เคยคิดไหมว่า สมองจะทำงานยังไง ในระหว่างที่เรากำลังพูดคุยกับคนอื่นๆ อยู่ ในที่นี้เราไม่ได้หมายความคิด หรือสภาพจิตใจหรอนะ แต่หมายถึงรูปแบบของคลื่นสมอง เพราะตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์ สามารถถอดรหัสสิ่งที่คนพูดได้ เพียงแต่ดูคลื่นสมองในตอนที่คนกำลังพูดได้แล้ว
เหล่านักวิทยาศาสตร์ทดลองใช้ระบบอัลกอริทึม เปลี่ยนรูปแบบของคลื่นสมองให้เป็นประโยคที่ผู้พูดกำลังพูดแบบเรียลไทม์ โดยมีค่าความคาดเคลื่อนต่ำเพียง 3% เท่านั้น โดยก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสได้เพียงแค่คำพูดบางคำ หรือถอดออกมาเป็นได้เป็นสัดส่วนเล็กๆ ของคำในวลีเท่านั้น
โจเฟซ มาคิน (Joseph Makin) จาก University of California ประเทศสหรัฐอเมริกา และนักวิจัยคนอื่นๆ พัฒนาระบบแมชชีนเลิร์นนิ่งที่ใช้ในการถอดรหัส ให้มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และได้อาสาสมัครอีก 4 คน มาช่วยทดลองอ่านประโยคระหว่างการบันทึกขั้วไฟฟ้าในการทำงานของสมองของเหล่าอาสาสมัคร
จากนั้น ก็นำข้อมูลที่ได้มา เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสร้างตัวอย่างรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นประจำของข้อมูลนั้นๆ ออกมาอีกทีหนึ่ง โดยรูปแบบเหล่านี้เกี่ยวข้องกับรูปแบบที่ซ้ำๆ กัน ของคำพูดบางอย่าง เช่น เสียงสระ เสียงพยัญชนะ หรือแม้แต่การควบคุมบางส่วนของปาก (ในการพูด)
อย่างไรก็ดี นักวิจัยก็ระบุถึงข้อจำกัดบางอย่างของการศึกษานี้ เช่น คำพูดจะถูกถอดรหัสได้เพียง 30-50 ประโยคเท่านั้น
นักวิจัย ระบุไว้ว่า “ถึงแม้ว่าเราควรจะให้ตัวถอดรหัสเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากระบบภาษา แต่มันก็ยังสะท้อนให้เห็นว่า ต้องมีข้อมูลจำนวนเท่าใดถึงจะพอต่อการขยายจากส่วนเล็กๆ ของเรา ไปเป็นรูปแบบทั่วไปของภาษาอังกฤษได้”
แต่พวกเขาก็เสริมว่า ตัวถอดรหัสไม่ได้จัดประเภทของประโยค ตามโครงสร้างของประโยคหรอกนะ พวกมันเรียนรู้เรื่องนี้ได้ ด้วยประสิทธิภาพในการประมวลผลที่ถูกพัฒนา โดยการเพิ่มประโยคเข้าไปในชุดการฝึกอบรมที่ไม่ได้ใช้ในการทดสอบด้วยตนเอง
นี่ถือเป็นข้อพิสูจน์ว่า อินเทอร์เฟซของเครื่องได้ระบุคำลงไปด้วย ไม่ใช่แค่ประโยคเท่านั้น ซึ่งตามหลักการแล้ว หมายความว่า เป็นไปได้ที่มันจะถอดรหัสประโยคที่ไม่เคยพบในชุดฝึกอบรมได้
อ้างอิงจาก
https://www.nature.com/articles/s41593-020-0608-8
#Brief #TheMATTER