้านปี (กาแล็กซี่แรกๆ ที่ถือกำเนิดขึ้น)
ซึ่งวัตถุมวลมหาศาลนี้ ได้รับการยกย่องว่า เป็นหลุมดําที่เก่าแก่ที่สุดที่ได้รับการยืนยัน โดยมันมีมวลใกล้เคียงกับดาวทั้งหมดในดาราจักรนั้นรวมกัน อย่างไรก็ดี แสงจาก UHZ1 หรือชื่อของกาแล็กซี่ดังกล่าว ถูกปล่อยออกมาเมื่อ 13.2 พันล้านปีก่อน หรือประมาณ 470 ล้านปีหลังบิ๊กแบง (Big Bang)
“มันมีมวลมหาศาลมาก ซึ่งมันโคตรบ้า” อาคอส บ็อกดาน (Akos Bogdan) นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่ศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ด-สมิธโซเนียน กล่าว
โซลตัน ไฮมาน (Zoltan Haiman) ศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์ฯ ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งเป็นผู้ศึกษากาแลคซียุคแรกๆ ระบุว่า “นี่เป็นสิ่งที่ลึกลับ แต่ในขณะเดียวกันมันมีความสําคัญมากต่อการทำความเข้าใจความเป็นมาของจักรวาลได้อย่างแน่นอน”
ทั้งนี้ หลังจากนี้เราต้องรอดูต่อไปว่า การค้นพบหลุมดำอันเก่าแก่นี้จะช่วยไขความลับอะไรให้แก่เราบ้าง นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ว่า NASA จะค้นพบสิ่งที่น่าตื่นเต้นขึ้นเรื่อยๆ นับจากนี้ เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์ของ NASA ได้รับการออกแบบอย่างดี เพื่อไว้สํารวจจักรวาลแบบลงลึกและละเอียดให้มากที่สุด โดยจะเน้นไปที่ช่วงแรกๆ ของการกำเนิดขึ้นของจักรวาล เพื่อดูว่าขณะนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
อ้างอิงจาก
#หลุมดำ #ดาราศาสตร์ #BlackHole #TheMATTER