ภายหลังที่ ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส. จากพรรคพลังประชารัฐเสนอญัติ ให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ และมือของสมาชิกสภาทั้งหมด 431 ข้างยกรับ ส่งผลเอกฉันท์ให้เลื่อนเวลาการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปอีก 1 เดือน
ไม่ว่าลูกไม้นี้ของพรรครัฐบาลจะเป็นกลเม็ดเด็กเล่นขายของ หรือดึงเชิงเตรียมทำการใหญ่ แต่ก็มีผลเพียงพอสั่นสะเทือนทั้งในและนอกสภา
ฝ่ายค้านตบเท้าวอร์คเอาท์ ไม่ขอลงไปคลุกโมงเล่นเกมนี้ด้วย ขณะที่ บรรยากาศนอกสภาเขม่นตึง แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม อานนท์ นำภา ประกาศชุมนุมต่อเนื่อง ให้การสืบทอดอำนาจจบสิ้นภายในเดือนตุลาคม
อย่างไรก็ดี ความหวังในการแก้รัฐธรรมนูญในสภายังไม่หมดไป และต้องมาลุ้นกันอีกในเดือนข้างหน้า The MATTER จึงขอชวนเปิดไทม์ไลน์ ความเป็นไปได้นับจากนี้ไปของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มจากการตั้ง กมธ. ศึกษาเพิ่มเติม จนถึงข้อเสนอจัดตั้ง ส.ส.ร. จากร่างทุกฉบับ
ขั้นตอนในสภา
- รัฐสภาจัดตั้ง กมธ. ศึกษาเพิ่มเติมร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 1 เดือน ก่อนเข้าสู่วาระที่ 1 ของสภา
- วาระแรก รับหลักการ ต้องได้เสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา และต้องมีเสียง ส.ว. 1 ใน 3 หรือ เสียงสภา 375 เสียง เสียง ส.ว. 84 เสียง
- วาระที่สอง แปรญัติ พิจารณาเรียงรายมาตรา สภาต้องรวมกันให้ได้ 375 เสียงขึ้นไป แต่ถ้าเป็นร่างที่ประชาชนเสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนประชาชนเสนอความคิดเห็นด้วย จากนั้นรอ 15 วัน จึงเข้าวาระสาม
- วาระที่สาม ลงมติ ต้องได้รับเสียงเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของทั้งสภา (ส.ส.+ส.ว.) หรือ ไม่น้อยกว่า 375 เสียง
- ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ไม่เกิน 30 วัน
- ทำประชามติ เพราะในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญมีการแก้ไขหมวด 15 อันเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องจัดให้มีการทำประชามติ ก่อนขึ้นทูลเกล้าฯ กล่าวคือ อาจต้องทำประชามติรอบนึงก่อน และเมื่อจัดตั้ง สสร. และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้วก็ทำประชามติอีกรอบ
- ทูลเกล้าฯ ถวาย จัดตั้ง ส.ส.ร.
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตุสองสามประการในขั้นตอนดังกล่าว ที่เราอยากให้รู้เอาไว้
- ในกรณีที่สภาไม่ให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใดๆ ผ่านวาระ 1 หรือวาระรับหลักการ การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราเดียวกับที่เคยเสนอไป จะทำไม่ได้จนกว่าจะถึงวาระประชุมสมัยหน้า ในเดือน พฤษภาคม 2564
- และถ้าสภาไม่เห็นชอบให้ผ่านในวาระที่ 1 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ iLaw ร่วมกับภาคประชาชนร่างขึ้น จะต้องกลับไปล่ารายชื่อใหม่ทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกัน การเลื่อนร่างออกไป อาจทำให้ ร่างของภาคประชาชนเข้ามาในสภาได้ เพราะตามกำหนดในการตรวจสอบเอกสารคือ 45 วัน
- ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่ 41 ประธานรัฐสภามีอำนาจในการนำญัตติที่มีหลักการเช่นเดียวกันที่ตกไปแล้วมาพิจารณาได้ กล่าวคือ ถ้าสภาตีตก ไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ประธานรัฐสภา หรือ ชวน หลีกภัย ยังมีอำนาจให้ทบทวนใหม่ได้ ดังนั้น ประธานรัฐสภา จึงอาจเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้
สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกฉบับในเวลานี้ เสนอให้ให้แก้ไขมาตรา 256 เพื่อให้สามารจัดตั้ง ส.ส.ร. ได้ แต่ข้อเสนอทุกฉบับก็แตกต่างกันไปในรายละเอียด เหมือนที่ฝรั่งชอบพูดกันว่า ‘ปีศาจซ่อนอยู่ในรายละเอียด (Devil is in detail)’ ดังนั้น ตามมาดูกัน
ร่างของพรรคร่วมรัฐบาล
- ไม่ปิดสวิตซ์ ส.ว. กล่าวคือ ไม่มีการแก้มาตรา 159, 270 และ 271 ซึ่งให้อำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ และติดตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี
- ไม่มีการยกเลิกนายกฯ คนนอก หรือไม่มีการแก้มาตรา 272 ซึ่งอนุญาตให้สภาเสนอชื่อนายกฯ ที่ไม่ได้เป็น ส.ส. ขึ้นมารับตำแหน่งได้ เหมือนเช่น กรณที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นมารับตำแหน่งในปัจจุบัน
- ข้อเสอนตั้ง ส.ส.ร. ของพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ได้กำหนดมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แต่แบ่งเป็นสรรหา 50 คน และเลือกตั้ง 150 คน
-
- สรรหา 50 คน มาจาก
- เป็นโควตาจากรัฐสภา 20 คน
- ให้ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ เลือก 20 คน โดยแบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนหรือรัฐศาสตร์ 10 คน และผู้มีประสบการณ์การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการร่างรัฐธรรมนูญ 10 คน
- ให้ กกต. เลือกนิสิต นักศึกษา 10 คน
- สรรหา 50 คน มาจาก
-
- เลือกตั้ง 150 คน ในระบบ เลือกตั้งแบบแบ่งเขต ตามจังหวัด มีขั้นตอน และระยะเวลา ดังนี้
- กกต. จัดเลือกตั้ง สสร. ภายใน 90 วัน
- ประกาศผลเลือกตั้งภายใน 15 วัน
- ให้ สสร. จัดให้มีการประชุมสภาครั้งแรกภายใน 30 วัน
- สสร. ต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน
- เมื่อ สสร. จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้นำเสนอต่อรัฐสภา
- ถ้าเสียงรัฐสภามีมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ให้ กกต. จัดทำประชามติในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน และไม่เร็วกว่า 45 วัน
- เลือกตั้ง 150 คน ในระบบ เลือกตั้งแบบแบ่งเขต ตามจังหวัด มีขั้นตอน และระยะเวลา ดังนี้
ดังนั้น ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับพรรคร่วมรัฐบาลผ่านมติและบังคับใช้ กระบวนการจัดตั้ง ส.ส.ร. จนถึงร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ และทำประชามติ อาจต้องใช้เวลานานกว่า 375 วัน นอกจากนี้ ถ้าร่างดังกล่าวเห็นชอบโดยเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนประชามติอีกด้วย
ร่างของพรคร่วมฝ่ายค้าน
- ปิดสวิตซ์ ส.ว.
- ยกเลิกนายกฯ คนนอก หรือนายกฯ ต้องเป็นสมาชิกรัฐสภาเท่านั้น
- ยกเลิกมาตรา 279 ไม่ให้มีการรับรองทางกฎหมายแก่ประกาศ และคำสั่งของ คสช.
- แก้ไขมาตรา 256 ตั้ง สสร.
- เลือกตั้งทั้ง 200 คน ใช้ระบบเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ตามจังหวัด
- กกต. จัดเลือกตั้ง สสร. ภายใน 60 วัน
- ประกาศผลเลือกตั้งภายใน 15 วัน
- ให้ สสร. จัดให้มีการประชุมสภาครั้งแรกภายใน 30 วัน
- สสร. ต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน
- เมื่อ สสร. จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้ประธานรัฐสภาหรือประธาน สสร. ส่งร่างให้ กกต. ภายใน 7 วัน เพื่อทำประชามติ
- ให้ กกต. จัดให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ภายใน 60 วัน แต่ต้องไม่เร็วกว่า 45 วัน
- เลือกตั้งทั้ง 200 คน ใช้ระบบเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ตามจังหวัด
ทั้งนี้ ให้ ส.ส.ร. แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 45 คน โดยประกอบไปด้วยตัวแทนจาก ส.ส.ร. 30 คน ผู้เชี่ยวชาญทางรัฐศาสตร์ 5 คน นิติศาสตร์ 5 คน และผู้มีประสบการณ์เคยร่างรัฐธรรมนุญ 5 คน ก่อนร่างและส่งให้ ส.ส.ร. พิจารณาต่อ
หากเปรียเทียบร่างของพรรคฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลจะเห็นได้ว่า มีการหั่นระยะเวลาจัดเลือกตั้ง รวมถึงระยะเวลาการร่างรัฐธรรมนูญลงแบบหั่นครึ่งหนึ่ง ฉะนั้น สิ้นสุดกระบวนการของร่างฉบับนี้อาจใช้เวลาไม่ถึง 300 วัน นอกจากนี้ ร่างนี้ยังบังคับให้ต้องมีการรับรองประชามติจากภาคประชาชนอีกด้วย
ร่างของภาคประชาขน (iLaw)
- ปิดสวิตซ์ ส.ว.
- ยกเลิกนายกฯ คนนอก และนายกฯ ต้องเป็น ส.ส. เท่านั้น
- ยกเลิกมาตรา 279 ไม่ให้มีการรับรองทางกฎหมายแก่ประกาศ และคำสั่งของ คสช.
- ยกเลิกมาตรา 252 ที่ให้ผู้บริหารท้องถิ่นรูปแบบพิเศษสามารถได้มาโดย ‘วิธีอื่น’ นอกจากการการเลือกตั้ง
- แก้กระบวนการสรรหาคนในองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญให้กลับไปเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540
- แก้ไขมาตรา 256 ตั้ง สสร. เลือกตั้ง 200 คน
-
- เลือกตั้ง สสร. 200 คน เป้นระบบไม่แบ่งเขตเลือกตั้งคือ คุณจะเลือกใครก็ได้ในผู้ลงสมัคร ไม่จำกัดพื้นที่ คนอีสาน เลือกคนกรุงเทพ คนเชียงใหม่เลือกคนปาตานี้ ได้หมด
- ทันทีที่ ประกาศใช้ ให้เซตซีโร่องค์กรอิสระ และสรรหาตุลาการรัฐธรรมนูญและ กกต. ใหม่ ยึดตาม รธน 40
- ให้มีการเลือกตั้ง สสร. ภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่มี กกต. ใหม่เข้ามาทำหน้าที่
- ให้ สสร. จัดทําร่างรัฐธรรมนูญใหม่ภายใน 360 วัน
- ให้รัฐสภาพิจารณา ถ้าไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้จัดทำประชามติ
- เลือกตั้ง สสร. 200 คน เป้นระบบไม่แบ่งเขตเลือกตั้งคือ คุณจะเลือกใครก็ได้ในผู้ลงสมัคร ไม่จำกัดพื้นที่ คนอีสาน เลือกคนกรุงเทพ คนเชียงใหม่เลือกคนปาตานี้ ได้หมด
ร่างของภาคประชาชน ซึ่งจัดทำโดย iLaw คล้ายกับร่างของพรรคร่วมฝ่ายค้าน แต่เรียกว่าเข้มข้น รัดกุมมากว่า โดยได้เสนอให้มีการเซ็ตซีโร่องค์อิสระทั้งหมด ก่อนจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ร. และ ให้สรรหาผู้ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการเลือกตั้ง และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่เคยระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 และค่อยจัดเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ร่างของภาคประชาชน ให้เวลาในการร่างรัฐธรรมนูญสูงสุดถึง 360 วัน หรือเรียกได้ว่ามากกว่าพรรคร่วมฝ่ายค้าน 3 เท่า นอกจากนี้ ไม่ได้มีการบังคับว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องลงประชามติ
อ้างอิง:
https://ilaw.or.th/sites/default/files/%20รายมาตรา.pdf
https://thematter.co/big-matter/road-to-new-constitution/122364
https://ilaw.or.th/node/5751
Graphics by Waragorn Keeranan