“ตอนแรกเราคิดว่าไม่ได้คนละครึ่งก็ไม่เป็นไร เพราะดีใจที่จะได้เงินเยียวยา 3,500 บาท แต่พอกดเป็นเงินสดไม่ได้ เราก็ไม่รู้จะเอาที่ไหนจ่ายค่าเทอมลูก”
“การแข่งขันมันสูงมาก แล้วสำหรับคนที่ไม่ค่อยจะเป็น กดไม่ได้ก็หมดโอกาสเลย”
‘เงินไม่ได้ กดรับสิทธิไม่ทัน โควตาการช่วยเหลือของรัฐเต็มแล้ว’ เป็นหนึ่งประเด็นที่เห็นปัญหา และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนมากมาย กับมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ COVID-19 ของภาครัฐ ที่ไม่ว่าจะระลอกแรก จากโครงการเราไม่ทิ้งกัน มาถึงโครงการคนละครึ่ง ในเฟสใหม่ และโครงการ ‘เราชนะ’ ที่กำลังจะมีการช่วยเหลือนี้ ก็มีประเด็นอีกว่า ต้องใช้จ่ายผ่านแอพฯ ไม่สามารถกดเงินสดออกมาได้
The MATTER พูดคุยกับประชาชน ผู้ทำมาค้าขาย และประกอบอาชีพในย่านแยกพระราม 9 ถึงมาตรการ และการช่วยเหลือของรัฐบาล ว่าพวกเขาได้รับ และทั่วถึงแค่ไหน รวมไปถึงการช่วยเหลือแบบไหน ที่สะท้อนความต้องการของพวกเขาในเวลาวิกฤตนี้
(1)
ในช่วงเวลาบ่ายแก่ๆ แม้จะมีรถวิ่งสัญจรไปมาในซอยรัชดา 3 แต่บรรยากาศร้านอาหารริมทางกลับเงียบเหงา เช่นเดียวกับ ร้านยำรสเด็ดที่หนึ่งเจ้าเก่า ที่คุณป้าเจ้าของร้านได้แต่นั่งเฉยๆ รอคอยลูกค้า เราเดินเข้าไปพูดคุยกับเธอถึงสถานการณ์การค้าขายในช่วงนี้ ซึ่งเธอก็บอกกับเราว่า COVID-19 ระลอกใหม่นี้ กระทบการค้าขายของเธอไม่น้อย
“เงียบลง เพราะเหมือนคนทำงานอยู่บ้านกัน เขาก็กินข้างนอกน้อยลง แนวโน้วที่เหมือนกำลังจะดี ก็กลับไปแย่ลง และเราว่าหนักกว่ารอบแรกอีก เพราะรอบนี้คนติดเชื้อเยอะ ไปถึงลูกค้าบางคนก็กลับบ้านที่ต่างจังหวัดเลย เพราะเขาบอกกรุงเทพฯ อยู่ยาก”
เมื่อเราถามถึงการช่วยเหลือของภาครัฐ อย่างการกดรับสิทธิคนละครึ่งเฟส 3 ที่เพิ่งเปิดให้รับสิทธิในวันที่ 20 มกราที่ผ่านมา คุณป้าก็ได้แต่บอกเราว่า กดไม่ทัน และไม่เคยกดทันซักเฟสเลย “เรากดไม่ทันเลย ไม่รู้เหมือนกันทำไมไม่ให้สิทธิทุกคน มันเต็มไวมากๆ รอบหลังนี่เต็มไวมาก 6 โมงหน่อยๆ ก็เต็มแล้ว เราเลยยังไม่เคยได้ซักรอบเลย”
คุณป้ายังบอกด้วยว่า เธอกดรับสิทธิไม่เป็น แต่ที่ผ่านมามีลูกสะใภ้เป็นคนช่วยเหลือ “คนไม่เป็นก็เยอะ ป้าก็ไม่เป็น คนไม่เป็นก็ไม่ได้ และคนเน็ตไม่แรงก็ไม่ได้อีก จริงๆ ก็น่าจะให้ทุกคน”
นอกจากคนละครึ่งแล้ว รัฐบาลยังประกาศมาตรการเยียวยาอย่างเราชนะ ที่จะให้เงิน 7,000 บาท แบ่งจ่าย 2 เดือน เดือนละ 3,500 บาท โดยจะโอนเงินให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือผู้ที่เปิดใช้งานแอพพลิเคชันเป๋าตัง และใช้จ่ายผ่านแอพฯ โดยที่ไม่สามารถกดออกมาเป็นเงินสดได้ ซึ่งคุณป้าคนนี้ก็บอกเราอีกว่า อยากจะลงทะเบียน แต่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะได้สิทธิไหม
“รอบนี้ 3,500 บาท ได้มาก็เป็นเงินอยู่ในบัตร ไม่ได้กดออกมาเป็นเงินเหมือนรอบแรก ได้มาก็ทำอะไรก็ไม่ได้ ไม่ได้เงินเป็นก้อน เพราะมันอยู่ในแอพฯ ถ้าได้เหมือน 5,000 บาทรอบแรก เรายังเอามาจ่ายค่านู่นนี่ได้ อันนี้ซื้อได้แต่ของกิน ของใช้นิดหน่อย จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบ้านก็ไม่ได้ เราต้องการค่าครองชีพ ของที่เราจะซื้อเราไม่ได้ซื้อประจำทุกวัน มันไม่จำเป็น”
คุณป้ายังบอกอีกว่า แม้ว่าร้านยำของเธอ จะเปิดให้คนได้ใช้คนละครึ่งจ่ายเงินได้ แต่ที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ช่วยเหลืออะไรได้มาก เพราะคนก็ไม่ได้ใช้เยอะ และสิทธิของเฟสแรกก็หมดไปแล้วด้วย
(2)
โครงการคนละครึ่ง ได้เปิดให้ประชาชนเข้ามากดรับสิทธิตั้งแต่ 6 โมงเช้า ผ่านทางเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com โดยเฟสที่ 3 ล่าสุด คือวันที่ 20 มกรา ซึ่งทันทีที่เปิดลงทะเบียนเพียง 10 นาที ระบบก็แจ้งเตือนว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการครบแล้ว ทำให้นอกจากการเข้าไม่ถึง การทำผ่านโทรศัพท์ไม่เป็น และการไม่ได้รับสิทธิ ที่เป็นปัญหาที่หลายคนประสบคล้ายๆ กันแล้ว ยังมีคนที่บอกกับเราว่า เขาไม่มีเวลาว่างในตอนนั้น
คุณลุง เจ้าของร้านขายขนุนแบบรถเข็นก็บอกเราว่า เขาทราบข่าวมาตรการการช่วยเหลือนี้ แต่เขาไม่มีเวลาจะกดรับสิทธิในช่วงเวลานั้น เพราะเป็นช่วงที่ต้องออกจากบ้าน ซื้อของมาขาย โดยลุงบอกว่า ก็เป็นธรรมดาที่เขาอยากได้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ และอยากได้เงิน แต่สำหรับการทำผ่านโทรศัพท์นั้น เขาก็ทำไม่เป็นเลยด้วย
“ครั้งก่อนเราได้เงิน แต่ได้แบบที่ไปกดเงินที่ธนาคาร ถ้ากดผ่านโทรศัพท์ เราไม่รู้เลย ทำไม่เป็น” ลุงกล่าว ขณะปลอกขนุนให้ลูกค้าไปด้วย
(3)
นอกจากการค้าขายที่ย่อมได้รับผลกระทบแล้ว ธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลเต็มๆ จากการระบาดระลอกใหม่ คือร้านนวดแผนไทย ที่ถูก กทม.สั่งปิดตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งพนักงานร้านนวดแห่งหนึ่งก็ได้บอกกับเราว่า สถานการณ์ถือว่าแย่มาก เพราะเพิ่งกลับมาเปิดร้านใหม่ ก็เจอ COVID-19 ลูกค้าที่มานวดก็ไม่มีเข้าเลย
“ร้านเราก็อยู่กัน 3-4 คน พี่ก็ต้องเปลี่ยนไปขายกับข้าวหน้าร้าน ทำกับข้าวขาย เพราะมันไม่มีลูกค้า ลูกค้านวดก็เงียบสนิท แต่ก็ไม่พอค่าใช้จ่ายนะ ค่าเช่ายังไม่พอจ่ายเลยตอนนี้”
โดยสำหรับมาตรการเยียวยาจากรัฐ อย่างคนละครึ่ง รอบล่าสุด เธอบอกเราเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ว่า เธอก็ไปรอกดรับสิทธิ แต่แน่นอนว่า กดไม่ทัน “คนละครึ่งเราไปกดรับ แต่ไม่ทันเลย ที่ร้านรอกดกันทุกคน ไม่มีมีใครได้ ตอนเฟส 2 ก็ไม่ได้ เข้าเสร็จก็เต็ม ไม่รู้ว่าอะไรจะเร็วขนาดนั้น ถ้าคนที่ไม่เป็นก็น่าจะเสียโอกาส”
“ไม่รู้เขาสุ่มยังไง บางคนได้บางคนก็ไม่ได้ เราก็ไม่เข้าใจจริงๆ เพราะมันก็เดือดร้อนกันหมดทุกอาชีพ ถ้าเป็นไปได้ก็น่าจะได้ทุกคน เพราะทุกคนมีปัญหาปากท้อง”
ส่วนสำหรับการช่วยเหลือในรอบก่อน เธอบอกว่า เธอไม่มีบัตรคนจน แต่เธออยู่ในเกณฑ์ของเกษตรกร เลยได้รับเงิน 5,000 บาท ซึ่งเธอก็ยังไม่รู้ว่ารอบนี้ สำหรับโครงการไทยชนะ เธอจะมีสิทธิหรือไม่ด้วย แต่เธอก็มองว่า การช่วยเหลือรอบใหม่ ที่ให้ใช้จ่ายเงินผ่านบัตรเท่านั้น ถือว่าจำกัดเกินไป เพราะถ้าได้เป็นเงินสด ก็ยังสามารถนำมาใช้จ่ายค่าบ้าน ค่างวดรถต่างๆ ได้
โดยสำหรับมาตรการนี้ กระทรวงการคลังได้ออกมาชี้แจงว่า ไม่สนับสนุนการให้ประชาชนกดเงินเพื่อชำระหนี้นอกระบบ แต่ต้องการลดค่าครองชีพกับประชาชน “การแจกเงิน 3,500 บาท ต้องใช้จ่ายผ่านแอพฯ เป๋าตัง อย่างเดียวเท่านั้น เพราะต้องการสนับสนุนสังคมไร้เงินสด ส่วนคนไม่มีโทรศัพท์สมาร์ตโฟนเชื่อว่าจะเป็นส่วนน้อย เพราะบางส่วนก็ถือบัตรสวัสดิการอยู่แล้ว แต่หากใครไม่มีก็ต้องขอรบกวนเพราะตอนนี้ราคาไม่แพงแล้ว” อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ระบุ
(4)
รัฐบาลกู้เงินเพิ่ม ประเทศมีหนี้สินมากขึ้น ประเด็นที่หลายคนเห็นในช่วงวิกฤต COVID-19 ซึ่งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ก็ได้ชี้แจงว่า ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 จะมีรายการก่อหนี้ใหม่ จำนวน 1.47 ล้านล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้แผนงานตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 จำนวน 550,000 ล้านบาท
ซึ่งในมุมหนึ่งก็มีประชาชนที่คิดว่ารัฐบาลไม่มีเงินจะจ่ายแล้ว อย่างเช่นอาม่า เจ้าของร้านขายของชำ ที่บอกกับเราว่า เธอไม่กดรับการช่วยเหลือในครั้งนี้ พร้อมถามเรากลับมาว่า “รัฐบาลจะมีเงินหรอ จะเอาเงินจากที่ไหนมาให้ ?”
สำหรับวิธีการกดรับสิทธิผ่านทางโทรศัพท์ อาม่าบอกว่า เธอแก่แล้ว ทำไม่เป็น ที่ผ่านมาในการช่วยเหลือรอบก่อน ก็มีลูกชายที่กดรับสิทธิให้ ซึ่งถ้าไม่มีลูก ก็คงไม่มีใครทำให้ได้ และแม้ว่าการค้าขายจะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ครั้งนี้ เลือกที่จะไม่กดรับสิทธิแล้ว
แม้ว่าอาม่าจะมองว่า รัฐบาลไม่น่าจะมีเงินแล้ว แต่ลูกชายของเธอกลับเดินออกมาจากร้าน ร่วมแสดงความเห็นกลับเราว่า เขาคิดว่ารัฐบาลควรจะกู้เงินมากกว่านี้อีก เพื่อประคองไม่ให้เศรษฐกิจทรุดลงไปอีก ทั้งยังมองว่า ในการช่วยเหลือของคนละครึ่ง ที่ให้ใช้จ่ายได้ 3,000 บาท ต่อเดือน คนอาจจะไม่ได้ใช้เต็มวงเงินกันนัก “คนที่น่าจะใช้ได้เต็มวงเงิน 3,000 บาท ก็น่าจะเป็นคนที่พอมีเงิน เพราะวงเงินนี้ ก็ถือว่าเยอะเหมือนกันต่อเดือน ผมคิดว่ามาตรการของรัฐบาลมีเป้าหมายของมัน ซึ่งถ้ามีคนไม่ได้เยอะ เขาน่าจะขยายสิทธิเพิ่ม แต่บ้านผมไม่กดแล้ว มันเหมือนได้เงินทีละเศษๆ ดูวุ่นวาย” เขากล่าว
(5)
“เราตั้งใจจะเอาเงินสดจากการเยียวยารอบนี้ ไปจ่ายค่าเทอมลูก”
คุณพี่ร้านขายเสื้อผ้าในตลาดบอกกับเรา โดยเธอเล่าถึงการเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือว่า เธอไม่ได้รับสิทธิคนละครึ่ง “ตอนเช้าเราออกมาตั้งร้าน แป๊ปเดียวสิทธิก็หมดแล้ว กดไม่ทัน แค่ 9 นาทีก็เต็มแล้ว แฟนเราก็กดไม่ทัน ซึ่งก็คิดว่าทุกคนควรจะได้มากกว่านี้”
เธอบอกว่าตอนแรกคิดว่า ถ้าไม่ได้คนละครึ่งก็ไม่เป็นไร เพราะอย่างน้อยยังมี ‘เราชนะ’ ที่กำลังจะมาเยียวยา “เราดีใจที่จะได้เงิน 3,500 บาท แต่รอบนี้กลับเป็นเงินในแอพฯ เราไม่ค่อยชอบเลย เราอยากให้กดเงินออกมาได้ เราตั้งใจจะไปจ่ายค่าเทอมลูก 2 คนที่อยู่ต่างจังหวัด เราหวังแบบนั้น ไม่ได้กะใช้จ่ายในบัตร เพราะค่าเทอมลูก เทอมก่อนจ่ายไปแล้ว แต่เทอมนี้ยังไม่ได้จ่าย จากทีแรกดีใจ พอรู้ว่ากดไม่ได้ ก็ไม่รู้จะทำยังไงดี ถ้าเลือกได้เราอยากให้เป็นเงินสดเหมือนรอบก่อน”
สำหรับการค้าขายตอนนี้ เธอบอกว่า ร้านขายเสื้อผ้าของเธอก็เงียบลงไปเยอะ ตลาดที่เธอเช่าที่เปิดร้าน ก็ไม่มีมาตรการลดค่าเช่าใดๆ เลย “แต่ยังดีที่ร้านใช้สิทธิคนละครึ่ง ซึ่งก็พอจะช่วยได้ให้มีลูกค้าบ้าง ถ้าไม่มีคงจะเงียบกว่าเดิม” คุณพี่เล่าก่อนจะหันไปตอบราคาเสื้อกับลูกค้าที่เข้ามา และหันไปขายของเมื่อคุยกับเราเสร็จ
โดยสำหรับมาตรการนี้ กระทรวงการคลังได้ออกมาชี้แจงถึงเหตุผลที่ไม่ให้กดเป็นเงินสดว่า ไม่สนับสนุนการให้ประชาชนกดเงินเพื่อชำระหนี้นอกระบบ แต่ต้องการลดค่าครองชีพกับประชาชน “การแจกเงิน 3,500 บาท ต้องใช้จ่ายผ่านแอพฯ เป๋าตัง อย่างเดียวเท่านั้น เพราะต้องการสนับสนุนสังคมไร้เงินสด ส่วนคนไม่มีโทรศัพท์สมาร์ตโฟนเชื่อว่าจะเป็นส่วนน้อย เพราะบางส่วนก็ถือบัตรสวัสดิการอยู่แล้ว แต่หากใครไม่มีก็ต้องขอรบกวนเพราะตอนนี้ราคาไม่แพงแล้ว” อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ระบุ
(6)
พอ COVID-19 มา หลายคนก็เลือกที่จะอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ไปถึงบริษัทต่างๆ ที่มีมาตรการ Work From Home ลดจำนวนคนที่ออกมาสัญจรไปมา ซึ่งแน่นอนว่า อาชีพหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ คือ ขนส่ง อย่างวินมอเตอร์ไซค์ พี่วินประจำซอยแห่งหนึ่งเล่าให้เราฟังว่า แม้จะตกเย็นแล้ว แต่วันนี้พวกเขาเพิ่งจะได้เงินกันคนละ 100 บาทนิดๆ “ขับวินฯ ได้รับผลกระทบมาก ค่าใช้จ่ายก็เท่าเดิม รายรับได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย หายไปเยอะ ประมาณ 90%”
สำหรับการลงทะเบียน ขอรับสิทธิในมาตรการต่างๆ พี่วินรายนี้ ก็ตอบคล้ายๆ กับคนอื่นๆ ที่เราพูดคุยมาว่า การกดรับสิทธิทางโทรศัพท์ยาก และมีขั้นตอนที่ทำให้คนทั่วไปเข้าไม่ถึง “ปกติผมกดเอง ใช้เอง แต่ก็มีคนที่บ่นเยอะมากๆ พวกแม่บ้านที่เขาก็ทำไม่เป็น คนแก่คนเฒ่าที่เขาก็ทำไม่ได้ บางจุดมีภาษาอังกฤษ เขาก็เข้าไม่ถึงกัน เข้าถึงกันได้เฉพาะคนที่เล่นโทรศัพท์ เฟซบุ๊ก เล่นไลน์เก่งๆ แต่คนแก่ ยังไงก็เข้าไม่ถึง”
“คนไม่ได้สิทธิก็เยอะ น่าจะทำให้ทั่วถึง ให้ได้ทุกคน เช่น คนที่มีบัตรประชาชน หรือคนที่มีอายุ 18 หรือ 20 ปีขึ้นไป ก็ให้ได้ เพราะแต่ละคนก็มีภาระ ซึ่งจริงๆ นักศึกษาเองก็มีค่าใช้จ่ายเยอะ”
แน่นอนว่า พี่วินก็คาดหวังกับมาตรการช่วยเหลือ ‘เราชนะ’ ที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่แม้ รมว.คลังของเรา จะสนับสนุนสังคมไร้เงินสด ประชาชนเช่นพี่วินรายนี้ก็ยังมองว่า การได้เป็นเงินสดจะสะท้อนความต้องการของประชาชนมากกว่า เงินในแอพฯ “ผมคิดว่าน่าจะเอาแบบเงินสดออกมาใช้ดีกว่า เหมือนรอบแรกที่ได้ 5 พัน เพราะค่าใช้จ่ายจะได้เอาไปใช้จุดอื่นได้ อันนี้ที่เขาทำให้โหลด ก็ได้แต่ของ