เวลาจัดเพลย์ลิสต์ให้ตัวเราเอง ถึงแม้มันจะใช้เวลานาน แต่กลับรู้สึกดีและเหมือนได้ทบทวนตัวเองไปด้วยพร้อมๆ กัน บางครั้งก็รู้สึกว่ามันกลายเป็นการเยียวยาฟื้นฟูจิตใจตัวเองไปไหนตัวด้วยเนอะ
บทความชื่อ ‘How to Make the Perfect Playlist’ ใน The New York Times อธิบายไว้อย่างน่าสนใจว่า การทำเพลย์ลิสต์มันเหมือนกับเราได้ไล่เรียง-เดินทางกลับไปทบทวนเรื่องราวชีวิตของตัวเองอีกครั้ง ผ่านบทเพลงต่างๆ ที่เราเลือกที่จะใส่
นอกจากนั้น เมื่อเพลย์ลิสต์อนุญาตให้เราสามารถ ‘เรียงลำดับ’ เพลงต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง มันก็ให้ความรู้สึกว่า ตัวเราได้กำหนดลำดับเรื่องราวในชีวิตด้วยตัวเองด้วยเหมือนกัน
ที่น่าสนใจคือ มันอนุญาตให้เราได้กำหนดเรื่องราวในอดีตใหม่ได้ พูดให้ถึงที่สุดได้ว่า ถึงแม้เราจะควบคุมสิ่งต่างๆ ในโลกแห่งความจริงไม่ค่อยได้ แต่ในการจัดเพลย์ลิสต์นั้น ได้อนุญาตให้เราทำสิ่งนั้นได้อยู่บ้าง
เมื่อเป็นเช่นนี้ มันจึงไม่แปลกที่หลายๆ คนจะเรียกการจัดเพลย์ลิสต์ว่าเป็น ‘soundtrack of our lives’ หรือ เพลงประกอบชีวิตของตัวเราเอง
ด้าน Cretien van Campen ผู้เขียนหนังสือชื่อว่า ‘The Proust Effect: The Senses as Doorways to Lost Memories’ ก็เคยอธิบายไว้ด้วยเหมือนกันว่า การได้กลับไปฟังเพลงที่ชื่นชอบในอดีต มันมีประโยชน์ต่อการฟื้นฟูโรคความจำเสื่อมได้ไม่น้อย เพราะสมองจะได้ดึงเรื่องราวในอดีตกลับมาอีกครั้ง
และถึงแม้บางบทเพลงจะทำให้เราเศร้า หรือเจ็บปวดกับเรื่องราวในอดีต แต่อย่างน้อยๆ การกลับไปรู้สึกกับสิ่งนั้น มันก็น่าจะช่วยให้เราอยู่กับความทรงจำได้ดีขึ้น รวมถึงเรียนรู้วิธีที่จะรับมือกับอนาคตได้เช่นกัน
อ้างอิงจาก
http://www.bbc.com/culture/story/20140417-why-does-music-evoke-memories
https://www.thecut.com/2020/04/how-to-make-a-good-playlist.html
#GoodsMorning #TheMATTER