แค่เรามีคอมพิวเตอร์ก็สามารถช่วยให้นักวิจัยสามารถเร่งวิจัยวัคซีน COVID-19 ได้ นักวิจัยสร้างโปรเจคแบ่งการคำนวณ (distributed computing project) ที่ชื่อว่า ‘Folding@home’ (FAH) ซึ่งเชื่อมต่อพลังการประมวลผลที่ไม่มีการใช้งานของแล็ปท็อป คอมพิวเตอร์ และเครื่องคอนโซลเล่นเกมทั่วโลก
โดยเมื่ออุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อกันแล้ว จะเกิดเป็นซุเปอร์คอมพิวเตอร์จำลอง ที่มีความสามารถในการรับมือกับการคำนวณนับล้านล้าน ที่ต้องใช้ในการทำความเข้าใจโครงสร้างของไวรัสได้
โปรเจคนี้ให้ความสนใจกับ ‘โปรตีนหนาม’ (spike protein) ที่ทำให้ไวรัสติดอยู่บนเซลล์ในร่างกายของมนุษย์ และทำให้เกิดการติดเชื่้อ COVID-19 หนามนี้เปลี่ยนรูปร่างอย่างคงที่ตามการพับและคลี่ของโปรตีนที่อยู่ภายในตัวมัน โดยโปรเจคนี้จะทำการวิเคราะห์มัน กล่าวคือ ศึกษารูปร่างของหนามที่สามารถเป็นไปได้ทั้งหมดในกระบวนการนี้
ซึ่งการทำความเข้าใจโครงสร้างและพฤติกรรมของโปรตีนหนาม จะเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญในการพัฒนาวัคซีน COVID-19
.
เกร็ก โบว์แมน (Greg Bowman) ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวะเคมีและอณูชีวฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัย Washington University เผยว่า มีผู้ดาวน์โหลดแอพฯ ‘Folding@Home’ มากกว่า 4 แสนคนแล้ว
แต่โปรเจคนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีที่มาจากตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เหล่าผู้เชี่ยวชาญเริ่มใช้วิธีระดมกำลังการคำนวณ เพื่อการจำลองต่างๆ ที่ทำให้เข้าใจโรคได้ดีขึ้น โดยเฉพาะความผิดปกติของการพับของโปรตีนที่ทำให้เชื้อโรคมีอันตรายถึงชีวิต
ทางทีมวิจัย FAH กล่าวด้วยว่า “ด้วยคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ทำงานภายใต้เป้าหมายเดียวกัน พวกเราตั้งเป้าว่าจะช่วยพัฒนาวิธีการรักษาโรคให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
ช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่ของเชื้่อไวรัส COVID-19 ทั่วโลกได้มีการเร่งการวิจัยทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาวัคซีน หรือ ยาที่ช่วยในการต้านท้านไวรัส รวมไปถึงการศึกษาทำความเข้าใจไวรัสตัวนี้มากยิ่งขึ้น ด้วยความหวังที่ว่าจะค้นพบวิธีการรักษา COVID-19 ให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
อ้างอิงจาก
https://m.medicalxpress.com/news/2020-03-crowdsourced-virtual-supercomputer-revs-virus.html
#Brief #TheMATTER