ช่วงนี้ นักวิทยาศาสตร์กำลังหาทางรักษาโรค COVID-19 และมีการผลิตงานวิจัยใหม่ๆ ออกมาให้เราเห็นอยู่เรื่อยๆ นักวิจัยจาก University of Waterloo ในแคนาดา กำลังพัฒนาวัคซีนที่สามารถส่งเข้าร่างกายผ่านยาพ่นจมูกได้ โดยการใช้แบคทีริโอฟาจ หรือ กระบวนการที่ให้วัคซีนแบ่งตัวภายในแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายแล้ว
วัคซีนตัวนี้มีเป้าหมายอยู่ที่ โพรงจมูก และทางเดินหายใจส่วนล่าง มันจะเข้าไปในเนื้อเยื่อของอวัยวะเหล่านั้น เพื่อให้ทำให้เกิดการผลิตอนุภาคคล้ายไวรัส (VLP) พร้อมกระตุ้นปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ทีมวิจัยกำลังหาทางวิศวกรรมโครงสร้างของ VLP ให้มีหน้าตาเหมือน SARS-CoV-2 (เชื้อของโรค COVID-19) มากที่สุด แต่ไม่มีอันตราย หากพวกเขาทำสำเร็จแล้ว วัคซีนจะสามารถต้านทานไวรัสของจริงได้
ตอนนี้ พวกเขาออกแบบระบบส่งแบคทีริโอฟาจเสร็จแล้ว และกำลังปรับปรุงให้มันใช้งานได้กับโรค COVID-19 ทีมวิจัยจะออกแบบส่วนประกอบ และทดสอบเพิ่มเติมภายในปีนี้
สำหรับความแตกต่างระหว่าง วัคซีนของทีมวิจัย กับ วัคซีนทั่วไป คือ มันพึ่งพาให้เซลล์สร้างไวรัสเลียนแบบ มากกว่าจะเป็นการป้อนไวรัสที่มีความเฉื่อยชาเข้าไปในร่างกาย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้คนมีความเสี่ยง
“ดีเอนเอพัฒนาปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน และทำให้เกิดการจำลองเชื้อที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพื่อกระตุ้นปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด” Roderick Slavcev ผู้นำทีมวิจัยกล่าว
อ้างอิงจาก
https://futurism.com/neoscope/potential-covid19-vaccine-hacks-dna-build-immunity
#Brief #TheMATTER