พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติให้ประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) เพื่อแก้ไขวิกฤตการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.นี้ พร้อมกับตั้ง ศอฉ.COVID-19 ขึ้นมาแทนศูนย์ COVID-19 และจะเริ่มประชุมตั้งแต่วันมะรืนนี้ เพื่อดูว่าจะออกมาตรการใดๆ มาบังคับใช้บ้าง
หลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตามกฎหมายให้นายกฯ มีอำนาจออก ‘ข้อกำหนด’ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนี้ (ตอนนี้ยังไม่ออก แต่สามารถออกได้)
1) ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น
2) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
3) ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร
4) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
5) ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ
6) ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มาตรการระยะแรกๆ จะใช้วิธีขอความร่วมมือก่อน ส่งจะปิดจะเปิดอะไร จะเป็นมาตรการระยะถัดไป “ขึ้ยอยู่กับความร่วมมือของประชาชน” แต่ตอนนี้อย่าตื่นตระหนก ขอให้ฟังรัฐบาลที่จะมีการให้ข่าวทุกวัน เบื้องต้นจะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 เดือน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ที่: http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A1119/%A1119-20-2548-a0001.pdf
พิสูจน์อักษร: จิรัชญา ชัยชุมขุน
#Brief #TheMATTER