จักรวาลกว้างใหญ่ไพศาล แต่อาจไม่ว่างเปล่า เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ ที่ในชั้นบรรยากาศของมันรุ่มรวยไปด้วยธาตุโลหะ
นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ (VLT) สังเกตดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่งพบว่า มีปรากฏการณ์แปลกประหลาดเกิดขึ้นที่นั่น คือ ฝนตกลงมาเป็นโลหะ
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้นักดาราศาสตร์ตั้งชื่อให้มันว่า ‘WASP-76b’ มีระยะห่างจากโลก 640 ปีแสง ในกลุ่มดาวมีนราศีมีน นอกจากนี้ยังมีลักษณะทางเคมีและอุณหภูมิที่แปลกประหลาด คือ ด้านเช้าร้อนมาก (อุณหภูมิมากกว่า 2.4 พันองศาเซลเซียส) จนบ่อยครั้งทำให้โลหะที่อยู่ในดาวเคราะห์กลายเป็นไอ และลมแรงได้พัดไอโลหะไปยังด้านกลางคืนจะเย็น ซึ่งทำให้มันกลับมาควบแน่น เกิดเป็นปรากฎการณ์ฝนโลหะ
สาเหตุที่ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้น เพราะว่า ดาวดวงนี้จะหันแค่เฉพาะด้านเช้าเข้าหาดาวแม่ ส่วนด้านกลางคืนจะอยู่ในความมืด เหมือนกับดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลก หรือ ที่เรียกว่าการโคจรแบบหมุนวนแบบล็อกด้าน (Tidal locking) นอกจากนี้มันยังใช้เวลานานในการโคจรรอบแกนของตัวมันเอง และรอบดาวอื่นก็เช่นกัน
เดวิด เออห์เรนริค (David Ehrenreich) ผู้เชี่ยวชาญจาก University of Geneva ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และผู้นำการศึกษาวิจัยดาวดวงนี้ เผยว่า บางคนอาจพูดว่า ดาวเคราะห์ดาวนี้มีฝนตกชุกในตอนเย็น ไม่รวมฝนโลหะ
ทีมวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ‘ESPRESSO’ ที่แรกเริ่มเอาไว้ใช้ในการระบุดาวเคราะห์นอกระบบ แต่ตอนนี้มันกลับแสดงให้เห็นว่าสามารถนำมาใช้ในการศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบได้ดีเช่นกัน
“สิ่งที่เรามีอยู่ในตอนนี้ คือ วิธีการใหม่ในการหาสภาพภูมิอากาศของดาวเคราะห์นอกระบบที่สุดโต่ง” เออห์เรนริค ระบุ
อ้างอิงจาก
https://www.eso.org/public/news/eso2005/
https://futurism.com/the-byte/astronomers-exoplanet-rains-liquid-iron
พิสูจน์อักษร: จิรัชญา ชัยชุมขุน
#Brief #TheMATTER