ในวันนี้ กสทช. มีการประชุมเพื่อพูดคุยเรื่อง กรอบเวลาการพิจารณาและวิธีการลงมติกรณีการควบรวมของบริษัททรู คอร์เปอเรชั่น จำกัด (TRUE) และบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (DTAC)
The MATTER ชวนมาดูรายละเอียดว่าถ้าดีลนี้เกิดขึ้นจริง มันเป็นเรื่องใหญ่แค่ไหน เราควรกังวลกับมันไหม และที่สำคัญมันจะส่งผลต่อตัวเราอย่างไร
ก่อน-หลังการควบรวม
สภาพตลาดของธุรกิจโทรคมนาคมเป็นตลาดที่มีผู้ขายน้อยรายอยู่แล้ว โดยของไทยมีผู้แข่งขันหลัก 4 เจ้า ได้แก่ AIS, TRUE, DTAC และ NT (โทรคมนาคมแห่งชาติ) โดยส่วนแบ่งของตลาดก็ไล่เรียงตามลำดับที่ผมเขียนไป
อย่างไรก็ตาม ถ้าหาก กสทช. เคาะอนุมัติให้ TRUE และ DTAC สามารถควบรวมได้จะส่งผลเกิดตลาดผูกขาดเกือบสมบูรณ์ เพราะอันดับ 2 และ 3 ของตลาดตัดสินใจรวมตัวกัน ทำให้เหลือคู่แข่งเพียงอันดับ 1 และ 2 เพราะอันดับอื่นไม่ได้มีความสามารถแข่งขันขนาดนั้น
โดยข้อมูลตัวเลขจาก 101 PUB เป็นแบบนี้
- ส่วนแบ่งตลาดโทรศัพท์มือถือ
- TRUE + DTAC 50.40%
- TRUE 32.50%
- DTAC 17.80%
- AIS 46.80%
- NT (โทรคมนาคมแห่งชาติ) 2.80%
- TRUE + DTAC 50.40%
- ส่วนแบ่งตลาดอินเทอร์เน็ตมือถือ
- TRUE + DTAC 51.20%
- TRUE 30.40%
- DTAC 20.80%
- AIS 46.80%
- NT (โทรคมนาคมแห่งชาติ) 1.90%
- TRUE + DTAC 51.20%
- จำนวนการถือครองคลื่นมือถือ
- 3G + 4G
- TRUE + DTAC ครอง 38.24%
- TRUE ครอง 23.53%
- DTAC ครอง 14.71%
- AIS ครอง 26.47%
- NT ครอง 35.30%
- TRUE + DTAC ครอง 38.24%
- 3G + 4G
-
- 5G
- TRUE + DTAC ครอง 39.24%
- TRUE ครอง 31.60%
- DTAC ครอง 7.64%
- AIS ครอง 46.18%
- NT ครอง 14.58%
- TRUE + DTAC ครอง 39.24%
- 5G
- ภาพรวมทั้งหมด
- TRUE + DTAC ครอง 39.13%
- TRUE ครอง 30.74%
- DTAC ครอง 8.39%
- AIS ครอง 44.10%
- NT ครอง 16.77%
- TRUE + DTAC ครอง 39.13%
คนไทยได้รับผลกระทบอย่างไร
101 PUB ให้ความเห็นไว้ว่า ถ้าหากการควบรวมเกินขึ้นจริง ความเห็นของ กสทช. ที่มองว่าตลาดโทรคมนาคมประเทศไทยยังมีผู้แข่งขันอื่นอยู่นอกจาก AIS และ TRUE (NT และ MNVO) ไม่ถูกต้อง เพราะผู้เข้าแข่งขันอื่นไม่ได้มีศักยภาพพอจะแข่งกับเจ้าใหญ่สองรายได้ ซึ่งพวกเขาคาดการณ์ว่า ในภาพรวมค่าใช้บริการมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยออกแบบจำลองไว้ 3 แบบ (ค่าบริการเฉลี่ย/ เลขหมาย/ รายเดือนอยู่ที่ 220 บาท)
- แบบที่หนึ่ง รายใหญ่แข่งกันรุนแรงมีแนวโน้มทำให้ราคาสูงขึ้นเป็น 235-242 บาท/ เดือน หรือเพิ่มขึ้น 7-10%
- แบบที่สอง รายใหญ่แข่งกันปกติมีแนวโน้มทำให้ราคาสูงขึ้นเป็น 249-270 บาท/ เดือน หรือเพิ่มขึ้น 13-23%
- แบบที่สาม รายใหญ่ฮั้วกันมีแนวโน้มทำให้ราคาสูงขึ้นเป็น 365-480 บาท/ เดือน หรือเพิ่มขึ้น 66-120%
ขณะที่ในอนาคต สภาพตลาดผูกขาดยังมีแนวโน้มทำให้รายใหญ่ทั้งคู่แข่งขันกันน้อยลง มีโอกาสทำให้การบริการมีคุณภาพต่ำลง เช่น ความเร็วเน็ตลดลง ขณะที่ราคาเน็ตโดยรวมสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อเนื่องในอนาคตถึงการประมูลคลื่นความถี่ 6G ด้วยเช่นกัน
ต้องติดตามดูกันต่อไปว่า กสทช. จะตัดสินใจในกรณีนี้อย่างไร และถ้าอนุมัติแล้ว จะมีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง ซึ่งถ้าดีไซน์ให้เข้มข้นดี การควบรวมนี้อาจมีประโยชน์สูงสุดอยู่ที่ประชาชนก็ได้ (มั้ง)
อ้างอิง: